ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. สัมโพธิวรรค ๑. สัมโพธิสูตร

พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. ปฐมปัณณาสก์
๑. สัมโพธิวรรค
หมวดว่าด้วยสัมโพธิ๑-
๑. สัมโพธิสูตร
ว่าด้วยสัมโพธิ
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก- เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึง ได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกถามอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย อะไรเป็นเหตุแห่งการเจริญธรรมที่เป็นฝ่ายแห่งสัมโพธิ’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย ถูกถามอย่างนี้แล้ว จะตอบพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างไร” @เชิงอรรถ : @ สัมโพธิ ในที่นี้หมายถึงมรรค ๔ คือโสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค @(องฺ.ติก.อ. ๒/๘๗/๒๔๒, ที.สี.อ. ๑/๓๗๓/๒๘๑, องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๘๗/๒๓๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๒๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. สัมโพธิวรรค ๑. สัมโพธิสูตร

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ๑- ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจากพระผู้มีพระภาค แล้วจักทรงจำไว้” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า“ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจ ให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ ตรัสดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกถามอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย อะไรเป็นเหตุแห่งการเจริญธรรมที่เป็นฝ่ายแห่งสัมโพธิ’ เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ ควรตอบพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี๒- นี้เป็นเหตุ ประการที่ ๑ แห่งการเจริญธรรมที่เป็นฝ่ายแห่งสัมโพธิ ๒. ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วย อาจาระและโคจรอยู่ มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เป็นเหตุประการที่ ๒ แห่งการ เจริญธรรมที่เป็นฝ่ายแห่งสัมโพธิ ๓. ภิกษุเป็นผู้ได้กถาเป็นเครื่องขัดเกลาอย่างยิ่ง ที่เป็นสัปปายะแห่งความ เป็นไปของจิต๓- คือ อัปปิจฉกถา(เรื่องความมักน้อย) สันตุฏฐิกถา (เรื่องความสันโดษ) ปวิเวกกถา(เรื่องความสงัด) อสังสัคคกถา(เรื่อง ความไม่คลุกคลี) วิริยารัมภกถา(เรื่องการปรารภความเพียร) @เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๘๓ (มูลกสูตร) หน้า ๔๐๗-๔๐๘ ในเล่มนี้ @ มิตรดี หมายถึงมิตรที่มีคุณธรรมคือศีลเป็นต้น @สหาย หมายถึงเพื่อนร่วมงานที่ดี @เพื่อนดี หมายถึงเพื่อนที่รักใคร่ สนิทสนมรู้ใจกัน ซื่อสัตย์ต่อกัน (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๒) @ เป็นสัปปายะแห่งความเป็นไปของจิต หมายถึงเป็นที่สบายและเป็นอุปการะแก่การชักนำจิตเข้าสู่สมถะ @และวิปัสสนา (องฺ.นวก.อ. ๓/๑/๒๘๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๒๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. สัมโพธิวรรค ๑. สัมโพธิสูตร

สีลกถา(เรื่องศีล) สมาธิกถา(เรื่องสมาธิ) ปัญญากถา(เรื่องปัญญา) วิมุตติกถา(เรื่องวิมุตติ) วิมุตติญาณทัสสนกถา(เรื่องความรู้ความเห็น ในวิมุตติ) ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก นี้เป็นเหตุประการที่ ๓ แห่งการเจริญธรรมที่เป็นฝ่ายแห่งสัมโพธิ ๔. ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร๑- เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรม เกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ทั้งหลาย นี้เป็นเหตุประการที่ ๔ แห่งการเจริญธรรมที่เป็นฝ่าย แห่งสัมโพธิ ๕. ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา เห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความ สิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เป็นเหตุประการที่ ๕ แห่งการเจริญธรรมที่เป็น ฝ่ายแห่งสัมโพธิ ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้มีศีล สำรวม ด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ มีปกติเห็นภัยในโทษ แม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้ได้กถา เป็นเครื่องขัดเกลาอย่างยิ่ง ที่เป็นสัปปายะแห่งความเป็นไปของจิต คือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้ปรารภ ความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ ปรารภความเพียร หมายถึงประกอบความเพียรในสัมมัปปธาน (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๘๔/๒๙๒) อีกนัยหนึ่ง @หมายถึงระดมความเพียรเต็มที่ (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๔๓/๓๕๑) และดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๑/๑๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๒๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. สัมโพธิวรรค ๑. สัมโพธิสูตร

ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้แล้ว พึงเจริญธรรม ๔ ประการให้ยิ่งขึ้นไป คือ ๑. พึงเจริญอสุภะเพื่อละราคะ๑- ๒. พึงเจริญเมตตาเพื่อละพยาบาท๒- ๓. พึงเจริญอานาปานสติเพื่อตัดวิตก๓- ๔. พึงเจริญอนิจจสัญญาเพื่อถอนอัสมิมานะ๔- ภิกษุทั้งหลาย อนัตตสัญญาย่อมปรากฏแก่ภิกษุผู้ได้อนิจจสัญญา ภิกษุผู้ได้ อนัตตสัญญา ย่อมบรรลุนิพพานที่ถอนอัสมิมานะได้ในปัจจุบัน
สัมโพธิสูตรที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ เจริญอสุภะเพื่อละราคะ หมายถึงเจริญอสุภกัมมัฏฐานเพื่อข่มกามราคะที่เกิดขึ้นเพราะความประมาท @ขาดสติสังวรไม่รู้เท่าทันเป็นเบื้องต้น จากนั้นจึงเริ่มบำเพ็ญวิปัสสนาต่อไป เปรียบเทียบได้กับกระบวนการ @ของการเกี่ยวข้าว คือ ขณะที่ชาวนาเกี่ยวข้าวอยู่นั้นมีฝูงโคทำลายรั้วเข้ามาในนาได้ ชาวนาจำต้องวางเคียว @ไว้ก่อน แล้วถือไม้เรียวไปไล่ฝูงโคออกไปแล้วกลับมาซ่อมรั้วให้ดี จากนั้นจึงถือเคียวเกี่ยวข้าวต่อ ผู้บำเพ็ญ @เพียรเหมือนชาวนา ปัญญาเหมือนเคียว เวลาบำเพ็ญเหมือนเวลาเกี่ยวข้าว อสุภกัมมัฏฐานเหมือนไม้เรียว @สติสังวรเหมือนรั้ว ราคะเหมือนฝูงโค (องฺ.นวก.อ. ๓/๑/๒๘๕) @ เจริญเมตตาเพื่อละพยาบาท หมายถึงเจริญเมตตากัมมัฏฐานเพื่อละความโกรธที่เกิดขึ้น @(องฺ.นวก.อ. ๓/๑/๒๘๖) @ ดู ม.ม. ๑๓/๑๔๑/๙๕-๙๖, ม.อุ. ๑๔/๑๔๗/๑๓๐-๑๓๑, สํ.ม. ๑๙/๙๗๗/๒๖๙ @องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๖๐/๑๓๑-๑๓๒) @ อัสมิมานะ หมายถึงมานะ (ความถือตัวเป็นอย่างนั้นอย่างนี้) ๙ ประการ คือ (๑) เป็นผู้เลิศกว่าเขา @ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๒) เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (๓) เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา @(๔) เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๕) เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (๖) เป็นผู้เสมอเขา ถือตัว @ว่าด้อยกว่าเขา (๗) เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๘) เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา @(๙) เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๘/๓๓๙, องฺ.นวก.อ. ๓/๑/๒๘๖) และดู @อภิ.สงฺ. (แปล) ๓๔/๑๒๓๙/๓๑๔, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๓๒/๕๓๖, ๘๖๖-๘๗๗/๕๕๔-๕๕๘, ๙๖๒/๖๑๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๒๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๔๒๕-๔๒๘. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=23&siri=164              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=7460&Z=7514                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=205              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=205&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=6405              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=205&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=6405                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i205-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an09/an09.001.than.html https://suttacentral.net/an9.1/en/sujato https://suttacentral.net/an9.1/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :