ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๑๐. ปริหานสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุแห่งความเสื่อม
[๗๙] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์ กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ “ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ @เชิงอรรถ : @ การคลุกคลี มี ๕ ประการ คือ (๑) ทัสสนสังสัคคะ(การคลุกคลีด้วยการเห็น) (๒) สวนสังสัคคะ(การ @คลุกคลีด้วยการฟัง) (๓) สมุลลาปนสังสัคคะ(การคลุกคลีด้วยการเจรจา) (๔) สัมโภคสังสัคคะ(การ @คลุกคลีด้วยการใช้สอยร่วมกัน) (๕) กายสังสัคคะ(การคลุกคลีด้วยกาย) (ขุ.อิติ.อ. ๗๘/๒๗๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๔๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๓. ติกนิบาต]

๓. ตติยวรรค ๑๐. ปริหานสูตร

ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุผู้เป็นเสขะในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ชอบการงาน๑- ยินดีในการงาน หมั่นประกอบความเป็นผู้ ชอบการงาน ๒. เป็นผู้ชอบการพูดคุย ยินดีในการพูดคุย หมั่นประกอบความเป็นผู้ ชอบการพูดคุย ๓. เป็นผู้ชอบการนอนหลับ ยินดีในการนอนหลับ หมั่นประกอบความ เป็นผู้ชอบการนอนหลับ ธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ” ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้ เป็นเสขะ ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุผู้เป็นเสขะในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ไม่ชอบการงาน ไม่ยินดีในการงาน ไม่หมั่นประกอบความเป็น ผู้ชอบการงาน ๒. เป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย ไม่ยินดีในการพูดคุย ไม่หมั่นประกอบความ เป็นผู้ชอบการพูดคุย ๓. เป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ ไม่ยินดีในการนอนหลับ ไม่หมั่นประกอบ ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ ธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ” @เชิงอรรถ : @ การงาน ในที่นี้หมายถึงงานนวกรรม คือ การก่อสร้างต่างๆ เช่น การก่อสร้างวิหาร เป็นต้น ความเป็น @ผู้ยินดีแต่การก่อสร้างจึงถือว่าเป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยนี้ เพราะทำให้ละเลยต่อการบำเพ็ญคันถธุระ @และวิปัสสนาธุระ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๔/๑๐๕, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา. ๓/๑๔-๑๕/๑๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๔๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๓. ติกนิบาต]

๓. ตติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า ภิกษุชอบการงาน ยินดีในการพูดคุย ชอบการนอนหลับ มีจิตฟุ้งซ่าน เช่นนี้ จึงไม่ควรเพื่อจะบรรลุอรหัตตผลอันยอดเยี่ยมได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุจึงควรเป็นผู้ทำกิจแต่น้อย นอนหลับแต่พอสมควร มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน เช่นนี้ จึงควรเพื่อจะบรรลุอรหัตตผลอันยอดเยี่ยมได้ แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
ปริหานสูตรที่ ๑๐ จบ
ตติยวรรค จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิกสูตร ๒. สัมมาทิฏฐิกสูตร ๓. นิสสรณิยสูตร ๔. สันตตรสูตร ๕. ปุตตสูตร ๖. อวุฏฐิกสูตร ๗. สุขปัตถนาสูตร ๘. ภิทุรสูตร ๙. ธาตุโสสังสันทนสูตร ๑๐. ปริหานสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๔๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๔๔๐-๔๔๒. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=25&siri=194              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=5973&Z=6005                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=257              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=257&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=27&A=6188              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=257&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=27&A=6188                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/iti/iti.3.050-099.than.html#iti-079 https://suttacentral.net/iti79/en/ireland https://suttacentral.net/iti79/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :