ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. ภูมิจาลวรรค ๓. สังขิตตสูตร

๓. สังขิตตสูตร
ว่าด้วยภิกษุทูลขอให้ทรงแสดงธรรมโดยย่อ
[๖๓] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ โดยที่เมื่อข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงจากไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โมฆบุรุษบางพวกในโลกนี้ ย่อมเชื้อเชิญเราอย่างที่ เขาทำกันมา และเมื่อเราแสดงธรรมแล้ว ก็คอยติดตามเราเรื่อยไป” ภิกษุรูปหนึ่งกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรด แสดงธรรมโดยย่อ ขอพระสุคตโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ทำอย่างไร ข้าพระองค์จึงจะรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาค ทำอย่างไรข้าพระองค์ จึงจะเป็นทายาทแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาค” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ เพราะฉะนั้นแล เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘จิตของเราจักตั้งมั่น ดำรงมั่นด้วยดีในภายใน และบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วจัก ครอบงำจิตไม่ได้อยู่’ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล เมื่อใดแล จิตของเธอตั้งมั่น ดำรงมั่นด้วยดีในภายใน และบาปอกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้วจักครอบงำจิตไม่ได้อยู่ เมื่อนั้น เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เมตตา- เจโตวิมุตติจักเป็นธรรมอันเราเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้ เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว’ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงเจริญสมาธินี้ที่มีวิตกมีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารบ้าง เจริญ สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่มีปีติบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีปีติบ้าง เจริญสมาธิที่มีความยินดีบ้าง เจริญสมาธิที่มีอุเบกขาบ้าง เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว เจริญดีแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘กรุณาเจโตวิมุตติ ฯลฯ เมื่อนั้น เธอพึงสำเหนียก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๖๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. ภูมิจาลวรรค ๓. สังขิตตสูตร

อย่างนี้ว่า ‘มุทิตาเจโตวิมุตติ ฯลฯ เมื่อนั้น เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘อุเบกขา- เจโตวิมุตติ จักเป็นธรรมอันเราเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว’ เธอพึงสำเหนียก อย่างนี้แล เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงเจริญสมาธินี้ที่มีวิตกมีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารบ้าง เจริญ สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่มีปีติบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีปีติบ้าง เจริญสมาธิที่มีความยินดีบ้าง เจริญสมาธิที่มีอุเบกขาบ้าง เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว เจริญดีแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจักพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้’ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงเจริญสมาธินี้ที่มีวิตกมีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารบ้าง เจริญ สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่มีปีติบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีปีติบ้าง เจริญสมาธิที่มีความยินดีบ้าง เจริญสมาธิที่มีอุเบกขาบ้าง เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว เจริญดีแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจักพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ เมื่อนั้นเธอ พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจักพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ เมื่อนั้นเธอพึงสำเหนียก อย่างนี้ว่า ‘เราจักพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้’ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงเจริญสมาธินี้ที่มีวิตกมีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารบ้าง เจริญ สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่มีปีติบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีปีติบ้าง เจริญสมาธิที่มีความยินดีบ้าง เจริญสมาธิที่มีอุเบกขาบ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๖๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. ภูมิจาลวรรค ๔. คยาสีสสูตร

เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว เจริญดีแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น เธอจะเดินไปที่ใดๆ ก็เดินไปได้อย่างผาสุกในที่นั้นๆ จะยืนอยู่ในที่ใดๆ ก็ยืนอยู่ ได้อย่างผาสุกในที่นั้นๆ จะนั่งอยู่ในที่ใดๆ ก็นั่งอยู่ได้อย่างผาสุกในที่นั้นๆ จะนอน อยู่ในที่ใดๆ ก็นอนอยู่อย่างผาสุกในที่นั้นๆ๑-” ภิกษุนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสสอนด้วยพระโอวาทนี้แล้ว จึงลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วจากไป เธอจากไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก ก็ได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
สังขิตตสูตรที่ ๓ จบ
๔. คยาสีสสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่คยาสีสะ
[๖๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลคยาสีสะ เขตเมืองคยา ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ ๑. ก่อนจะตรัสรู้ เราเป็นโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้ เรารู้โอภาส๒- แต่ไม่ เห็นรูปทั้งหลาย ๒. เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ถ้าเรารู้โอภาสและเห็นรูปทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้ ญาณทัสสนะ๓- นี้ของเราก็จะบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น’ @เชิงอรรถ : @ หมายถึงผู้บรรลุอรหัตตผลย่อมอยู่อย่างผาสุกทุกอิริยาบถ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๓/๒๗๐) @ โอภาส ในที่นี้หมายถึงทิพพจักขุญาณ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๔/๒๗๐) @ ญาณทัสสนะ ในที่นี้หมายถึงทัสสนะคือญาณที่เป็นทิพพจักษุ ในสูตรนี้กล่าวถึงญาณ ๘ คือ (๑) ทิพพจักขุ- @ญาณ (๒) อิทธวิธญาณ (๓) เจโตปริยญาณ (๔) ยถากัมมูปคญาณ (๕) อนาคตังสญาณ (๖) ปัจจุปปันนังส- @ญาณ (๗) อตีตังสญาณ (๘) ปุพเพนิวาสญาณ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๔/๒๗๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๖๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๓๖๒-๓๖๔. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=23&siri=136              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=6314&Z=6367                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=160              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=160&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=6032              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=160&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=6032                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i151-e.php#sutta3 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an08/an08.063.than.html https://suttacentral.net/an8.63/en/sujato https://suttacentral.net/an8.63/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :