ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
๓. สคารวสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อว่าสคารวะ
[๑๖๙] ครั้งนั้นแล พราหมณ์ชื่อว่าสคารวะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง ที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร๑- ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นฝั่งนี้ อะไรเป็นฝั่งโน้น๒-” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์ ๑. ปาณาติบาตเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากปาณาติบาตเป็นฝั่งโน้น ๒. อทินนาทานเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากอทินนาทานเป็นฝั่งโน้น @เชิงอรรถ : @ ที่สมควร (เอกมนฺตํ) ในที่นี้หมายถึงที่อันเหมาะสมเว้นโทษ ๖ ประการ คือ (๑) ไกลเกินไป (๒) ใกล้เกินไป @(๓) อยู่เหนือลม (๔) สูงเกินไป (๕) อยู่ตรงหน้าเกินไป (๖) อยู่ข้างหลังเกินไป (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๖/๑๕) @ ดูเชิงอรรถที่ ๑,๒ ข้อ ๑๑๗ (สคารวสูตร) หน้า ๒๖๙ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๐๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๒. ชาณุสโสณิวรรค ๓. สคารวสูตร

๓. กาเมสุมิจฉาจารเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารเป็นฝั่งโน้น ๔. มุสาวาทเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากมุสาวาทเป็นฝั่งโน้น ๕. ปิสุณาวาจาเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากปิสุณาวาจาเป็นฝั่งโน้น ๖. ผรุสวาจาเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากผรุสวาจาเป็นฝั่งโน้น ๗. สัมผัปปลาปะเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากสัมผัปปลาปะเป็นฝั่งโน้น ๘. อภิชฌาเป็นฝั่งนี้ อนภิชฌา(ความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา) เป็นฝั่งโน้น ๙. พยาบาทเป็นฝั่งนี้ อพยาบาท(ความไม่คิดร้าย) เป็นฝั่งโน้น ๑๐. มิจฉาทิฏฐิเป็นฝั่งนี้ สัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ) เป็นฝั่งโน้น พราหมณ์ นี้แลเป็นฝั่งนี้ นี้แลเป็นฝั่งโน้น ในหมู่มนุษย์ เหล่าชนผู้ไปถึงฝั่งโน้นมีจำนวนน้อย ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้เลาะไปตามฝั่งนี้ทั้งนั้น ส่วนชนเหล่าใดประพฤติตามธรรม ในธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยชอบ ชนเหล่านั้นจักข้ามพ้นวัฏฏะ อันเป็นบ่วงมารที่ข้ามได้แสนยาก จักถึงฝั่งโน้น บัณฑิตละธรรมดำ แล้วพึงเจริญธรรมขาว ออกจากวัฏฏะมาสู่วิวัฏฏะ ละกามทั้งหลายแล้ว เป็นผู้หมดความกังวล พึงปรารถนาความยินดียิ่งในวิเวกที่ยินดีได้ยากยิ่ง บัณฑิตพึงชำระตนให้ผ่องแผ้ว จากเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตทั้งหลาย บัณฑิตเหล่าใดอบรมจิตโดยชอบ ในองค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ทั้งหลาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๐๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๒. ชาณุสโสณิวรรค ๔. โอริมสูตร

ไม่ถือมั่น ยินดีในนิพพานเป็นที่สละความถือมั่น บัณฑิตเหล่านั้นสิ้นอาสวะแล้ว มีความรุ่งเรือง ดับสนิทแล้วในโลก๑-
สคารวสูตรที่ ๓ จบ
๔. โอริมสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นฝั่งนี้และธรรมที่เป็นฝั่งโน้น
[๑๗๐] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงฝั่งนี้และฝั่งโน้นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ฝั่งนี้และฝั่งโน้น อะไรบ้าง คือ ๑. ปาณาติบาตเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากปาณาติบาตเป็นฝั่งโน้น ๒. อทินนาทานเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากอทินนาทานเป็นฝั่งโน้น ๓. กาเมสุมิจฉาจารเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารเป็นฝั่งโน้น ๔. มุสาวาทเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากมุสาวาทเป็นฝั่งโน้น ๕. ปิสุณาวาจาเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากปิสุณาวาจาเป็นฝั่งโน้น ๖. ผรุสวาจาเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากผรุสวาจาเป็นฝั่งโน้น ๗. สัมผัปปลาปะเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากสัมผัปปลาปะเป็นฝั่งโน้น ๘. อภิชฌาเป็นฝั่งนี้ อนภิชฌาเป็นฝั่งโน้น ๙. พยาบาทเป็นฝั่งนี้ อพยาบาทเป็นฝั่งโน้น ๑๐. มิจฉาทิฏฐิเป็นฝั่งนี้ สัมมาทิฏฐิเป็นฝั่งโน้น ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นฝั่งนี้ นี้แลเป็นฝั่งโน้น @เชิงอรรถ : @ คาถาข้อ ๑๖๙ และข้อ ๑๗๐ นี้ เทียบดูในข้อ ๑๑๗ พร้อมทั้งเชิงอรรถ หน้า ๒๖๙-๒๗๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๐๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๓๐๔-๓๐๖. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=24&siri=156              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=24&A=5970&Z=5997                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=158              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=158&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=158&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i156-e.php#sutta3 https://suttacentral.net/an10.169/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :