ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
๖. ตโยธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรม ๓ ประการ
[๗๖] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ไม่พึงมีปรากฏอยู่ในโลก ตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่พึงอุบัติขึ้นในโลก ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ก็ไม่พึง รุ่งเรืองในโลก ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ชาติ (ความเกิด) ๒. ชรา (ความแก่) ๓. มรณะ (ความตาย) ธรรม ๓ ประการนี้แล ไม่พึงมีปรากฏอยู่ในโลก ตถาคตอรหันตสัมมา- สัมพุทธเจ้าก็ไม่พึงอุบัติขึ้นในโลก ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ก็ไม่พึงรุ่งเรืองในโลก เพราะธรรม ๓ ประการนี้ยังมีปรากฏอยู่ในโลก ฉะนั้น ตถาคตอรหันตสัมมา- สัมพุทธเจ้าจึงอุบัติขึ้นในโลก ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้จึงรุ่งเรืองในโลก ๑. บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจละชาติ ชรา และมรณะได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๖๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. อากังขวรรค ๖. ตโยธัมมสูตร

ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) ราคะ (ความกำหนัด) (๒) โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) (๓) โมหะ (ความหลง) ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจละชาติ ชรา และมรณะได้ ๒. บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจละราคะ โทสะและโมหะได้ ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน) (๒) วิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) (๓) สีลัพพตปรามาส(ความถือมั่นศีลพรต) ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจละราคะ โทสะ และโมหะได้ ๓. บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และ สีลัพพตปรามาสได้ ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) การมนสิการโดยไม่แยบคาย (๒) การเดินทางผิด (๓) ความหดหู่แห่งจิต ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้ ๔. บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจละการมนสิการโดยไม่แยบคาย การเดินทางผิด และความหดหู่แห่งจิตได้ ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) ความหลงลืมสติ (๒) ความไม่มีสัมปชัญญะ (๓) ความฟุ้งซ่านแห่งจิต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๗๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. อากังขวรรค ๖. ตโยธัมมสูตร

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจละการมนสิการ โดยไม่แยบคาย การเดินทางผิด และความหดหู่แห่งจิตได้ ๕. บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจละความหลงลืมสติ ความไม่ มีสัมปชัญญะ และความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้ ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะเห็นพระอริยะ (๒) ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะฟังธรรมของพระอริยะ (๓) ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดี ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจละความหลง ลืมสติ ความไม่มีสัมปชัญญะ และความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้ ๖. บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ไม่ต้องการจะ เห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะฟังธรรมของพระอริยะ และความเป็นผู้มีจิต คิดแข่งดีได้ ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) ความฟุ้งซ่าน (๒) ความไม่สำรวม (๓) ความเป็นผู้ทุศีล ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ ไม่ต้องการจะเห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะฟังธรรมของพระอริยะ และ ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้ ๗. บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจละความฟุ้งซ่าน ความไม่ สำรวม และความเป็นผู้ทุศีลได้ ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) ความไม่มีศรัทธา (๒) ความเป็นผู้ไม่มีใจเอื้อเฟื้อ (๓) ความเกียจคร้าน ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจละความฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวม และความเป็นผู้ทุศีลได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๗๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. อากังขวรรค ๖. ตโยธัมมสูตร

๘. บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจละความไม่มีศรัทธา ความเป็น ผู้ไม่มีใจเอื้อเฟื้อ และความเกียจคร้านได้ ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) ความไม่เอื้อเฟื้อ (๒) ความเป็นผู้ว่ายาก (๓) ความเป็นผู้มีปาปมิตร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจละความไม่มี ศรัทธา ความเป็นผู้ไม่มีใจเอื้อเฟื้อ และความเกียจคร้านได้ ๙. บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจละความไม่เอื้อเฟื้อ ความ เป็นผู้ว่ายาก และความเป็นผู้มีปาปมิตรได้ ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) ความไม่มีหิริ (๒) ความไม่มีโอตตัปปะ (๓) ความประมาท ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจละความไม่เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ว่ายาก และความเป็นผู้มีปาปมิตรได้ ๑๐. บุคคลนี้เป็นผู้ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ เป็นผู้ประมาท บุคคลนั้น เมื่อ ประมาท จึงไม่อาจละความไม่เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ว่ายาก และความเป็นผู้มี ปาปมิตรได้ เมื่อมีปาปมิตร จึงไม่อาจละความไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่มีใจเอื้อเฟื้อ และความเกียจคร้านได้ เมื่อเกียจคร้าน จึงไม่อาจละความฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวม และความเป็นผู้ทุศีลได้ เมื่อทุศีล จึงไม่อาจละความเป็นผู้ไม่ต้องการจะเห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะฟังธรรมของพระอริยะ และความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้ เมื่อ มีจิตคิดแข่งดี จึงไม่อาจละความหลงลืมสติ ความไม่มีสัมปชัญญะ และความฟุ้งซ่าน แห่งจิตได้ เมื่อมีจิตฟุ้งซ่าน จึงไม่อาจละการมนสิการโดยไม่แยบคาย การเดินทางผิด และความหดหู่แห่งจิตได้ เมื่อมีจิตหดหู่ จึงไม่อาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และ สีลัพพตปรามาสได้ เมื่อมีวิจิกิจฉา จึงไม่อาจละราคะ โทสะ และโมหะได้ ครั้นละ ราคะ โทสะ และโมหะยังไม่ได้ จึงไม่อาจละชาติ ชรา และมรณะได้ ๑. บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจละชาติ ชรา และมรณะได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๗๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. อากังขวรรค ๖. ตโยธัมมสูตร

ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) ราคะ (๒) โทสะ (๓) โมหะ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจละชาติ ชรา และ มรณะได้ ๒. บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจละราคะ โทสะ และโมหะได้ ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) สักกายทิฏฐิ (๒) วิจิกิจฉา (๓) สีลัพพตปรามาส ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจละราคะ โทสะ และโมหะได้ ๓. บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และ สีลัพพตปรามาสได้ ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) การมนสิการโดยไม่แยบคาย (๒) การเดินทางผิด (๓) ความหดหู่แห่งจิต ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้ ๔. บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจละการมนสิการโดยไม่แยบคาย การเดินทางผิด และความหดหู่แห่งจิตได้ ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) ความหลงลืมสติ (๒) ความไม่มีสัมปชัญญะ (๓) ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจละการมนสิการ โดยไม่แยบคาย การเดินทางผิด และความหดหู่แห่งจิตได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๗๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. อากังขวรรค ๖. ตโยธัมมสูตร

๕. บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจละความหลงลืมสติ ความไม่มี สัมปชัญญะ และความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้ ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะเห็นพระอริยะ (๒) ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะฟังธรรมของพระอริยะ (๓) ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดี ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจละความหลง ลืมสติ ความไม่มีสัมปชัญญะ และความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้ ๖. บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่ต้องการจะเห็น พระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะฟังธรรมของพระอริยะ และความเป็นผู้มีจิตคิด แข่งดีได้ ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) ความฟุ้งซ่าน (๒) ความไม่สำรวม (๓) ความเป็นผู้ทุศีล ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่ ต้องการจะเห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะฟังธรรมของพระอริยะ และความ เป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้ ๗. บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจละความฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวม และความเป็นผู้ทุศีลได้ ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) ความไม่มีศรัทธา (๒) ความเป็นผู้ไม่มีใจเอื้อเฟื้อ (๓) ความเกียจคร้าน ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจละความฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวม และความเป็นผู้ทุศีลได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๗๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. อากังขวรรค ๖. ตโยธัมมสูตร

๘. บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจละความไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้ มีใจไม่เอื้อเฟื้อ และความเกียจคร้านได้ ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) ความไม่เอื้อเฟื้อ (๒) ความเป็นผู้ว่ายาก (๓) ความเป็นผู้มีปาปมิตร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่ มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่มีใจเอื้อเฟื้อ และความเกียจคร้านได้ ๙. บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ความ เป็นผู้ว่ายาก และความเป็นผู้มีปาปมิตรได้ ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) ความเป็นผู้ไม่มีหิริ (๒) ความเป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ (๓) ความประมาท ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่ เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ว่ายาก และความเป็นผู้มีปาปมิตรได้ (๙) ๑๐. บุคคลนี้เป็นผู้มีหิริ เป็นผู้มีโอตตัปปะ เป็นผู้ไม่ประมาท บุคคลนั้นเมื่อไม่ ประมาท จึงอาจละความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ว่ายาก และความเป็นผู้มีปาปมิตรได้ เมื่อมีกัลยาณมิตร จึงอาจละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่มีใจเอื้อเฟื้อ และความเกียจคร้านได้ เมื่อปรารภความเพียร จึงอาจละความฟุ้งซ่าน ความไม่ สำรวม และความเป็นผู้ทุศีลได้ เมื่อมีศีล จึงอาจละความเป็นผู้ไม่ต้องการจะเห็น พระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะฟังธรรมของพระอริยะ และความเป็นผู้มีจิตคิด แข่งดีได้ เมื่อมีจิตไม่คิดแข่งดี จึงอาจละความหลงลืมสติ ความไม่มีสัมปชัญญะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้ เมื่อมีจิตไม่ฟุ้งซ่าน จึงอาจละการมนสิการโดยไม่แยบคาย การเดินทางผิด และความหดหู่แห่งจิตได้ เมื่อมีจิตไม่หดหู่ จึงอาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้ เมื่อไม่มีวิจิกิจฉา จึงอาจละราคะ โทสะ และ โมหะได้ ครั้นละราคะ โทสะ และโมหะ ได้แล้ว จึงอาจละชาติ ชรา และมรณะได้
ตโยธัมมสูตรที่ ๖ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๗๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๑๖๙-๑๗๕. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=24&siri=74              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=24&A=3381&Z=3492                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=76              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=76&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=76&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i071-e.php#sutta6 https://suttacentral.net/an10.76/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :