ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต]

๑๓. ภิกขาปรัมปรชาดก (๔๙๖)

๑๓. ภิกขาปรัมปรชาดก (๔๙๖)
ว่าด้วยเขตที่ถวายทานแล้วมีผลมาก
(กุฎุมพีทูลถามพระราชาว่า) [๒๗๐] ข้าพระองค์ได้เห็นพระองค์ผู้ทรงเป็นสุขุมาลชาติ ประทับอยู่ในปรางค์ปราสาทอันประเสริฐ เสด็จบรรทมบนพระยี่ภู่อันสูงใหญ่ เสด็จจากแคว้นมายังปัจจันตชนบทเช่นกับที่ป่าปราศจากน้ำ [๒๗๑] จึงได้ทูลถวายภัตตาหารอันวิจิตร คือข้าวสุกแห่งข้าวสาลีอันดีเลิศ ซึ่งมีกับที่ปรุงด้วยเนื้ออันสะอาด ด้วยความเคารพรักต่อพระองค์ [๒๗๒] พระองค์ผู้ทรงรับภัตนั้นแล้วได้พระราชทานให้พราหมณ์ ไม่เสวยด้วยพระองค์เอง ข้อนี้เป็นธรรมอะไรของพระองค์หรือ ข้าพระพุทธเจ้า ขอถวายบังคมพระองค์ (พระราชาตรัสตอบว่า) [๒๗๓] พราหมณ์เป็นอาจารย์ของเรา เป็นผู้ขวนขวายในกิจใหญ่น้อย เป็นครู และเป็นผู้ที่ควรจะเชื้อเชิญ เราจึงควรให้โภชนะแก่เขา (กุฎุมพีกล่าวกับพราหมณ์ว่า) [๒๗๔] บัดนี้ ข้าพเจ้าขอถามท่านพราหมณ์ผู้โคตมโคตร ที่พระราชาทรงบูชา พระราชาได้พระราชทานภัตแก่ท่าน ซึ่งมีกับที่ปรุงด้วยเนื้อสะอาดแก่ท่าน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๔๖๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต]

๑๓. ภิกขาปรัมปรชาดก (๔๙๖)

[๒๗๕] ท่านได้รับพระราชทานภัตตาหารนั้นแล้ว กลับถวายโภชนะแก่ฤๅษี ท่านคงจะรู้ตัวซิว่า ไม่ใช่เนื้อนาบุญแห่งทาน ข้อนี้เป็นธรรมอะไรของท่านหรือ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน (พราหมณ์ตอบว่า) [๒๗๖] ข้าพเจ้ายังต้องเลี้ยงบุตรและภรรยา เป็นผู้ติดในครอบครัว ถึงจะถวายอนุศาสน์แก่พระราชา ก็ยังบริโภคกามซึ่งเป็นของมนุษย์ [๒๗๗] ข้าพเจ้าควรจะถวายโภชนะแก่ฤๅษีผู้อยู่ป่า บำเพ็ญตบะมาช้านาน ผู้เจริญด้วยคุณ อบรมตนแล้ว (กุฎุมพีกล่าวกับฤๅษีว่า) [๒๗๘] บัดนี้ ข้าพเจ้าขอถามฤๅษีผู้ผอม มีร่างกายสะพรั่งด้วยเส้นเอ็น มีขนรักแร้ เล็บ และขนงอกขึ้นยาว มีขี้ฟันเขรอะ มีธุลีบนศีรษะ [๒๗๙] ท่านอยู่ผู้เดียวในป่า ไม่คำนึงถึงชีวิต เพราะเหตุไร ภิกษุจึงดีกว่าท่าน ถึงกับท่านยอมถวายโภชนะ (ฤๅษีตอบว่า) [๒๘๐] อาตมายังขุดมันเทศและเหง้าตาล มันมือเสือ และหัวหอม หัวกระเทียมอยู่ นวดข้าวฟ่างและลูกเดือย รวบรวมตากให้แห้ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๔๖๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต]

๑๓. ภิกขาปรัมปรชาดก (๔๙๖)

[๒๘๑] อาตมายังแสวงหาผัก เหง้าบัว น้ำผึ้ง เนื้อ พุทรา และมะขามป้อมเหล่านั้นมาบริโภคอยู่ อาตมายังมีการยึดถือนั้นอยู่ [๒๘๒] เมื่ออาตมายังหุงโภชนะ ยังมีความกังวล ยังมีความยึดมั่นถือมั่นอยู่ ควรถวายโภชนะแก่ท่านผู้ไม่หุง ผู้ละเว้นความยึดถือว่าเป็นของเรา ไม่มีความยึดมั่นถือมั่น (กุฎุมพีกล่าวกับพระปัจเจกพุทธเจ้าว่า) [๒๘๓] บัดนี้ ข้าพเจ้าขอถามภิกษุผู้นั่งนิ่ง มีวัตรอันดีงาม ฤาษีได้ถวายภัตตาหารซึ่งมีกับที่ปรุงด้วยเนื้อสะอาดแก่ท่าน [๒๘๔] ท่านรับภัตตาหารนั้นแล้ว นั่งนิ่งฉันแต่ผู้เดียว ไม่เชื้อเชิญใครอื่น ข้อนี้เป็นธรรมอะไรของท่านหรือ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน (พระปัจเจกพุทธเจ้าตอบว่า) [๒๘๕] อาตมาไม่ได้หุงเอง มิได้ใช้ให้ใครหุง ไม่ได้ตัดเอง มิได้ใช้ให้ใครตัด เพราะรู้ว่า อาตมานั้นไม่มีความกังวล งดเว้นจากบาปทั้งปวง [๒๘๖] ฤๅษีจึงถือเอาภิกษาด้วยมือซ้าย ถือคนโทน้ำด้วยมือขวา ได้ถวายภัตตาหารซึ่งมีกับที่ปรุงด้วยเนื้อสะอาดแก่อาตมา [๒๘๗] เพราะชนทั้งหลายเหล่านี้ยังมีความยึดมั่นว่าเป็นของเรา ยังมีความยึดมั่นถือมั่นจึงควรให้ทาน ส่วนอาตมาสำคัญว่า ผู้เชื้อเชิญ ผู้ถวาย เป็นปฏิปทาที่ผิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๔๖๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต]

๑๓. ภิกขาปรัมปรชาดก (๔๙๖) รวมชาดกที่มีในนิบาตนี้

(กุฎุมพีฟังคำของพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วดีใจ จึงกล่าวว่า) [๒๘๘] วันนี้ พระราชาผู้เป็นจอมทัพ เสด็จมาที่นี่เพื่อประโยชน์แก่เราแท้ๆ ข้าพระองค์รู้ชัดในวันนี้ถึงเขตที่ถวายทานแล้วมีผลมาก [๒๘๙] พระราชาทั้งหลายทรงพอพระทัยในแคว้น พราหมณ์ทั้งหลายพอใจในกิจน้อยใหญ่ ฤๅษีทั้งหลายพอใจในมูลผลาหาร ส่วนภิกษุทั้งหลายหลุดพ้นแล้ว
ภิกขาปรัมปรชาดกที่ ๑๓ จบ
รวมชาดกที่มีในนิบาตนี้ คือ
๑. สาลิเกทารชาดก ๒. จันทกินนรีชาดก ๓. มหาอุกกุสชาดก ๔. อุททาลกชาดก ๕. ภิสชาดก ๖. สุรุจิชาดก ๗. ปัญจุโปสถิกชาดก ๘. มหาโมรชาดก ๙. ตัจฉสูกรชาดก ๑๐. มหาวาณิชชาดก ๑๑. สาธินราชชาดก ๑๒. ทสพราหมณชาดก ๑๓. ภิกขาปรัมปรชาดก
ปกิณณกนิบาต จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๔๖๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๗ หน้าที่ ๔๖๕-๔๖๘. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=27&siri=496              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=27&A=7940&Z=7992                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=2024              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=27&item=2024&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=40&A=7636              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=27&item=2024&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=40&A=7636                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja496/en/rouse



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :