ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์]

๒-๘. ทุติยาทิปาฏิเทสนียสิกขาบท นิทานวัตถุ

ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๒-๘ ๑-
ว่าด้วยการออกปากขอน้ำมันเป็นต้น
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๑๒๓๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์(ออกปาก ขอน้ำมันมาฉัน ฯลฯ ออกปากขอน้ำผึ้งมาฉัน ฯลฯ ออกปากขอน้ำอ้อยมาฉัน ฯลฯ ออกปากขอปลามาฉัน ฯลฯ ออกปากขอเนื้อมาฉัน ฯลฯ ออกปากขอนมสดมาฉัน ฯลฯ) ออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีจึงออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉันเล่า ใครเล่าจะไม่ชอบใจอาหารที่ปรุง ดีพร้อม ใครเล่าจะไม่ชอบใจของที่เอร็ดอร่อย” ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณีผู้ มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึง ออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉันเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุ ทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ออกปาก ขอนมเปรี้ยวมาฉัน จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณี ฉัพพัคคีย์จึงขอนมเปรี้ยวมาฉันเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้ @เชิงอรรถ : @ สิกขาบทที่ ๒ ว่าด้วยการออกปากขอน้ำมัน สิกขาบทที่ ๓ ว่าด้วยการออกปากขอน้ำผึ้ง สิกขาบทที่ ๔ @ว่าด้วยการออกปากขอน้ำอ้อย สิกขาบทที่ ๕ ว่าด้วยการออกปากขอปลา สิกขาบทที่ ๖ ว่าด้วยการ @ออกปากขอเนื้อ สิกขาบทที่ ๗ ว่าด้วยการออกปากขอนมสด พึงทราบว่าละข้อความเต็มไว้ ที่ปรากฏอยู่ @นี้ เป็นข้อความของสิกขาบทที่ ๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๘๙}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์]

ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๒-๘ พระอนุบัญญัติ

พระบัญญัติ
ก็ภิกษุณีใดออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน ภิกษุณีนั้นพึงแสดงคืนว่า “แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมคือปาฏิเทสนียะ เป็นธรรมที่น่าติเตียน ไม่เป็นสัปปายะ ดิฉันขอ แสดงคืนธรรมนั้น” สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุณีทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
เรื่องภิกษุณีเป็นไข้
[๑๒๓๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเป็นไข้ ภิกษุณีผู้ถามอาการไข้ได้กล่าวกับ ภิกษุณีเหล่านั้นดังนี้ว่า “แม่เจ้า พวกท่านยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ” ภิกษุณีผู้เป็นไข้กล่าวว่า “แม่เจ้า เมื่อก่อนพวกดิฉันออกปากขอนมเปรี้ยว มาฉันได้ เพราะเหตุนั้นพวกดิฉันจึงมีความผาสุก แต่บัดนี้พวกดิฉันยำเกรงอยู่ว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงห้าม” จึงไม่กล้าออกปากขอ เพราะเหตุนั้นจึงไม่มีความผาสุก” พวกภิกษุได้กราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ ฯลฯ
ทรงอนุญาตนมเปรี้ยว
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีเป็นไข้ ออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉันได้” แล้วรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
[๑๒๓๖] อนึ่ง ภิกษุณีใดผู้ไม่เป็นไข้ออกปากขอ (น้ำมัน ฯลฯ น้ำผึ้ง ฯลฯ น้ำอ้อย ฯลฯ ปลา ฯลฯ เนื้อ ฯลฯ นมสด ฯลฯ) นมเปรี้ยวมาฉัน ภิกษุณีนั้นพึงแสดงคืนว่า “แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมคือปาฏิเทสนียะ เป็นธรรม ที่น่าติเตียน ไม่เป็นสัปปายะ ดิฉันขอแสดงคืนธรรมนั้น”
เรื่องภิกษุณีเป็นไข้ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๙๐}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์]

ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๒-๘ บทภาชนีย์

สิกขาบทวิภังค์
[๑๒๓๗] คำว่า อนึ่ง ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ ภาคตรัสว่า อนึ่ง ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า ผู้ไม่เป็นไข้ คือ ผู้ขาดนมเปรี้ยวก็ยังมีความผาสุก ที่ชื่อว่า ผู้เป็นไข้ คือ ผู้ขาดนมเปรี้ยวย่อมไม่มีความผาสุก ที่ชื่อว่า น้ำมัน ได้แก่ น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดงา น้ำมันจากเมล็ดผักกาด น้ำมันจากผลมะซาง น้ำมันจากเมล็ดละหุ่ง น้ำมันจากเปลวสัตว์ ที่ชื่อว่า น้ำผึ้ง ได้แก่ น้ำรสหวานที่ผึ้งทำ ที่ชื่อว่า น้ำอ้อย ได้แก่ น้ำรสหวานที่เกิดจากอ้อย ที่ชื่อว่า ปลา พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงสัตว์ที่เกิดในน้ำ ที่ชื่อว่า เนื้อ ได้แก่ เนื้อของสัตว์ที่มีมังสะเป็นกัปปิยะ ที่ชื่อว่า นมสด ได้แก่ น้ำนมโค น้ำนมแพะ น้ำนมกระบือ หรือน้ำนมสัตว์ ที่มีมังสะเป็นกัปปิยะ ที่ชื่อว่า นมเปรี้ยว ได้แก่ นมเปรี้ยวของสัตว์มีโคเป็นต้นเหล่านั้นแหละ ภิกษุณีไม่เป็นไข้ ขอมาเพื่อตน ต้องอาบัติทุกกฏในขณะที่ขอ รับประเคนไว้ ด้วยตั้งใจว่า “จักฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏเพราะได้มา เธอฉันต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุกๆ คำกลืน
บทภาชนีย์
ติกปาฏิเทสนียะ
[๑๒๓๘] ไม่เป็นไข้ ภิกษุณีสำคัญว่าไม่เป็นไข้ ออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๙๑}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์]

ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๒-๘ อนาปัตติวาร

ไม่เป็นไข้ ภิกษุณีไม่แน่ใจ ออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ไม่เป็นไข้ ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นไข้ ออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน ต้องอาบัติ ปาฏิเทสนียะ
ทุกทุกกฏ
เป็นไข้ ภิกษุณีสำคัญว่าไม่เป็นไข้ ออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ เป็นไข้ ภิกษุณีไม่แน่ใจ ออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ เป็นไข้ ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นไข้ ออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ ไม่ต้องอาบัติ คือ [๑๒๓๙] ๑. ภิกษุณีผู้เป็นไข้ ๒. ภิกษุณีขอได้มาเมื่อตอนเป็นไข้ ฉันเมื่อไม่เป็นไข้ ๓. ภิกษุณีฉันนมเปรี้ยวที่เหลือเดนของภิกษุณีไข้ ๔. ภิกษุณีฉันนมเปรี้ยวของญาติ ๕. ภิกษุณีฉันนมเปรี้ยวของคนที่ปวารณาไว้ ๖. ภิกษุณีออกปากขอเพื่อผู้อื่น ๗. ภิกษุณีจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๘. ภิกษุณีวิกลจริต ๙. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๙๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๓๘๙-๓๙๒. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=3&siri=125              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=3&A=6633&Z=7075                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=489              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=489&items=5              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=489&items=5                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.489 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pd2-8/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pd2-8/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :