ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๙. ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑ นิทานวัตถุ

๙. ฉัตตุปาหนวรรค
หมวดว่าด้วยร่มและรองเท้า
สิกขาบทที่ ๑
ว่าด้วยภิกษุณีผู้ไม่เป็นไข้กั้นร่มและสวมรองเท้า
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๑๑๗๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์กั้นร่มและ สวมรองเท้า คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีจึงกั้น ร่มและสวมรองเท้าเหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า” ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณี ผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จึงกั้นร่มและสวมรองเท้าเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุ ทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์กั้นร่ม และสวมรองเท้า จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้ มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จึงกั้นร่มและสวมรองเท้าเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่ เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึง รับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
ก็ภิกษุณีใดกั้นร่มและสวมรองเท้า ต้องอาบัติปาจิตตีย์ สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุณีทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๕๘}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๙. ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑ สิกขาบทวิภังค์

เรื่องภิกษุณีเป็นไข้
[๑๑๗๙] สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งเป็นไข้ ขาดร่มและรองเท้าแล้ว เธอจะไม่ มีความผาสุก พวกภิกษุจึงกราบทูลเรื่องนั้นให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ ฯลฯ
ทรงอนุญาตร่มและรองเท้า
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตร่มและรองเท้าแก่ ภิกษุณีผู้เป็นไข้” แล้วรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
[๑๑๘๐] อนึ่ง ภิกษุณีใดผู้ไม่เป็นไข้ กั้นร่มและสวมรองเท้า ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีเป็นไข้ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๘๑] คำว่า อนึ่ง ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ก็ ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระ ผู้มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า ผู้ไม่เป็นไข้ คือ ผู้ที่ขาดร่มและรองเท้าก็ยังมีความผาสุก ที่ชื่อว่า ผู้เป็นไข้ คือ ผู้ขาดร่มและรองเท้าย่อมไม่มีความผาสุก ที่ชื่อว่า ร่ม ได้แก่ร่ม ๓ ชนิด คือ (๑) ร่มขาว (๒) ร่มลำแพน (๓) ร่มใบไม้ ที่เย็บเป็นวงกลม เย็บเข้ากับซี่ คำว่า กั้น ... สวม คือ ภิกษุณีกั้นสวมแม้ครั้งเดียว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๕๙}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๙. ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑ อนาปัตติวาร

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๑๘๒] ไม่เป็นไข้ ภิกษุณีสำคัญว่าไม่เป็นไข้ กั้นร่มและสวมรองเท้า ต้อง อาบัติปาจิตตีย์ ไม่เป็นไข้ ภิกษุณีไม่แน่ใจ กั้นร่มและสวมรองเท้า ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ไม่เป็นไข้ ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นไข้ กั้นร่มและสวมรองเท้า ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ภิกษุณีกั้นร่ม แต่ไม่สวมรองเท้า ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีสวมรองเท้า แต่ไม่กั้นร่ม ต้องอาบัติทุกกฏ เป็นไข้ ภิกษุณีสำคัญว่าไม่เป็นไข้ กั้นร่มและสวมรองเท้า ต้องอาบัติทุกกฏ เป็นไข้ ภิกษุณีไม่แน่ใจ กั้นร่มและสวมรองเท้า ต้องอาบัติทุกกฏ เป็นไข้ ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นไข้ กั้นร่มและสวมรองเท้า ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๑๑๘๓] ๑. ภิกษุณีผู้เป็นไข้ ๒. ภิกษุณีใช้ร่มอยู่ในอารามหรืออุปจารแห่งอาราม ๓. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง ๔. ภิกษุณีวิกลจริต ๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๖๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๓๕๘-๓๖๐. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=3&siri=112              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=3&A=6074&Z=6132                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=444              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=444&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11882              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=444&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11882                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.444 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc84/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc84/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :