ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค]

๑. กุสลากุสลปฏิสันทหนกถา (๑๓๖)

๑๔. จุททสมวรรค
๑. กุสลากุสลปฏิสันทหนกถา (๑๓๖)
ว่าด้วยความสืบต่อแห่งกุศลและอกุศล
[๖๘๖] สก. กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอกุศลนั้นก็เพื่อ ความเกิดขึ้นแห่งกุศลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอกุศลนั้นก็เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศล” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กุศลเกิดขึ้นแก่ผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ ไม่ตั้งใจอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กุศลเกิดขึ้นแก่ผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากกุศลเกิดขึ้นแก่ผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้” @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๘๖-๖๙๐/๒๗๓) @ เพราะมีความเห็นว่า กุศลและอกุศลสามารถเกิดขึ้นต่อเนื่องกันได้ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า @กุศลและอกุศลไม่สามารถเกิดขึ้นต่อเนื่องกันได้ จะต้องมีสภาวธรรมอื่นหรือกาลเวลามาคั่น จึงจะเกิดขึ้นได้ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๘๖-๖๙๐/๒๗๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๓๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค]

๑. กุสลากุสลปฏิสันทหนกถา (๑๓๖)

[๖๘๗] สก. กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อกุศลเกิดขึ้นแก่ผู้มนสิการอยู่โดยไม่แยบคายใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กุศลเกิดขึ้นแก่ผู้มนสิการอยู่โดยไม่แยบคายใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กุศลเกิดขึ้นแก่ผู้มนสิการอยู่โดยแยบคายมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากกุศลเกิดขึ้นแก่ผู้มนสิการอยู่โดยแยบคาย ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้” สก. กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เนกขัมมสัญญาเกิดขึ้นในลำดับแห่งกามสัญญา อัพยาปาทสัญญาเกิดขึ้น ในลำดับแห่งพยาปาทสัญญา อวิหิงสาสัญญาเกิดขึ้นในลำดับแห่งวิหิงสาสัญญา เมตตาเกิดขึ้นในลำดับแห่งพยาบาท กรุณาเกิดขึ้นในลำดับแห่งวิหิงสา มุทิตาเกิดขึ้น ในลำดับแห่งอรติ อุเบกขาเกิดขึ้นในลำดับแห่งปฏิฆะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๖๘๘] สก. อกุศลมูลสืบต่อกุศลมูลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศลนั้นก็เพื่อ ความเกิดขึ้นแห่งอกุศลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๓๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค]

๑. กุสลากุสลปฏิสันทหนกถา (๑๓๖)

สก. อกุศลมูลสืบต่อกุศลมูลได้ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศลนั้นก็เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอกุศล” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อกุศลเกิดขึ้นแก่ผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ ไม่ตั้งใจอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อกุศลเกิดขึ้นแก่ผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากอกุศลเกิดขึ้นแก่ผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “อกุศลมูลสืบต่อกุศลมูลได้” [๖๘๙] สก. อกุศลมูลสืบต่อกุศลมูลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กุศลเกิดขึ้นแก่ผู้มนสิการอยู่โดยแยบคายใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อกุศลเกิดขึ้นแก่ผู้มนสิการอยู่โดยแยบคายใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อกุศลเกิดขึ้นแก่ผู้มนสิการอยู่โดยไม่แยบคายมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากอกุศลเกิดขึ้นแก่ผู้มนสิการโดยไม่แยบคาย ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “อกุศลมูลสืบต่อกุศลมูลได้” สก. อกุศลมูลสืบต่อกุศลมูลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๓๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค]

๑. กุสลากุสลปฏิสันทหนกถา (๑๓๖)

สก. กามสัญญาเกิดขึ้นในลำดับแห่งเนกขัมมสัญญา พยาปาทสัญญาเกิดขึ้น ในลำดับแห่งอัพยาปาทสัญญา วิหิงสาสัญญาเกิดขึ้นในลำดับแห่งอวิหิงสาสัญญา พยาบาทเกิดขึ้นในลำดับแห่งเมตตา วิหิงสาเกิดขึ้นในลำดับแห่งกรุณา อรติเกิดขึ้น ในลำดับแห่งมุทิตา ปฏิฆะเกิดขึ้นในลำดับแห่งอุเบกขาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๖๙๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้ อกุศลมูลสืบต่อ กุศลมูลได้” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. จิตคลายกำหนัดในวัตถุที่ตนกำหนัด กำหนัดในวัตถุที่ตนคลายกำหนัด เท่านั้นมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากจิตคลายกำหนัดในวัตถุที่ตนกำหนัด กำหนัดในวัตถุที่ตนคลายกำหนัด ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้ อกุศลมูลก็สืบต่อกุศลมูลได้”
กุสลากุสลปฏิสันทหนกถา จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๓๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๗๓๓-๗๓๖. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=37&siri=154              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=37&A=15920&Z=15999                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1550              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1550&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=6148              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1550&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=6148                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv14.1/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :