ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๘. อัคคิกขันโธปมสูตร
ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยกองไฟ
[๗๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ หมู่ใหญ่เสด็จดำเนินทางไกล ได้ทอดพระเนตรเห็นกองไฟใหญ่ ที่กำลังลุกโชนโชติช่วง อยู่ ณ สถานที่แห่งหนึ่ง ครั้นแล้วจึงเสด็จแวะลงข้างทาง ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ ที่ปูลาดไว้ ณ โคนไม้ต้นหนึ่ง จึงตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นกองไฟใหญ่โน้นที่กำลังลุกโชนโชติช่วงอยู่หรือไม่” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “เห็น พระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๕๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗. มหาวรรค ๘. อัคคิกขันโธปมสูตร

๑. “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ระหว่างการเข้าไปนั่ง กอดหรือนอนกอดกองไฟใหญ่โน้นที่กำลังลุกโชนโชติช่วงอยู่ กับการเข้าไปนั่งกอดหรือ นอนกอดธิดากษัตริย์ ลูกสาวพราหมณ์ หรือลูกสาวคหบดีที่มีมือและเท้าอ่อนนุ่ม อย่าง ไหนประเสริฐกว่ากัน” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การที่บุคคลเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดธิดากษัตริย์ ลูกสาวพราหมณ์ หรือลูกสาวคหบดีที่มีมือและเท้าอ่อนนุ่มนี้ประเสริฐกว่า ส่วนการ ที่บุคคลเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดกองไฟใหญ่โน้นที่กำลังลุกโชนโชติช่วงอยู่นี้ เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย เราขอบอกเธอทั้งหลาย เราขอเตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคล ผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด มีความประพฤติที่น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด ไม่ใช่สมณะแต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่พรหมจารีแต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี๑- เน่าภายใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเหมือนหยากเยื่อ เข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดธิดา กษัตริย์ ลูกสาวพราหมณ์ หรือลูกสาวคหบดี จะประเสริฐอะไร การเข้าไปนั่งกอด หรือนอนกอดกองไฟใหญ่โน้นที่กำลังลุกโชนโชติช่วงนี้ประเสริฐกว่า ข้อนั้นเพราะ เหตุไร เพราะเขาจะพึงเข้าถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย อันมีการเข้าไปนั่งกอด หรือนอนกอดกองไฟใหญ่นั้นเป็นเหตุ แต่เขาหลังจากตายแล้ว ก็จะไม่ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะการเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดกองไฟนั้นเป็นปัจจัย ภิกษุทั้งหลาย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด มีความ ประพฤติที่น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด ไม่ใช่สมณะแต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่ พรหมจารีแต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเหมือน หยากเยื่อ เข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดธิดากษัตริย์ ลูกสาวพราหมณ์ หรือลูกสาว คหบดีนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานแก่บุคคล ผู้ทุศีลนั้น และหลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก @เชิงอรรถ : @ ไม่ใช่พรหมจารี แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี หมายถึงตนเองไม่มีศีล หมดสภาพความเป็นภิกษุ @แต่ยังเรียกตนว่า ‘เป็นภิกษุ‘ แล้วร่วมอยู่ร่วมฉันกับภิกษุอื่นผู้มีศีล ใช้สิทธิ์ถือเอาลาภที่เกิดขึ้นในสงฆ์ @(องฺ.ติก.อ. ๒/๑๓/๘๖) และดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๓/๑๕๒-๑๕๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๕๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗. มหาวรรค ๘. อัคคิกขันโธปมสูตร

๒. ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ระหว่างการที่บุรุษผู้มี กำลังใช้เชือกหนังที่เหนียวพันแข้งทั้ง ๒ ข้างแล้วดึงถูไปมา เชือกหนังนั้นพึงบาดผิว ครั้นบาดผิวแล้วพึงบาดหนัง ครั้นบาดหนังแล้วพึงบาดเนื้อ ครั้นบาดเนื้อแล้ว พึงตัดเส้นเอ็น ครั้นตัดเส้นเอ็นแล้วพึงตัดกระดูก ครั้นตัดกระดูกแล้วพึงจรด เยื่อกระดูก กับการยินดีการกราบไหว้ของขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล อย่างไหนประเสริฐกว่ากัน” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การยินดีการกราบไหว้ของขัตติยมหาศาล พราหมณ- มหาศาล หรือคหบดีมหาศาลนี้ประเสริฐกว่า การที่บุรุษผู้มีกำลังใช้เชือกหนังที่ เหนียวพันแข้งทั้ง ๒ ข้างแล้วดึงถูไปมา เชือกหนังนั้นพึงบาดผิวแล้ว ฯลฯ พึงจรด เยื่อกระดูกนี้ เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย เราขอบอกเธอทั้งหลาย เราขอเตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคล ผู้ทุศีลนั้น ฯลฯ เป็นเหมือนหยากเยื่อ ยินดีการกราบไหว้ของขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล จะประเสริฐอะไร การที่บุรุษผู้มีกำลังใช้ เชือกหนังที่เหนียวพันแข้งทั้ง ๒ ข้างแล้วดึงถูไปมา เชือกหนังนั้นพึงบาดผิว ฯลฯ พึงจรดเยื่อกระดูกนี้เท่านั้นประเสริฐกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาพึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตายอันมีการบาดผิวเป็นต้นนั้นเป็นเหตุ แต่หลังจากตายแล้ว เขาจะไม่ ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะเชือกหนังบาดผิวเป็นต้นนั้นเป็นปัจจัย ภิกษุทั้งหลาย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นเหมือนหยากเยื่อ ยินดีการ กราบไหว้ของขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล ย่อมเป็นไป เพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานแก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และหลังจาก ตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๓. ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ระหว่างการที่บุรุษผู้มี กำลังใช้หอกที่คมชะโลมด้วยน้ำมันพุ่งใส่กลางอก กับการยินดีการไหว้ของขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล อย่างไหนประเสริฐกว่ากัน” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๖๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗. มหาวรรค ๘. อัคคิกขันโธปมสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การยินดีการไหว้ของขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล ประเสริฐกว่า ส่วนการที่บุรุษผู้มีกำลังใช้หอกที่คมชะโลมด้วย น้ำมัน พุ่งใส่กลางอกนี้เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย เราขอบอกเธอทั้งหลาย เราขอเตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคล ผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นเหมือนหยากเยื่อ ยินดีการไหว้ของขัตติยมหาศาล พราหมณ- มหาศาล หรือคหบดีมหาศาล จะประเสริฐอะไร การที่บุรุษผู้มีกำลังใช้หอกที่คม ชะโลมด้วยน้ำมันพุ่งใส่กลางอกนี้เท่านั้น ประเสริฐกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ เขาจะพึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตายอันมีหอกที่คมชะโลมด้วยน้ำมันพุ่งใส่ กลางอกเป็นเหตุ แต่หลังจากตายแล้ว เขาจะไม่ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะการถูกหอกแทงนั้นเป็นปัจจัย ภิกษุทั้งหลาย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นเหมือนหยากเยื่อ ยินดีการ ไหว้ของขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล ย่อมเป็นไปเพื่อ มิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานแก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และหลังจาก ตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๔. ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ระหว่างการที่บุรุษผู้มี กำลังใช้แผ่นเหล็กร้อนที่เผาไฟลุกโชนโชติช่วงนาบกายกับการใช้สอยจีวรที่เขาถวาย ด้วยศรัทธาของขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล อย่างไหน จะประเสริฐกว่ากัน” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การที่บุคคลผู้ทุศีลใช้สอยจีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาลนี้เท่านั้น ประเสริฐกว่า ส่วนการที่บุรุษผู้มีกำลังใช้แผ่นเหล็กร้อนที่เผาไฟลุกโชนโชติช่วงนาบกายตัวเองนี้เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย เราขอบอกเธอทั้งหลาย เราขอเตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคล ผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นเหมือนหยากเยื่อ ใช้สอยจีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของขัตติย- มหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล จะประเสริฐอะไร การที่บุรุษผู้ มีกำลังใช้แผ่นเหล็กร้อน ที่เผาไฟลุกโชนโชติช่วงนาบกายนี้เท่านั้น ประเสริฐกว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๖๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗. มหาวรรค ๘. อัคคิกขันโธปมสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาพึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตาย อันมีการถูก นาบกายด้วยแผ่นเหล็กร้อนนั้นเป็นเหตุ แต่หลังจากตายแล้ว เขาจะไม่ไปเกิดใน อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะการถูกนาบกายด้วยแผ่นเหล็กร้อนนั้นเป็นปัจจัย ภิกษุทั้งหลาย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นเหมือนหยากเยื่อ ใช้สอยจีวร ที่เขาถวายด้วยศรัทธาของขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานแก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และหลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๕. ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ระหว่างการที่บุรุษ ผู้มีกำลังใช้ตะขอเหล็กร้อนที่เผาไฟลุกโชนโชติช่วงง้างปากแล้ว ใส่ก้อนเหล็กร้อน ที่เผาไฟลุกโชนโชติช่วงเข้าไปในปาก ก้อนเหล็กร้อนนั้นพึงไหม้ริมฝีปากบ้าง ไหม้ ปากบ้าง ไหม้ลิ้นบ้าง ไหม้คอบ้าง ไหม้อกบ้าง พาไส้ใหญ่บ้าง ไส้น้อยบ้าง ออกทางทวารเบื้องล่างของคนนั้น กับการฉันบิณฑบาตที่เขาถวายด้วยศรัทธาของ ขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล อย่างไหนประเสริฐ กว่ากัน” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การฉันบิณฑบาตที่เขาถวายด้วยศรัทธาของขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาลนี้เท่านั้น ประเสริฐกว่า การที่บุรุษผู้มีกำลัง ใช้ตะขอเหล็กร้อน ที่เผาไฟลุกโชนโชติช่วงง้างปากแล้ว ใส่ก้อนเหล็กร้อน ที่เผาไฟ ลุกโชนโชติช่วงเข้าไปในปาก ก้อนเหล็กร้อนนั้นพึงไหม้ริมฝีปากบ้าง ไหม้ปากบ้าง ไหม้ลิ้นบ้าง ไหม้คอบ้าง ไหม้อกบ้าง พาไส้ใหญ่บ้าง ไส้น้อยบ้าง ออกทางทวาร เบื้องล่างของคนนั้นนี้เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย เราขอบอกเธอทั้งหลาย เราขอเตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคล ผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นเหมือนหยากเยื่อ ฉันบิณฑบาตที่เขาถวายด้วยศรัทธาของขัตติย- มหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล จะประเสริฐอะไร การที่บุรุษ ผู้มีกำลังใช้ตะขอเหล็กร้อนที่เผาไฟลุกโชนโชติช่วงง้างปากแล้ว ใส่ก้อนเหล็กร้อน ที่เผาไฟลุกโชนโชติช่วงเข้าไปในปาก ก้อนเหล็กร้อนนั้นพึงไหม้ริมฝีปากบ้าง ไหม้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๖๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗. มหาวรรค ๘. อัคคิกขันโธปมสูตร

ปากบ้าง ไหม้ลิ้นบ้าง ไหม้คอบ้าง ไหม้อกบ้าง พาไส้ใหญ่บ้าง ไส้น้อยบ้าง ออกทาง ทวารเบื้องล่างของคนนั้นนี้เท่านั้น ประเสริฐกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาพึง เข้าถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย อันมีการใส่ก้อนเหล็กร้อนนั้นเป็นเหตุ แต่หลัง จากตายแล้ว เขาจะไม่ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะการใส่ก้อนเหล็ก ร้อนนั้นเป็นปัจจัย ภิกษุทั้งหลาย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นเหมือนหยากเยื่อ ฉันบิณฑบาต ที่เขาถวายด้วยศรัทธาของขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานแก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และหลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๖. ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ระหว่างการที่บุรุษผู้มี กำลังจับศีรษะหรือคอแล้วให้นั่งทับ หรือนอนทับเตียงเหล็กร้อน ที่เผาไฟลุกโชน โชติช่วง กับการใช้สอยเตียงตั่งที่เขาถวายด้วยศรัทธาของขัตติยมหาศาล พราหมณ- มหาศาล หรือคหบดีมหาศาล อย่างไหนประเสริฐกว่ากัน” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การใช้สอยเตียงตั่งที่เขาถวายด้วยศรัทธาของขัตติย- มหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาลเท่านั้น ประเสริฐกว่า การที่บุรุษ ผู้มีกำลังจับศีรษะ หรือคอแล้วให้นั่งทับ หรือนอนทับเตียงเหล็กร้อน ที่เผาไฟลุกโชน โชติช่วงนี้เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย เราขอบอกเธอทั้งหลาย เราขอเตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคล ผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นเหมือนหยากเยื่อ การใช้สอยเตียงตั่งที่เขาถวายด้วยศรัทธาของ ขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล จะประเสริฐอะไร การที่ บุรุษผู้มีกำลังจับศีรษะหรือคอแล้ว ให้นั่งทับหรือนอนทับเตียงเหล็กร้อน ที่เผาไฟลุก โชนโชติช่วงนี้เท่านั้น ประเสริฐกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาจะพึงเข้าถึง ความตาย หรือทุกข์ปางตายอันมีการนั่งหรือนอนทับเตียงตั่งเหล็กร้อนนั้นเป็นเหตุ แต่หลังจากตายแล้ว เขาจะไม่ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะการ นั่งหรือนอนทับเตียงตั่งเหล็กร้อนนั้นเป็นปัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๖๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗. มหาวรรค ๘. อัคคิกขันโธปมสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นเหมือนหยากเยื่อ การใช้สอย เตียงตั่งที่เขาถวายด้วยศรัทธาของขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดี มหาศาล ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานแก่บุคคลผู้ ทุศีลนั้น และหลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๗. ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ระหว่างการที่บุรุษ ผู้มีกำลังจับคนชูเท้าขึ้น ห้อยศีรษะลงแล้วโยนลงในหม้อเหล็กร้อนที่เผาไฟลุกโชน โชติช่วง เขาถูกไฟลวกเดือดโผล่ขึ้นเป็นฟองในหม้อเหล็กร้อนนั้น บางครั้งก็ลอยขึ้น บางครั้งก็จมลง บางครั้งก็ลอยขวาง กับการใช้สอยวิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล อย่างไหนประเสริฐ กว่ากัน” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การใช้สอยวิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธาของขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาลเท่านั้น ประเสริฐกว่า การที่บุรุษผู้มีกำลัง จับคนชูเท้าขึ้น ห้อยศีรษะลงแล้วโยนลงในหม้อเหล็กร้อนที่เผาไฟลุกโชนโชติช่วง เขาถูกไฟลวกเดือดโผล่ขึ้นเป็นฟองในหม้อเหล็กร้อนนั้น บางครั้งก็ลอยขึ้น บางครั้ง ก็จมลง บางครั้งก็ลอยขวางนี้เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย เราขอบอกเธอทั้งหลาย เราขอเตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคล ทุศีล ฯลฯ เป็นเหมือนหยากเยื่อ การใช้สอยวิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธาของขัตติย- มหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล จะประเสริฐอะไร การที่บุรุษผู้มี กำลังจับคนชูเท้าขึ้น ห้อยศีรษะลงแล้วโยนลงในหม้อเหล็กร้อนที่เผาไฟลุกโชนโชติช่วง เขาถูกไฟลวกเดือดโผล่ขึ้นเป็นฟองในหม้อเหล็กร้อนนั้น บางครั้งก็ลอยขึ้น บางครั้ง ก็จมลง บางครั้งก็ลอยขวางนี้เท่านั้น ประเสริฐกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขา พึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตายอันมีการถูกโยนลงในหม้อเหล็กร้อนนั้นเป็นเหตุ แต่หลังจากตายแล้ว เขาจะไม่ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะการถูก โยนลงในหม้อเหล็กร้อนนั้นเป็นปัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๖๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗. มหาวรรค ๘. อัคคิกขันโธปมสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดุจหยากเยื่อ การใช้สอย วิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธาของขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดี- มหาศาล ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานแก่บุคคลผู้ ทุศีลนั้น และหลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย ใช้สอยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารของชนเหล่าใด สักการะเหล่านั้นของชนเหล่านั้นจักมีผลมาก มีอานิสงส์มาก และการบรรพชาของ เราทั้งหลาย จักไม่เป็นหมัน มีผล มีกำไร’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียก อย่างนี้แล อีกประการหนึ่ง เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็น ประโยชน์ตน ก็ควรที่จะทำประโยชน์ตนนั้นให้สำเร็จด้วยความไม่ประมาทโดยแท้ เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ของผู้อื่น ก็ควรทำประโยชน์ของผู้อื่นนั้นให้สำเร็จด้วย ความไม่ประมาทโดยแท้ หรือเมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ทั้ง ๒ อย่าง ก็ควรทำ ประโยชน์ทั้ง ๒ อย่างนั้นให้สำเร็จด้วยความไม่ประมาท” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว และเมื่อพระองค์กำลังตรัส เวยยากรณภาษิตนี้อยู่ ภิกษุประมาณ ๖๐ รูปได้กระอักเลือดอุ่นๆ ออกมา ภิกษุ ประมาณ ๖๐ รูป ได้บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ด้วยกราบทูลว่า “ข้าแต่ พระผู้มีพระภาค การประพฤติพรหมจรรย์ ทำได้ยากแสนยาก ข้าแต่พระผู้มี พระภาค การประพฤติพรหมจรรย์ ทำได้ยากแสนยาก” ภิกษุอีกประมาณ ๖๐ รูป มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ฉะนี้แล
อัคคิกขันโธปมสูตรที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๖๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๕๘-๑๖๕. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=23&siri=69              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=2629&Z=2793                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=69              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=69&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=4662              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=69&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=4662                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i062-e.php#sutta8 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an07/an07.068.yaho.html https://suttacentral.net/an7.72/en/sujato https://suttacentral.net/an7.72/en/ypg



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :