ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๖. อัจฉราสังฆาตวรรค
หมวดว่าด้วยผลแห่งจิตชั่วลัดนิ้วมือเดียว
[๕๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่จิตนั้นแลเศร้า หมองเพราะอุปกิเลสที่เกิดขึ้นภายหลังปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ๓- ย่อมไม่ทราบจิตนั้นตามความ เป็นจริง เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวว่า “ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมไม่มีการอบรมจิต” (๑) @เชิงอรรถ : @ จิต ในที่นี้หมายถึง ภวังคจิต คือจิตที่เป็นพื้นอยู่ระหว่างปฏิสนธิจิตกับจุติคือตั้งแต่เกิดจนถึงตายในเวลาที่ @มิได้เสวยอารมณ์ทางทวาร ๖ มีจักขุทวารเป็นต้น และคำว่า ผุดผ่อง หมายถึงผุดผ่องเพราะบริสุทธิ์ @ไม่มีอุปกิเลส (องฺ.เอกก.อ. ๑/๔๙/๕๓-๕๔) @ อุปกิเลส มี ๑๖ ประการ มีอภิชฌาวิสมโลภะ - คิดเพ่งเล็งอยากได้โดยไม่เลือกว่าควร หรือไม่ควร @เป็นต้น (ม.มู. ๑๒/๗๒/๔๘-๔๙) @ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ในที่นี้หมายถึงผู้ไม่มีปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๑/๕๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๖. อัจฉราสังฆาตวรรค

[๕๒] จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแลหลุดพ้นแล้วจากอุปกิเลสที่เกิดขึ้นมาภายหลัง อริยสาวกผู้ได้สดับย่อมทราบจิตนั้นตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้น เราจึง กล่าวว่า “อริยสาวกผู้ได้สดับย่อมมีการอบรมจิต” (๒) [๕๓] ถ้าภิกษุเสพ๑- เมตตาจิตแม้ชั่วลัดนิ้วมือเดียว ภิกษุนี้เราเรียกว่า อยู่ไม่ห่าง จากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ฉันอาหารบิณฑบาต ของชาวบ้านอย่างไม่สูญเปล่า ไม่จำเป็นต้องพูดถึงภิกษุผู้ทำเมตตาจิตนั้นให้มาก (๓) [๕๔] ถ้าภิกษุเจริญเมตตาจิตแม้ชั่วลัดนิ้วมือเดียว ภิกษุนี้เราเรียกว่า อยู่ไม่ห่าง จากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ฉันอาหารบิณฑบาต ของชาวบ้านอย่างไม่สูญเปล่า ไม่จำเป็นต้องพูดถึงภิกษุผู้ทำเมตตาจิตนั้นให้มาก (๔) [๕๕] ถ้าภิกษุมนสิการเมตตาจิตแม้ชั่วลัดนิ้วมือเดียว ภิกษุนี้เราเรียกว่า อยู่ไม่ห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ฉันอาหาร บิณฑบาตของชาวบ้านอย่างไม่สูญเปล่า ไม่จำเป็นต้องพูดถึงภิกษุผู้ทำเมตตาจิตนั้น ให้มาก (๕) [๕๖] อกุศลธรรมทั้งหลายที่เป็นส่วนอกุศล ที่เป็นฝ่ายอกุศลทั้งหมด มีใจเป็น หัวหน้า ใจเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น อกุศลธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นร่วมกันภายหลัง (๖) [๕๗] กุศลธรรมทั้งหลายที่เป็นส่วนกุศล ที่เป็นฝ่ายกุศลทั้งหมด มีใจเป็น หัวหน้า ใจเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น กุศลธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นร่วมกันภายหลัง (๗) [๕๘] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนความประมาทนี้ เมื่อประมาทแล้ว อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เสื่อมไป (๘) @เชิงอรรถ : @ เสพ ในที่นี้หมายถึงการนึกหน่วง การรู้ เห็น พิจารณา อธิษฐานจิต น้อมใจเชื่อ ประคองความเพียร ตั้ง @สติไว้ ตั้งจิตไว้ กำหนดรู้ด้วยปัญญา รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ละธรรมที่ควรละ @เจริญธรรมที่ควรเจริญ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ในที่นี้หมายเอาการเสพโดยมุ่งแผ่ประโยชน์ไป @โดยมีเมตตาจิตเป็นเบื้องต้น (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๓/๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๗. วีริยารัมภาทิวรรค

[๕๙] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนความไม่ประมาทนี้ เมื่อไม่ประมาทแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เสื่อมไป (๙) [๖๐] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนความเกียจคร้านนี้ เมื่อเกียจคร้าน อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เสื่อมไป (๑๐)
อัจฉราสังฆาตวรรคที่ ๖ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๙-๑๑. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=20&siri=6              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=210&Z=246                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=52              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=52&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=14&A=1271              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=52&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=14&A=1271                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i052-e.php# http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/01/an01-053.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/01/an01-056-073.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/01/an01-058.html https://suttacentral.net/an1.51-60/en/sujato https://suttacentral.net/an1.51-60/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :