ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
๕. ปทุมกูฏาคาริกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปทุมกูฏาคาริกเถระ
(พระปทุมกูฏาคาริกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า) [๓๕๓] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าปิยทัสสี ผู้เป็นพระสยัมภู ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ตรัสรู้แล้วด้วยพระองค์เอง ทรงประสงค์วิเวก ฉลาดในสมาธิ เป็นมุนี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๖๓๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค]

๕. ปทุมกูฏาคาริกเถราปทาน

[๓๕๔] พระมหามุนีพระนามว่าปิยทัสสี ผู้เป็นบุรุษผู้สูงสุด เสด็จเข้าไปยังไพรสณฑ์ ทรงลาดผ้าบังสุกุลแล้วประทับนั่งอยู่ [๓๕๕] เมื่อก่อน ข้าพเจ้าเป็นพรานเนื้ออยู่ในป่าดงทึบ เที่ยวแสวงหาเนื้อฟานอยู่ในครั้งนั้น [๓๕๖] ณ ที่นั้น ข้าพเจ้าได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ข้ามโอฆกิเลสได้แล้ว ไม่มีอาสวะเด่นอยู่ดุจต้นพญาไม้สาละมีดอกบานสะพรั่ง และดุจดวงอาทิตย์อุทัย [๓๕๗] ครั้นเห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าปิยทัสสี ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ มีพระยศยิ่งใหญ่แล้ว จึงลงไปยังชาติสระ นำดอกปทุมมาในขณะนั้น [๓๕๘] ครั้นนำดอกปทุมร้อยกลีบซึ่งเป็นที่น่ารื่นรมย์ใจมาแล้ว จึงสร้างเรือนยอด(ปราสาท)แล้วมุงด้วยดอกปทุม [๓๕๙] พระพุทธชินเจ้าพระนามว่าปิยทัสสี ผู้มหามุนี ผู้ทรงอนุเคราะห์ ประกอบด้วยพระกรุณา ประทับอยู่ในเรือนยอดตลอด ๗ วัน ๗ คืน [๓๖๐] ข้าพเจ้านำดอกปทุมที่เก่าๆ ทิ้งแล้ว มุงด้วยดอกปทุมใหม่ ได้ยืนประคองอัญชลี ในขณะนั้น [๓๖๑] พระมหามุนีพระนามว่าปิยทัสสี ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก เสด็จออกจากสมาธิแล้วประทับนั่งเหลียวดูทิศอยู่ [๓๖๒] ครั้งนั้น พระเถระผู้อุปัฏฐากนามว่าสุทัสสนะ มีฤทธิ์มาก รู้พระดำริของพระพุทธเจ้าพระนามว่าปิยทัสสี ผู้ศาสดา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๖๓๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค]

๕. ปทุมกูฏาคาริกเถราปทาน

[๓๖๓] มีภิกษุ ๘๐,๐๐๐ รูปแวดล้อมแล้ว เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ซึ่งประทับนั่งเป็นสุขอยู่ที่ชายป่า [๓๖๔] และครั้งนั้น เทวดาที่สิงสถิตอยู่ในไพรสณฑ์ ทราบพระพุทธดำริแล้ว พากันมาประชุมทั้งหมด [๓๖๕] เมื่อพวกยักษ์ กุมภัณฑ์ พร้อมทั้งผีเสื้อน้ำมาพร้อมกัน และเมื่อภิกษุสงฆ์มาถึงพร้อมแล้ว พระชินเจ้าได้ตรัสพระคาถาว่า [๓๖๖] เราจักพยากรณ์ผู้ที่บูชาเราตลอด ๗ วัน และได้สร้างอาวาสถวายเรา ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด [๓๖๗] เราจักพยากรณ์สิ่งที่เห็นได้ยากนัก ละเอียดนัก ลึกซึ้งให้ปรากฏชัดด้วยญาณ ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด [๓๖๘] ผู้นั้นจักได้ครองเทวสมบัติตลอด ๑๔ กัป เรือนยอดของผู้นั้นใหญ่ มุงด้วยดอกปทุม [๓๖๙] เทวดาทั้งหลายทรงไว้ในอากาศ นี้เป็นผลแห่งบุพกรรม เขาจักเวียนว่ายตายเกิดสับสนใน ๑๑๔ กัป [๓๗๐] ในกัปที่ ๑๑๔ นั้น วิมานดอกไม้จักทรงอยู่ในอากาศ น้ำไม่ติดอยู่บนใบบัวฉันใด [๓๗๑] กิเลสทั้งหลายก็ไม่ติดอยู่ในญาณของผู้นี้ฉันนั้น ผู้นี้จักปลดเปลื้องนิวรณ์ ๕ ออกจากใจได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๖๓๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค]

๕. ปทุมกูฏาคาริกเถราปทาน

[๓๗๒] ให้ความคิดเกิดในเนกขัมมะแล้ว จักออกจากเรือนบวช ในครั้งนั้น วิมานดอกไม้ที่ยังทรงอยู่ก็จักออกไปด้วย [๓๗๓] เมื่อผู้นั้นมีปัญญารักษาตน มีสติ อยู่ที่โคนต้นไม้ วิมานดอกไม้จักทรงอยู่เหนือศีรษะของผู้นั้นที่โคนต้นไม้นั้น [๓๗๔] ผู้นั้นถวายจีวร บิณฑบาต คิลานปัจจัย ที่นอนและที่นั่งแก่ภิกษุสงฆ์แล้ว จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะแล้วนิพพาน [๓๗๕] เมื่อเรือนยอดลอยไป ข้าพเจ้าออกบวชแล้ว กรรมทรงเรือนยอดไว้เฉพาะข้าพเจ้าแม้อยู่ที่โคนต้นไม้ [๓๗๖] ข้าพเจ้าไม่มีความตั้งใจ(แสวงหา)จีวรและบิณฑบาต ข้าพเจ้าประกอบด้วยบุญกรรม จึงได้จีวรและบิณฑบาตที่สำเร็จแล้ว [๓๗๗] พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ผ่านพ้นข้าพเจ้าไปเปล่าๆ ตั้งหลายพระองค์ ตลอดโกฏิกัปจำนวนมาก โดยนับประมาณมิได้ [๓๗๘] ในกัปที่ ๑๑๘ (นับจากกัปนี้ไป) ข้าพเจ้าได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพระนามว่าปิยทัสสี ผู้ทรงเป็นผู้นำโดยวิเศษ จึงมาเกิดยังกำเนิดนี้ [๓๗๙] ข้าพเจ้าได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระนามว่าอโนมะ ผู้มีพระจักษุ ครั้นเข้าเฝ้าพระองค์แล้ว ก็ได้บวชเป็นบรรพชิต [๓๘๐] พระพุทธชินเจ้าผู้ทรงทำที่สุดทุกข์ได้ ทรงแสดงพระสัทธรรม ข้าพเจ้าได้ฟังธรรมของพระองค์แล้ว ได้บรรลุบทที่ไม่หวั่นไหว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๖๓๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค]

๕. ปทุมกูฏาคาริกเถราปทาน

[๓๘๑] ข้าพเจ้าให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมศากยะ ผู้ประเสริฐทรงพอพระทัย กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จึงอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ [๓๘๒] ในกัปที่ ๑๑๘ (นับจากกัปนี้ไป) ข้าพเจ้าได้บูชาพระพุทธเจ้าไว้ จึงไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า [๓๘๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว อาสวะทั้งปวงสิ้นไปแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก [๓๘๔] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า เป็นการมาดีแล้วโดยแท้ วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว [๓๘๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล ได้ทราบว่า ท่านพระปทุมกูฏาคาริกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปทุมกูฏาคาริกเถราปทานที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๖๓๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๒ หน้าที่ ๖๓๐-๖๓๔. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=32&siri=397              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=32&A=8559&Z=8612                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=397              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=32&item=397&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=32&item=397&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu32              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap397/en/walters



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :