ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
๗. อัฑฒกาสีเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอัฑฒกาสีเถรี
(พระอัฑฒกาสีเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า) [๑๖๘] ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพราหมณ์ พระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร มีพระยศยิ่งใหญ่ ทรงเป็นผู้ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว [๑๖๙] ครั้งนั้น หม่อมฉันบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น สำรวมในพระปาฏิโมกข์ และอินทรีย์ ๕ ๑- @เชิงอรรถ : @ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๒๐/๓๑๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๕๔๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค]

๗. อัฑฒกาสีเถริยาปทาน

[๑๗๐] หม่อมฉันรู้จักประมาณในอาสนะต่ำ ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เสมอ บำเพ็ญเพียรอยู่ [๑๗๑] ในกาลนั้น หม่อมฉันมีความคิดชั่ว ได้ด่าภิกษุณีผู้ปราศจากอาสวะรูปหนึ่งครั้งเดียวว่า ‘นางแพศยา’ ต้องหมกไหม้อยู่ในนรก เพราะบาปกรรมนั้นนั่นเอง [๑๗๒] เพราะเศษกรรมนั้นแล หม่อมฉันเกิดในตระกูลหญิงแพศยา อยู่อาศัยชายอื่นโดยมาก ในชาติสุดท้าย [๑๗๓] หม่อมฉันเกิดในตระกูลเศรษฐีในแคว้นกาสี มีความงาม ดุจนางเทพอัปสรในหมู่เทวดา ด้วยผลแห่งการประพฤติพรหมจรรย์ [๑๗๔] หมู่ชนเห็นหม่อมฉันมีรูปน่าชม จึงตั้งหม่อมฉันในฐานะเป็นหญิงคณิกา ในกรุงราชคฤห์ที่ประเสริฐสุด เพราะผลกรรมที่ด่าภิกษุณีนั้นของหม่อมฉัน [๑๗๕] หม่อมฉัน ได้ฟังพระสัทธรรมที่พระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐที่สุดตรัสแล้ว ผู้สมบูรณ์ด้วยบุพวาสนา(บาปบุญที่ได้อบรมมาในกาลก่อน) จึงได้บวชเป็นบรรพชิต [๑๗๖] แต่เมื่อเดินทางไปสู่สำนักของพระชินเจ้าเพื่อจะอุปสมบท พบพวกนักเลงดักอยู่ที่หนทาง จึงได้รับการอุปสมบทโดยทูต [๑๗๗] กรรมทั้งหมดสิ้นไปแล้ว บุญ และบาปก็สิ้นไปแล้วเหมือนกัน หม่อมฉันข้ามพ้นสังสารวัฏทั้งปวงได้แล้ว และความเป็นหญิงคณิกาหม่อมฉันก็ให้สิ้นไปแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๕๔๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค]

๘. ปุณณิกาเถริยาปทาน

[๑๗๘] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์ ในทิพพโสตธาตุ และในเจโตปริยญาณ [๑๗๙] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทิพยจักษุหม่อมฉันก็ชำระให้หมดจดแล้ว อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก [๑๘๐] ข้าแต่พระมหาวีระ อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ของหม่อมฉันที่มีอยู่ ล้วนเกิดขึ้นแล้วในสำนักของพระองค์ [๑๘๑] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ [๑๘๒] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด เป็นการมาดีแล้วโดยแท้ วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว [๑๘๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล ได้ทราบว่า พระอัฑฒกาสีภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อัฑฒกาสีเถริยาปทานที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๕๔๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๓ หน้าที่ ๕๔๒-๕๔๔. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=33&siri=188              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=33&A=6528&Z=6548                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=177              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=33&item=177&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=33&item=177&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu33              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/thi-ap37/en/walters



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :