ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. นาถกรณวรรค ๑. เสนาสนสูตร

๒. นาถกรณวรรค
หมวดว่าด้วยนาถกรณธรรม๑-
๑. เสนาสนสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของเสนาสนะ
[๑๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อาศัยใช้สอยเสนาสนะอันประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่นานนักก็จะทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน ปัจจุบัน ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า “แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดย ชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึก ผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า๒- เป็นพระผู้มีพระภาค๓-” ๒. เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหาร สม่ำเสมอ ไม่เย็นจัด ไม่ร้อนจัด เป็นปานกลาง ควรแก่การบำเพ็ญเพียร @เชิงอรรถ : @ ดูปฐมนาถสูตร หน้า ๓๑ และทุติยนาถสูตร หน้า ๓๔ ในเล่มนี้ @ ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะทรงรู้สิ่งที่ควรรู้ทั้งหมดด้วยพระองค์เอง และทรงสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม @ ชื่อว่า พระผู้มีพระภาค เพราะ (๑) ทรงมีโชค (๒) ทรงทำลายข้าศึกคือกิเลส (๓) ทรงประกอบด้วยภคธรรม @๖ ประการ (คือ ความเป็นใหญ่เหนือจิตของตน โลกุตตรธรรม ยศ สิริ ความสำเร็จประโยชน์ตามต้องการ @และความเพียร) (๔) ทรงจำแนกแจกแจงธรรม (๕) ทรงเสพอริยธรรม (๖) ทรงคลายตัณหาในภพทั้ง ๓ @(๗) ทรงเป็นที่เคารพของชาวโลก (๘) ทรงอบรมพระองค์ดีแล้ว (๙) ทรงมีส่วนแห่งปัจจัย ๔ เป็นต้น @(ตามนัย วิ. อ. ๑/๑/๑๐๓-๑๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. นาถกรณวรรค ๑. เสนาสนสูตร

๓. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ทำตนให้เปิดเผยตามความเป็นจริงใน ศาสดาหรือในเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย ๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร๑- เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง๒- มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ทั้งหลายอยู่ ๕. เป็นผู้มีปัญญา คือประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้งความ เกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นอย่างนี้แล เสนาสนะประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นอย่างไร คือ เสนาสนะในธรรมวินัยนี้ ๑. อยู่ไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก๓- มีทางไปมาสะดวก กลางวันไม่พลุกพล่าน กลางคืนมีเสียงน้อย ไม่อึกทึก มีเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อย คลานกระทบน้อย ๒. เมื่อภิกษุอยู่ในเสนาสนะนั้น มีจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน- ปัจจัยเภสัชชบริขารที่เกิดขึ้นโดยไม่ฝืดเคืองเลย ๓. ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย เป็นพหูสูต เรียนจบคัมภีร์๔- ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกาอยู่ในเสนาสนะนั้น ๔. ภิกษุนั้นเข้าไปหาภิกษุผู้เถระเหล่านั้น ในเวลาที่สมควรแล้ว จึงสอบถาม ไต่ถามว่า “พุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร” @เชิงอรรถ : @ ปรารภความเพียร ในที่นี้หมายถึงประคองความเพียรทางกายและใจไว้ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒/๑) @ มีความเข้มแข็ง ในที่นี้หมายถึงมีกำลังความเพียร (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒/๑) @ เสนาสนะที่อยู่ไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก มีอธิบายประกอบว่า เสนาสนะที่อยู่ไกลนัก เมื่อภิกษุอยู่อาศัย @ย่อมลำบากกายที่จะเที่ยวบิณฑบาต จิตใจกระสับกระส่าย ไม่สามารถเจริญสมาธิให้เกิดได้ เสนาสนะที่ @อยู่ใกล้นัก ก็จะพลุกพล่านไปด้วยผู้คน (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑/๓๒๐) @ เรียนจบคัมภีร์(อาคตาคม) ในที่นี้หมายถึงเรียนจบพระพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎก ๕ นิกาย ได้แก่ @ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย และขุททกนิกาย (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๐/๙๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. นาถกรณวรรค ๒. ปัญจังคสูตร

๕. ภิกษุผู้เถระเหล่านั้น ย่อมเปิดเผยข้อที่ยังไม่เปิดเผย ทำข้อที่เข้าใจยาก ให้เข้าใจง่าย และบรรเทาความสงสัยในธรรมที่น่าสงสัยหลายอย่างแก่ภิกษุนั้น เสนาสนะประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อาศัยใช้สอยเสนาสนะอันประกอบ ด้วยองค์ ๕ ไม่นานนัก ก็จะทำให้แจ้ง ฯลฯ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
เสนาสนสูตรที่ ๑ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๑๗-๑๙. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=24&siri=11              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=24&A=360&Z=394                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=11              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=11&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7197              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=11&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7197                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i011-e.php# https://suttacentral.net/an10.11/en/sujato https://suttacentral.net/an10.11/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :