ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๓. กุหกสูตร
ว่าด้วยผู้หลอกลวง
[๘๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมไม่ เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารี ทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เป็นผู้หลอกลวง๑- ๒. เป็นผู้พูดป้อยอ๒- ๓. เป็นผู้ทำนิมิต๓- ๔. เป็นผู้พูดบีบบังคับ๔- ๕. เป็นผู้แสวงหาลาภด้วยลาภ๕- @เชิงอรรถ : @ หลอกลวง หมายถึงหลอกลวงด้วยอาการ ๓ คือ (๑) พูดเลียบเคียง (๒) แสร้งแสดงอิริยาบถคือยืน เดิน @นั่ง นอนให้น่าเลื่อมใส (๓) แสร้งปฏิเสธปัจจัย (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๘๓/๘๓/๔๑, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๘๓/๔๓, @วิสุทฺธิ. ๑/๑๖/๒๔) และดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๖๑/๕๕๓ @ พูดป้อยอ หมายถึงพูดป้อยอมุ่งหวังลาภสักการะ และชื่อเสียง (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๘๓/๔๑, วิสุทฺธิ. ๑/๑๖/๒๔) @ดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๖๒/๕๕๓ ประกอบ @ ทำนิมิต หมายถึงการกระทำทางกายวาจาเพื่อให้คนอื่นให้ทาน เช่นการพูดเป็นเลศนัย พูดเลียบเคียง @(อภิ.วิ.อ. ๘๖๓/๕๒๓, วิสุทฺธิ. ๑/๑๖/๒๔) @ พูดบีบบังคับ หมายถึงการด่า การพูดข่ม พูดนินทาตำหนิโทษ พูดเหยียดหยาม และการนำเรื่องไป @ประจาน ตลอดถึงการพูดสรรเสริญต่อหน้า นินทาลับหลัง (ปุรโต มธุรํ ภณิตฺวา ปรมฺมุเข อวณฺณภาสิตา) @(อภิ.วิ.อ. ๘๖๔/๕๒๔, วิสุทฺธิ. ๑/๑๖/๒๔-๒๕) @ แสวงหาลาภด้วยลาภ หมายถึงได้อะไรเอามาฝากเขา ทำให้เขาเกรงใจ ต้องให้ตอบแทน (วิสุทฺธิ. ๑/๑๖/๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๕๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. เถรวรรค ๔. อัสสัทธสูตร

ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่ เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เป็นผู้ไม่หลอกลวง ๒. เป็นผู้ไม่พูดป้อยอ ๓. เป็นผู้ไม่ทำนิมิต ๔. เป็นผู้ไม่พูดบีบบังคับ ๕. เป็นผู้ไม่แสวงหาลาภด้วยลาภ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
กุหกสูตรที่ ๓ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๑๕๑-๑๕๒. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=22&siri=83              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=2543&Z=2558                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=83              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=83&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=937              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=83&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=937                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i081-e.php#sutta3 https://suttacentral.net/an5.83/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :