ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
๑๐. คิลานทัสสนสูตร
ว่าด้วยการเยี่ยมผู้ป่วย
[๓๕๒] สมัยนั้น จิตตคหบดีเจ็บป่วยได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในอาราม เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในป่า เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้ เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นหญ้าเป็นโอสถและที่ต้นไม้เจ้าป่าจำนวนมากมาประชุมพร้อม กันแล้ว ได้กล่าวกับจิตตคหบดีดังนี้ว่า “คหบดี ท่านจงตั้งความปรารถนาว่า ‘ขอเราพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิใน อนาคตกาลเถิด” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๙๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต]

๑๐. คิลานทัสสนสูตร

เมื่อพวกเทวดากล่าวอย่างนี้แล้ว จิตตคหบดีจึงกล่าวกับเทวดาเหล่านั้นดังนี้ว่า “แม้ความปรารถนาเป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้นก็ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน บุคคลจำต้องละไป” เมื่อจิตตคหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว พวกมิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิตของ จิตตคหบดีได้กล่าวดังนี้ว่า “ข้าแต่บุตรนาย ท่านจงตั้งสติไว้ อย่าเพ้อไป” “ข้าพเจ้าพูดอะไรไป ที่ทำให้พวกท่านเตือนข้าพเจ้าว่า ‘ข้าแต่บุตรนาย ท่าน จงตั้งสติไว้ อย่าเพ้อไป” “ข้าแต่บุตรนาย ท่านพูดว่า ‘แม้ความปรารถนาเป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้นก็ ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน บุคคลจำต้องละไป” “ก็จริงอย่างนั้น พวกเทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในอาราม เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในป่า เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้ เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นหญ้าเป็นโอสถและที่ต้นไม้เจ้าป่า กล่าวกับข้าพเจ้าว่า ‘คหบดี ท่านจงตั้งความปรารถนาว่า ‘ขอเราพึงเป็นพระเจ้า จักรพรรดิในอนาคตกาลเถิด’ ข้าพเจ้าได้กล่าวกับเทวดาเหล่านั้นว่า ‘แม้ความ ปรารถนาเป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้นก็ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน บุคคลจำต้องละไป” “ข้าแต่บุตรนาย เทวดาเหล่านั้นเห็นอำนาจประโยชน์อะไรจึงกล่าวว่า ‘คหบดี ท่านจงตั้งความปรารถนาว่า ‘ขอเราพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในอนาคตกาลเถิด” “เทวดาเหล่านั้นคิดว่า ‘จิตตคหบดีนี้มีศีล มีธรรมอันงาม ถ้าเธอจักตั้งความ ปรารถนาว่า ‘ขอเราพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในอนาคตกาล’ การตั้งความปรารถนา ในใจของเธอผู้มีศีลนี้จักสำเร็จได้เพราะศีลบริสุทธิ์ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในธรรมจักตาม เพิ่มให้กำลัง(แก่)ผู้ประพฤติธรรม เทวดาเหล่านี้เมื่อเห็นอำนาจประโยชน์จึงกล่าวว่า ‘คหบดี ท่านจงตั้งความปรารถนาว่า ‘ขอเราพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในอนาคต- กาลเถิด’ ข้าพเจ้าได้กล่าวกับเทวดาเหล่านั้นว่า ‘แม้ความปรารถนาเป็นพระเจ้า จักรพรรดินั้นก็ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน บุคคลจำต้องละไป” “ข้าแต่บุตรนาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่านจงกล่าวสอนพวกข้าพเจ้าบ้าง” “เพราะฉะนั้นแล พวกท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘พวกเราจักถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้ เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๙๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต]

รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

โดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ จักถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรมอัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ จักถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวกของ พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้เป็นผู้ควรแก่ ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ อนึ่ง ไทยธรรมทุกอย่างในตระกูล จักเป็นของไม่แบ่งแยกกับท่านผู้มีศีล๑- มี ธรรมอันงาม พวกท่านพึงศึกษาอย่างนี้” จิตตคหบดีครั้นชักชวนมิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิตให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ และในการบริจาคทานแล้วก็ตาย
คิลานทัสสนสูตรที่ ๑๐ จบ
รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ
๑. สัญโญชนสูตร ๒. ปฐมอิสิทัตตสูตร ๓. ทุติยอิสิทัตตสูตร ๔. มหกปาฏิหาริยสูตร ๕. ปฐมกามภูสูตร ๖. ทุติยกามภูสูตร ๗. โคทัตตสูตร ๘. นิคัณฐนาฏปุตตสูตร ๙. อเจลกัสสปสูตร ๑๐. คิลานทัสสนสูตร
จิตตสังยุต จบบริบูรณ์
@เชิงอรรถ : @ ไม่แบ่งแยกกับท่านผู้มีศีล หมายถึงไม่แบ่งแยกว่าจะถวายภิกษุส่วนหนึ่ง จะใช้สอยเองส่วนหนึ่ง @แต่จักใช้เป็นของสาธารณะกับผู้มีศีลคือภิกษุ (สํ.สฬา.อ. ๓/๓๕๒/๑๖๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๙๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๓๙๑-๓๙๓. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=18&siri=266              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=7674&Z=7732                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=583              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=583&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=3567              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=583&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=3567                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i537-e.php#sutta10 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn41/sn41.010.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn41/sn41.010.wlsh.html https://suttacentral.net/sn41.10/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :