ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๖. มิตตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ควรคบเป็นมิตร
[๑๔๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ไม่ควรคบเป็นมิตร ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ใช้ให้ทำการงาน๑- ๒. ก่ออธิกรณ์๒- ๓. โกรธต่อภิกษุผู้เป็นประธาน @เชิงอรรถ : @ การงาน ในที่นี้หมายถึงการทำนาเป็นต้น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๖/๕๗) @ อธิกรณ์ ในที่นี้หมายถึงเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องจัดต้องทำ เรื่องที่สงฆ์ต้องดำเนินการมี ๔ อย่าง คือ @(๑) วิวาทาธิกรณ์ การเถียงกันเกี่ยวกับธรรมวินัย (๒) อนุวาทาธิกรณ์ การโจทหรือการกล่าวหากัน @ด้วยอาบัติ (๓) อาปัตตาธิกรณ์ การต้องอาบัติ การปรับอาบัติ และการแก้ไขตัวให้พ้นจากอาบัติ @(๔) กิจจาธิกรณ์ กิจธุระต่างๆ ที่สงฆ์จะต้องทำ เช่น ให้อุปสมบท ให้ผ้ากฐิน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๖/๕๗) @และดู วิ.จู. ๖/๒๑๙-๒๒๗/๒๕๐-๒๕๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๔๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๕. ติกัณฑกีวรรค ๗. อสัปปุริสทานสูตร

๔. เที่ยวจาริกไปในสถานที่ไม่สมควรตลอดกาลนาน ๕. ไม่สามารถชี้แจงให้ภิกษุเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย ธรรมีกถาตามกาลอันควร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ไม่ควรคบเป็นมิตร ภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ควรคบเป็นมิตร ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ไม่ใช้ให้ทำการงาน ๒. ไม่ก่ออธิกรณ์ ๓. ไม่โกรธต่อภิกษุผู้เป็นประธาน ๔. ไม่เที่ยวจาริกไปในสถานที่ไม่สมควรตลอดกาลนาน ๕. สามารถชี้แจงให้ภิกษุเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย ธรรมีกถาตามกาลอันควร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ควรคบเป็นมิตร
มิตตสูตรที่ ๖ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒๔๒-๒๔๓. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=22&siri=146              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=4000&Z=4013                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=146              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=146&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=1276              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=146&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=1276                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i141-e.php#sutta6 https://suttacentral.net/an5.146/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :