ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
๒. สัจจกถา
ว่าด้วยสัจจะ
[๘] เหตุเกิดขึ้นเหมือนในสูตรข้างต้น๑- ภิกษุทั้งหลาย สัจจะ ๔ ประการนี้ เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น สัจจะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ @เชิงอรรถ : @ สูตรข้างต้น ในที่นี้หมายถึงยุคนัทธกถา ข้อที่ ๑ หน้า ๔๑๓ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๒๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๒. สัจจกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส

๑. สัจจะว่า นี้ทุกข์ เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น ๒. สัจจะว่า นี้ทุกขสมุทัย เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น ๓. สัจจะว่า นี้ทุกขนิโรธ เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น ๔. สัจจะว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น ภิกษุทั้งหลาย สัจจะ ๔ ประการนี้แล เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
แสดงสูตรที่ ๑
ทุกข์ ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ เป็นอย่างไร คือ สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ ๔ ประการ เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น ได้แก่ ๑. สภาวะที่บีบคั้นแห่งทุกข์ ๒. สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งทุกข์ ๓. สภาวะที่ทำให้เดือดร้อนแห่งทุกข์ ๔. สภาวะที่แปรผันแห่งทุกข์ สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ ๔ ประการนี้เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น ทุกข์ ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้อย่างนี้ สมุทัย ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ เป็นอย่างไร คือ สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย ๔ ประการ เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น ได้แก่ ๑. สภาวะที่ประมวลมาแห่งสมุทัย ๒. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย ๓. สภาวะที่เกี่ยวข้องแห่งสมุทัย ๔. สภาวะที่พัวพันแห่งสมุทัย สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย ๔ ประการนี้เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็น อย่างอื่น สมุทัย ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้อย่างนี้ นิโรธ ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ เป็นอย่างไร คือ สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ ๔ ประการ เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น ได้แก่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๒๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๒. สัจจกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส

๑. สภาวะที่เป็นเครื่องสลัดออกแห่งนิโรธ ๒. สภาวะที่เป็นวิเวกแห่งนิโรธ ๓. สภาวะที่เป็นอสังขตะแห่งนิโรธ ๔. สภาวะที่เป็นอมตะแห่งนิโรธ สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ ๔ ประการนี้เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็น อย่างอื่น นิโรธ ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้อย่างนี้ มรรค ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ เป็นอย่างไร คือ สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค ๔ ประการ เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น ได้แก่ ๑. สภาวะที่นำออกแห่งมรรค ๒. สภาวะที่เป็นเหตุแห่งมรรค ๓. สภาวะที่เห็นแห่งมรรค ๔. สภาวะที่เป็นใหญ่แห่งมรรค สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค ๔ ประการนี้เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น มรรค ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้อย่างนี้ [๙] สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยอาการเท่าไร คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยอาการ ๔ อย่าง ได้แก่ ๑. ด้วยสภาวะเป็นของแท้ ๒. ด้วยสภาวะเป็นอนัตตา ๓. ด้วยสภาวะเป็นของจริง ๔. ด้วยสภาวะรู้แจ้ง สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับอาการ ๔ อย่างนี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์ เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อมรู้แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นของแท้ เป็นอย่างไร คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นของแท้ ด้วยอาการ ๔ อย่าง ได้แก่ ๑. สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ มีสภาวะเป็นของแท้ ๒. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย มีสภาวะเป็นของแท้ ๓. สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ มีสภาวะเป็นของแท้ ๔. สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค มีสภาวะเป็นของแท้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๒๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๒. สัจจกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส

สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสภาวะเป็นของแท้ ด้วยอาการ ๔ อย่างนี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อม รู้แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการ รู้แจ้งด้วยญาณเดียว สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นอนัตตา เป็น อย่างไร คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นอนัตตา ด้วยอาการ ๔ อย่าง ได้แก่ ๑. สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ มีสภาวะเป็นอนัตตา ๒. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย มีสภาวะเป็นอนัตตา ๓. สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ มีสภาวะเป็นอนัตตา ๔. สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค มีสภาวะเป็นอนัตตา สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสภาวะเป็นอนัตตา ด้วยอาการ ๔ อย่างนี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อม รู้แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการ รู้แจ้งด้วยญาณเดียว สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นของจริง เป็น อย่างไร คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นของจริง ด้วยอาการ ๔ อย่าง ได้แก่ ๑. สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ มีสภาวะเป็นของจริง ๒. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย มีสภาวะเป็นของจริง ๓. สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ มีสภาวะเป็นของจริง ๔. สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค มีสภาวะเป็นของจริง สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสภาวะเป็นของจริง ด้วยอาการ ๔ อย่างนี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อมรู้ แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการ รู้แจ้งด้วยญาณเดียว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๓๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๒. สัจจกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส

สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะรู้แจ้ง เป็นอย่างไร คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะรู้แจ้ง ด้วยอาการ ๔ อย่าง ได้แก่ ๑. สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ มีสภาวะรู้แจ้ง ๒. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย มีสภาวะรู้แจ้ง ๓. สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ มีสภาวะรู้แจ้ง ๔. สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค มีสภาวะรู้แจ้ง สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสภาวะรู้แจ้ง ด้วยอาการ ๔ อย่างนี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อม รู้แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการ รู้แจ้งด้วยญาณเดียว [๑๐] สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว เป็นอย่างไร คือ สัจจะใดไม่เที่ยง สัจจะนั้นเป็นทุกข์ สัจจะใดเป็นทุกข์ สัจจะนั้นไม่เที่ยง สัจจะใดไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ สัจจะนั้นเป็นอนัตตา สัจจะใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา สัจจะนั้นเป็นของแท้ สัจจะใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา และเป็นของแท้ สัจจะนั้นเป็นของจริง สัจจะใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นของแท้ และเป็นของจริง สัจจะนั้นท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้น เป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อมรู้แจ้งสัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยอาการเท่าไร คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยอาการ ๙ อย่าง ได้แก่ ๑. ด้วยสภาวะเป็นของแท้ ๒. ด้วยสภาวะเป็นอนัตตา ๓. ด้วยสภาวะเป็นของจริง ๔. ด้วยสภาวะรู้แจ้ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๓๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๒. สัจจกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส

๕. ด้วยสภาวะเป็นธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ๖. ด้วยสภาวะเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ ๗. ด้วยสภาวะเป็นธรรมที่ควรละ ๘. ด้วยสภาวะเป็นธรรมที่ควรเจริญ ๙. ด้วยสภาวะเป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับอาการ ๙ อย่างนี้ สัจจะใดท่าน สงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อมรู้แจ้งสัจจะที่ เป็นสภาวะเดียวด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นของแท้ เป็น อย่างไร คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นของแท้ ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ ได้แก่ ๑. สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ มีสภาวะเป็นของแท้ ๒. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย มีสภาวะเป็นของแท้ ๓. สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ มีสภาวะเป็นของแท้ ๔. สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค มีสภาวะเป็นของแท้ ๕. สภาวะที่ควรรู้ยิ่งแห่งอภิญญา มีสภาวะเป็นของแท้ ๖. สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งปริญญา มีสภาวะเป็นของแท้ ๗. สภาวะที่ควรละแห่งปหานะ มีสภาวะเป็นของแท้ ๘. สภาวะที่ควรเจริญแห่งภาวนา มีสภาวะเป็นของแท้ ๙. สภาวะที่ควรทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยา มีสภาวะเป็นของแท้ สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสภาวะเป็นของแท้ ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อมรู้ แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการรู้ แจ้งด้วยญาณเดียว สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นอนัตตา ... พร้อมด้วยสภาวะเป็นของจริง ... สัจจะ ๔ มีการรู้แจังด้วยญาณเดียวพร้อม ด้วยสภาวะรู้แจ้ง เป็นอย่างไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๓๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๒. สัจจกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส

คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะรู้แจ้ง ด้วย อาการ ๙ อย่าง ได้แก่ ๑. สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ มีสภาวะรู้แจ้ง ๒. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย มีสภาวะรู้แจ้ง ๓. สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ มีสภาวะรู้แจ้ง ๔. สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค มีสภาวะรู้แจ้ง ๕. สภาวะที่ควรรู้ยิ่งแห่งอภิญญา มีสภาวะรู้แจ้ง ๖. สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งปริญญา มีสภาวะรู้แจ้ง ๗. สภาวะที่ควรละแห่งปหานะ มีสภาวะรู้แจ้ง ๘. สภาวะที่ควรเจริญแห่งภาวนา มีสภาวะรู้แจ้ง ๙. สภาวะที่ควรทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยา มีสภาวะรู้แจ้ง สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสภาวะรู้แจ้ง ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อม รู้แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการ รู้แจ้งด้วยญาณเดียว [๑๑] สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยอาการเท่าไร คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียวพร้อมด้วยอาการ ๑๒ อย่าง ได้แก่ ๑. ด้วยสภาวะเป็นของแท้ ๒. ด้วยสภาวะเป็นอนัตตา ๓. ด้วยสภาวะเป็นของจริง ๔. ด้วยสภาวะรู้แจ้ง ๕. ด้วยสภาวะเป็นเครื่องรู้ยิ่ง ๖. ด้วยสภาวะเป็นเครื่องกำหนดรู้ ๗. ด้วยสภาวะเป็นธรรม ๘. ด้วยสภาวะเป็นเหมือนอย่างนั้น ๙. ด้วยสภาวะเป็นธรรมที่รู้แล้ว ๑๐. ด้วยสภาวะเป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ๑๑. ด้วยสภาวะถูกต้อง ๑๒. ด้วยสภาวะตรัสรู้ สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับอาการ ๑๒ อย่างนี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์ เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อมรู้แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะ เดียวด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๓๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๒. สัจจกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส

สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นของแท้ เป็นอย่างไร คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นของแท้ ด้วยอาการ ๑๖ อย่าง ได้แก่ ๑. สภาวะที่บีบคั้นแห่งทุกข์ มีสภาวะเป็นของแท้ ๒. สภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งแห่งทุกข์ มีสภาวะเป็นของแท้ ๓. สภาวะที่ทำให้เดือดร้อนแห่งทุกข์ มีสภาวะเป็นของแท้ ๔. สภาวะที่แปรผันแห่งทุกข์ มีสภาวะเป็นของแท้ ๕. สภาวะที่ประมวลมาแห่งสมุทัย มีสภาวะเป็นของแท้ ๖. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย มีสภาวะเป็นของแท้ ๗. สภาวะที่เกี่ยวข้องแห่งสมุทัย มีสภาวะเป็นของแท้ ๘. สภาวะที่พัวพันแห่งสมุทัย มีสภาวะเป็นของแท้ ๙. สภาวะที่เป็นเครื่องสลัดออกแห่งนิโรธ มีสภาวะเป็นของแท้ ๑๐. สภาวะที่เป็นวิเวกแห่งนิโรธ มีสภาวะเป็นของแท้ ๑๑. สภาวะที่เป็นอสังขตะแห่งนิโรธ มีสภาวะเป็นของแท้ ๑๒. สภาวะที่เป็นอมตะแห่งนิโรธ มีสภาวะเป็นของแท้ ๑๓. สภาวะที่นำออกแห่งมรรค มีสภาวะเป็นของแท้ ๑๔. สภาวะที่เป็นเหตุแห่งมรรค มีสภาวะเป็นของแท้ ๑๕. สภาวะที่เห็นแห่งมรรค มีสภาวะเป็นของแท้ ๑๖. สภาวะที่เป็นใหญ่แห่งมรรค มีสภาวะเป็นของแท้ สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสภาวะเป็นของแท้ ด้วยอาการ ๑๖ อย่างนี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจร ย่อมรู้ แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการรู้ แจ้งด้วยญาณเดียว สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นอนัตตา ฯลฯ พร้อมด้วยสภาวะเป็นของจริง พร้อมด้วยสภาวะรู้แจ้ง พร้อมด้วยสภาวะเป็น เครื่องรู้ยิ่ง พร้อมด้วยสภาวะเป็นเครื่องกำหนดรู้ พร้อมด้วยสภาวะเป็นธรรม พร้อมด้วยสภาวะเป็นของแท้ พร้อมด้วยสภาวะเป็นธรรมที่รู้แล้ว พร้อมด้วย สภาวะเป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง พร้อมด้วยสภาวะถูกต้อง ด้วยมีสภาวะตรัสรู้ เป็นอย่างไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๓๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๒. สัจจกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส

คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะตรัสรู้ ด้วย อาการ ๑๖ อย่าง ได้แก่ ๑. สภาวะที่บีบคั้นแห่งทุกข์ มีสภาวะตรัสรู้ ๒. สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งทุกข์ มีสภาวะตรัสรู้ ๓. สภาวะที่ทำให้เดือดร้อนแห่งทุกข์ มีสภาวะตรัสรู้ ๔. สภาวะที่แปรผันแห่งทุกข์ มีสภาวะตรัสรู้ ๕. สภาวะที่ประมวลมาแห่งสมุทัย มีสภาวะตรัสรู้ ๖. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย มีสภาวะตรัสรู้ ๗. สภาวะที่เกี่ยวข้องแห่งสมุทัย มีสภาวะตรัสรู้ ๘. สภาวะที่พัวพันแห่งสมุทัย มีสภาวะตรัสรู้ ๙. สภาวะที่เป็นเครื่องสลัดออกแห่งนิโรธ มีสภาวะตรัสรู้ ๑๐. สภาวะที่เป็นวิเวกแห่งนิโรธ มีสภาวะตรัสรู้ ๑๑. สภาวะที่เป็นอสังขตะแห่งนิโรธ มีสภาวะตรัสรู้ ๑๒. สภาวะที่เป็นอมตะแห่งนิโรธ มีสภาวะตรัสรู้ ๑๓. สภาวะที่นำออกแห่งมรรค มีสภาวะตรัสรู้ ๑๔. สภาวะที่เป็นเหตุแห่งมรรค มีสภาวะตรัสรู้ ๑๕. สภาวะที่เห็นแห่งมรรค มีสภาวะตรัสรู้ ๑๖. สภาวะที่เป็นใหญ่แห่งมรรค มีสภาวะตรัสรู้ สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสภาวะตรัสรู้ ด้วยอาการ ๑๖ อย่างนี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจร ย่อมรู้ แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการรู้ แจ้งด้วยญาณเดียว [๑๒] สัจจะมีลักษณะเท่าไร สัจจะมีลักษณะ ๒ คือ ๑. สังขตลักษณะ (ลักษณะแห่งธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง) ๒. อสังขตลักษณะ (ลักษณะแห่งธรรมที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง) สัจจะมีลักษณะ ๒ อย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๓๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๒. สัจจกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส

สัจจะมีลักษณะเท่าไร สัจจะมีลักษณะ ๖ คือ ๑. สัจจะที่ปัจจัยปรุงแต่ง มีความเกิดปรากฏ ๒. สัจจะที่ปัจจัยปรุงแต่ง มีความเสื่อมปรากฏ ๓. สัจจะที่ปัจจัยปรุงแต่ง เมื่อยังตั้งอยู่ ความแปรเปลี่ยนปรากฏ ๔. สัจจะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ความเกิดไม่ปรากฏ ๕. สัจจะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ความเสื่อมไม่ปรากฏ ๖. สัจจะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง เมื่อยังตั้งอยู่ ความแปรเปลี่ยนไม่ปรากฏ สัจจะมีลักษณะ ๖ อย่างนี้ สัจจะมีลักษณะเท่าไร สัจจะมีลักษณะ ๑๒ คือ ๑. ทุกขสัจ มีความเกิดปรากฏ ๒. ทุกขสัจ มีความเสื่อมปรากฏ ๓. ทุกขสัจ เมื่อยังตั้งอยู่ ความแปรเปลี่ยนปรากฏ ๔. สมุทยสัจ มีความเกิดปรากฏ ๕. สมุทยสัจ มีความเสื่อมปรากฏ ๖. สมุทยสัจ เมื่อยังตั้งอยู่ ความแปรเปลี่ยนปรากฏ ๗. มัคคสัจ มีความเกิดปรากฏ ๘. มัคคสัจ มีความเสื่อมปรากฏ ๙. มัคคสัจ เมื่อยังตั้งอยู่ ความแปรเปลี่ยนปรากฏ ๑๐. นิโรธสัจ ความเกิดไม่ปรากฏ ๑๑. นิโรธสัจ ความเสื่อมไม่ปรากฏ ๑๒. นิโรธสัจ เมื่อยังตั้งอยู่ ความแปรเปลี่ยนไม่ปรากฏ สัจจะมีลักษณะ ๑๒ อย่างนี้ สัจจะ ๔ เป็นกุศลเท่าไร เป็นอกุศลเท่าไร เป็นอัพยากฤตเท่าไร คือ สมุทยสัจเป็นอกุศล มัคคสัจเป็นกุศล นิโรธสัจเป็นอัพยากฤต ทุกขสัจ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี สัจจะ ๓ นี้ ท่านสงเคราะห์เข้ากับ สัจจะ ๑ สัจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสัจจะ ๓ ด้วยอำนาจวัตถุ๑- (และ) ด้วยปริยาย @เชิงอรรถ : @ วัตถุ ในที่นี้หมายถึงกุศล อกุศล อัพยากฤต ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค (ขุ.ป.อ. ๒/๑๒/๒๓๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๓๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๒. สัจจกถา ๒. ทุติยสุตตันตบาลี

คำว่า พึงมี อธิบายว่า พึงมีได้อย่างไร คือ ทุกขสัจเป็นอกุศล สมุทยสัจเป็นอกุศล สัจจะ ๒ นี้ท่านสงเคราะห์เข้า กับสัจจะ ๑ สัจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสัจจะ ๒ ด้วยความเป็นอกุศล พึงมีได้ อย่างนี้ ทุกขสัจเป็นกุศล มัคคสัจเป็นกุศล สัจจะ ๒ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสัจจะ ๑ สัจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสัจจะ ๒ ด้วยความเป็นกุศล พึงมีได้อย่างนี้ ทุกขสัจเป็นอัพยากฤต นิโรธสัจเป็นอัพยากฤต สัจจะ ๒ ท่านสงเคราะห์เข้ากับ สัจจะ ๑ สัจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสัจจะ ๒ ด้วยความเป็นอัพยากฤต พึงมีได้อย่างนี้ สัจจะ ๓ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสัจจะ ๑ สัจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสัจจะ ๓ ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้
ปฐมสุตตันตนิทเทส จบ
๒. ทุติยสุตตันตบาลี
พระบาลีแห่งสูตรที่ ๒
[๑๓] ภิกษุทั้งหลาย ก่อนตรัสรู้ เมื่อเราเป็นโพธิสัตว์ยังมิได้ตรัสรู้ ได้มีความ คิดดังนี้ว่า “อะไรหนอแลเป็นคุณ๑- แห่งรูป อะไรเป็นโทษ๒- แห่งรูป อะไรเป็นเครื่องสลัด ออกจากรูป อะไรเป็นคุณแห่งเวทนา อะไรเป็นโทษแห่งเวทนา อะไรเป็นเครื่องสลัด ออกจากเวทนา อะไรเป็นคุณแห่งสัญญา อะไรเป็นโทษแห่งสัญญา อะไรเป็นเครื่อง สลัดออกจากสัญญา อะไรเป็นคุณแห่งสังขาร อะไรเป็นโทษแห่งสังขาร อะไรเป็น เครื่องสลัดออกจากสังขาร อะไรเป็นคุณแห่งวิญญาณ อะไรเป็นโทษแห่งวิญญาณ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากวิญญาณ” เรานั้นได้มีความคิดอย่างนี้อีกว่า “สุขโสมนัส ที่อาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งรูป รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผัน เป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งรูป ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะ๓- @เชิงอรรถ : @๑-๒ ดูเชิงอรรถข้อ ๘/๑๕ ในสุตมยญาณนิทเทสในเล่มนี้ @ ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๔/๒๕๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๓๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๒. สัจจกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส

ในรูป นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากรูป สุขโสมนัสที่อาศัยเวทนา ฯลฯ ที่อาศัยสัญญา ฯลฯ ที่อาศัยสังขาร ฯลฯ สุขโสมนัสที่อาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในวิญญาณ นี้เป็นเครื่องสลัด ออกจากวิญญาณ เรายังไม่รู้ทั่วถึงคุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ และเครื่องสลัด ออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ โดยความเป็นเครื่องสลัดออกนี้ ตามความเป็นจริง เพียงใด เราก็ยังไม่ยืนยันว่าเป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น แต่เมื่อใด เราได้รู้ทั่วถึงคุณโดยความเป็นคุณ โทษ โดยความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ โดยความเป็นเครื่อง สลัดออกนี้ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เราจึงจะยินยันว่าเป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิ-- ญาณอันยอดเยี่ยม ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ อนึ่ง ญาณทัสสนะ๑- เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า “เจโตวิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”
ทุติยสุตตันตบาลี จบ
๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
แสดงสูตรที่ ๒
[๑๔] การรู้แจ้งด้วยการละสุขโสมนัสที่อาศัยรูปเกิดขึ้นว่า “นี้เป็นคุณแห่งรูป” เป็นสมุทยสัจ การรู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้รูปที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผัน เป็นธรรมดาว่า “นี้เป็นโทษแห่งรูป” เป็นทุกขสัจ การรู้แจ้งด้วยการทำให้แจ้ง ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในรูปว่า “นี้เป็นเครื่องสลัด ออกจากรูป” เป็นนิโรธสัจ การรู้แจ้งด้วยการเจริญทิฏฐิ สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ วายามะ สติ สมาธิ ในฐานะทั้ง ๓ นี้เป็นมัคคสัจ @เชิงอรรถ : @ ญาณทัสสนะ หมายถึงปัจจเวกขณญาณ ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน คือสำรวจรู้มรรค ผล กิเลส @ที่ละแล้ว กิเลสที่เหลืออยู่ และนิพพาน (เว้นพระอรหันต์) ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่ @(องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๔/๒๕๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๓๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๒. สัจจกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส

การรู้แจ้งด้วยการละสุขโสมนัสที่อาศัยเวทนา ฯลฯ ที่อาศัยสัญญา ฯลฯ ที่อาศัยสังขาร ฯลฯ การรู้แจ้งด้วยการละสุขโสมนัสที่อาศัยวิญญาณเกิดขึ้นว่า “นี้ เป็นคุณแห่งวิญญาณ” เป็นสมุทยสัจ การรู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้วิญญาณที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดาว่า “นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ” เป็นทุกขสัจ การรู้แจ้งด้วยการทำให้แจ้งธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะ ในวิญญาณว่า “นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากวิญญาณ” เป็นนิโรธสัจ การรู้แจ้งด้วย การเจริญทิฏฐิ สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ วายามะ สติ สมาธิ ในฐานะ ทั้ง ๓ นี้เป็นมัคคสัจ [๑๕] คำว่า สัจจะ อธิบายว่า ชื่อว่าสัจจะด้วยอาการเท่าไร คือ ชื่อว่าสัจจะด้วยอาการ ๓ อย่าง ได้แก่ ๑. ด้วยมีสภาวะแสวงหา ๒. ด้วยมีสภาวะกำหนด ๓. ด้วยมีสภาวะรู้แจ้ง ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหา เป็นอย่างไร คือ ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “ชราและมรณะมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมี สภาวะกำหนดอย่างนี้ว่า “ชราและมรณะมีชาติเป็นเหตุ มีชาติเป็นเหตุเกิด มีชาติ เป็นกำเนิด มีชาติเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้ ชัดซึ่งชราและมรณะ เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับแห่งชราและมรณะ และข้อ ปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “ชาติมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็น เหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะกำหนด อย่างนี้ว่า “ชาติมีภพเป็นเหตุ มีภพเป็นเหตุเกิด มีภพเป็นกำเนิด มีภพเป็นแดน เกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้ชัดซึ่งชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับแห่งชาติ และข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งชาติ” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “ภพมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็น เหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะกำหนด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๓๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๒. สัจจกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส

อย่างนี้ว่า “ภพมีอุปาทานเป็นเหตุ มีอุปาทานเป็นเหตุเกิด มีอุปาทานเป็นกำเนิด มี อุปาทานเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้ชัดซึ่งภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับแห่งภพ และข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งภพ” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “อุปาทานมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร เป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะ กำหนดอย่างนี้ว่า “อุปาทานมีตัณหาเป็นเหตุ มีตัณหาเป็นเหตุเกิด มีตัณหาเป็น กำเนิด มีตัณหาเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้ ชัดซึ่งอุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับแห่งอุปาทาน และข้อปฏิบัติที่ให้ ถึงความดับแห่งอุปาทาน” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “ตัณหามีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร เป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะกำหนด อย่างนี้ว่า “ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ มีเวทนาเป็นเหตุเกิด มีเวทนาเป็นกำเนิด มี เวทนาเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้ชัดซึ่งตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับแห่งตัณหา และข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งตัณหา” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “เวทนามีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร เป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะกำหนด อย่างนี้ว่า “เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นเหตุเกิด มีผัสสะเป็นกำเนิด มี ผัสสะเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้ชัดซึ่งเวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับแห่งเวทนา และข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “ผัสสะมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็น เหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะกำหนด อย่างนี้ว่า “ผัสสะมีสฬายตนะเป็นเหตุ มีสฬายตนะเป็นเหตุเกิด มีสฬายตนะเป็น กำเนิด มีสฬายตนะเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณ รู้ชัดซึ่งผัสสะ เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับแห่งผัสสะ และข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความ ดับแห่งผัสสะ” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “สฬายตนะมีอะไรเป็นเหตุ มี อะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๔๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๒. สัจจกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส

สภาวะกำหนดอย่างนี้ว่า “สฬายตนะมีนามรูปเป็นเหตุ มีนามรูปเป็นเหตุเกิด มี นามรูปเป็นกำเนิด มีนามรูปเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้ชัดซึ่งสฬายตนะ เหตุเกิดแห่งสฬายตนะ ความดับแห่งสฬายตนะ และข้อ ปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งสฬายตนะ” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “นามรูปมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร เป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะกำหนด อย่างนี้ว่า “นามรูปมีวิญญาณเป็นเหตุ มีวิญญาณเป็นเหตุเกิด มีวิญญาณเป็นกำเนิด มีวิญญาณเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้ชัดซึ่ง นามรูป เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับแห่งนามรูป และข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับ แห่งนามรูป” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “วิญญาณมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร เป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะ กำหนดอย่างนี้ว่า “วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ มีสังขารเป็นเหตุเกิด มีสังขารเป็น กำเนิด มีสังขารเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้ชัด ซึ่งวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ และข้อปฏิบัติที่ให้ถึง ความดับแห่งวิญญาณ” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “สังขารมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็น เหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะกำหนด อย่างนี้ว่า “สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ มีอวิชชาเป็นเหตุเกิด มีอวิชชาเป็นกำเนิด มี อวิชชาเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้ชัดซึ่งสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับแห่งสังขาร และข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร” [๑๖] ชราและมรณะเป็นทุกขสัจ ชาติเป็นสมุทยสัจ การสลัดชรามรณะและ ชาติแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งชรามรณะและชาติเป็นมัคคสัจ ชาติเป็นทุกขสัจ ภพเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากชาติและภพแม้ทั้งสอง เป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งชาติและภพเป็นมัคคสัจ ภพเป็นทุกขสัจ อุปาทานเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากภพและอุปาทาน แม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับภพและอุปาทานเป็นมัคคสัจ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๔๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๒. สัจจกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส

อุปาทานเป็นทุกขสัจ ตัณหาเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากอุปาทานและ ตัณหาแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งอุปาทานและตัณหาเป็นมัคคสัจ ตัณหาเป็นทุกขสัจ เวทนาเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากตัณหาและเวทนา แม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งตัณหาและเวทนาเป็นมัคคสัจ เวทนาเป็นทุกขสัจ ผัสสะเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากเวทนาและผัสสะ แม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งเวทนาและผัสสะเป็นมัคคสัจ ผัสสะเป็นทุกขสัจ สฬายตนะเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากผัสสะและสฬายตนะ แม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งผัสสะและสฬายตนะเป็นมัคคสัจ สฬายตนะเป็นทุกขสัจ นามรูปเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากสฬายตนะ และนามรูปแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งสฬายตนะและนามรูปเป็น มัคคสัจ นามรูปเป็นทุกขสัจ วิญญาณเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากนามรูปและ วิญญาณแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งนามรูปและวิญญาณเป็นมัคคสัจ วิญญาณเป็นทุกขสัจ สังขารเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากวิญญาณและ สังขารแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งวิญญาณและสังขารเป็นมัคคสัจ สังขารเป็นทุกขสัจ อวิชชาเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากสังขารและอวิชชา แม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งสังขารและอวิชชาเป็นมัคคสัจ ชราและมรณะเป็นทุกขสัจ ชาติเป็นทุกขสัจก็มี เป็นสมุทยสัจก็มี การสลัด ออกจากชรามรณะและชาติแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งชรามรณะ และชาติเป็นมัคคสัจ ชาติเป็นทุกขสัจก็มี เป็นสมุทยสัจก็มี ภพเป็นทุกขสัจก็มี เป็นสมุทยสัจก็มี การสลัดออกจากชาติและภพแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งชาติและ ภพเป็นมัคคสัจ ฯลฯ สังขารเป็นทุกขสัจ อวิชชาเป็นทุกขสัจก็มี เป็นสมุทยสัจก็มี การสลัดสังขารและอวิชชาแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งสังขารและ อวิชชาเป็นมัคคสัจ ฉะนี้แล
ทุติยสุตตันตนิทเทส จบ
สัจจกถา จบ
ภาณวาร จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๔๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๔๒๗-๔๔๒. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=31&siri=71              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=31&A=7862&Z=8153                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=544              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=544&items=13              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=48&A=5160              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=544&items=13              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=48&A=5160                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :