ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๑. ปฐมปัณณาสก์ ๕. สัพพอนิจจวรรค ๑-๙. อนิจจทิสุตตนวกะ

๕. สัพพอนิจจวรรค
หมวดว่าด้วยสิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง
๑-๙. อนิจจาทิสุตตนวกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๙ สูตร มีอนิจจสูตรเป็นต้น
[๔๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี (สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี) ณ ที่นั้น ฯลฯ “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง คือ จักขุไม่เที่ยง รูปไม่เที่ยง จักขุวิญญาณไม่เที่ยง จักขุสัมผัสไม่เที่ยง แม้ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส เป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง ฯลฯ ชิวหาไม่เที่ยง รสไม่เที่ยง ชิวหาวิญญาณไม่เที่ยง ชิวหาสัมผัสไม่เที่ยง แม้ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัส เป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง กายไม่เที่ยง ฯลฯ มโนไม่เที่ยง ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง มโนวิญญาณไม่เที่ยง มโนสัมผัสไม่เที่ยง แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส เป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน จักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๑. ปฐมปัณณาสก์ ๕. สัพพอนิจจวรรค ๑-๙. อนิจจทิสุตตนวกะ

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวย อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อ จิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ อีกต่อไป”
สูตรที่ ๑ จบ
[๔๔] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ
สูตรที่ ๒ จบ
[๔๕] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ
สูตรที่ ๓ จบ
[๔๖] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรรู้ยิ่ง ฯลฯ
สูตรที่ ๔ จบ
[๔๗] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรกำหนดรู้ ฯลฯ
สูตรที่ ๕ จบ
[๔๘] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรละ ฯลฯ
สูตรที่ ๖ จบ
[๔๙] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรทำให้แจ้ง ฯลฯ
สูตรที่ ๗ จบ
[๕๐] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรรู้ยิ่งแล้วกำหนดรู้ ฯลฯ
สูตรที่ ๘ จบ
[๕๑] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงถูกประทุษร้าย ฯลฯ
สูตรที่ ๙ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๑. ปฐมปัณณาสก์ ๕. สัพพอนิจจวรรค ๑๐. อุปัสสัฏฐสูตร

๑๐. อุปัสสัฏฐสูตร
ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงถูกเบียดเบียน
[๕๒] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงถูกเบียดเบียน ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงถูกเบียดเบียน คือ จักขุถูกเบียดเบียน รูปถูกเบียดเบียน จักขุวิญญาณถูกเบียดเบียน จักขุสัมผัสถูกเบียดเบียน แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ถูกเบียดเบียน ฯลฯ ชิวหาถูกเบียดเบียน รสถูกเบียดเบียน ชิวหาวิญญาณถูกเบียดเบียน ชิวหาสัมผัสถูกเบียดเบียน แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ถูกเบียดเบียน กายถูกเบียดเบียน ฯลฯ มโนถูกเบียดเบียน ธรรมารมณ์ถูกเบียดเบียน มโนวิญญาณถูกเบียดเบียน มโนสัมผัสถูกเบียดเบียน แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ถูกเบียดเบียน ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน จักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวย อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อ จิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ อีกต่อไป”
อุปัสสัฏฐสูตรที่ ๑๐ จบ
สัพพอนิจจวรรคที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๑. ปฐมปัณณาสก์ ๕. สัพพอนิจจวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อนิจจสูตร ๒. ทุกขสูตร ๓. อนัตตาสูตร ๔. อภิญเญยยสูตร ๕. ปริญเญยยสูตร ๖. ปหาตัพพสูตร ๗. สัจฉิกาตัพพสูตร ๘. อภิญเญยยปริญเญยยสูตร ๙. อุปัททุตสูตร ๑๐. อุปัสสัฏฐสูตร
ปฐมปัณณาสก์ในสฬายตนวรรค จบบริบูรณ์
รวมวรรคที่มีในปฐมปัณณาสก์นี้ คือ
๑. อนิจจวรรค ๒. ยมกวรรค ๓. สัพพวรรค ๔. ชาติธัมมวรรค ๕. สัพพอนิจจวรรค {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๔๑-๔๔. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=18&siri=32              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=582&Z=632                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=46              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=46&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=282              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=46&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=282                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i046-e.php# https://suttacentral.net/sn35.43-51/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.52/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.43-51/en/bodhi https://suttacentral.net/sn35.52/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :