ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค]

๕. ฐเปตวาอริยมัคคันติกถา (๑๗๐)

๕. ฐเปตวาอริยมัคคันติกถา (๑๗๐)
ว่าด้วยการยกเว้นอริยมรรค
[๗๘๙] สก. ยกเว้นอริยมรรค สังขารที่เหลือเป็นทุกข์ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. แม้ทุกขสมุทัยก็เป็นทุกข์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. แม้ทุกขสมุทัยก็เป็นทุกข์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อริยสัจมีเพียง ๓ อย่างเท่านั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อริยสัจมีเพียง ๓ อย่างเท่านั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อริยสัจ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ ๔ อย่าง คือ (๑) ทุกข์ (๒) ทุกขสมุทัย (๓) ทุกขนิโรธ (๔) ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทามิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากอริยสัจ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ ๔ อย่าง คือ (๑) ทุกข์ (๒) ทุกขสมุทัย (๓) ทุกขนิโรธ (๔) ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “อริยสัจมีเพียง ๓ อย่าง เท่านั้น” สก. แม้ทุกขสมุทัยก็เป็นทุกข์ใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเหตุกวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๘๙-๗๙๐/๒๙๓) @ เพราะมีความเห็นว่า เนื่องจากที่อริยมรรค ท่านเรียกว่าทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ฉะนั้น อริยมรรค จึง @ไม่ชื่อว่าเป็นทุกข์ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๘๙-๗๙๐/๒๙๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๒๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค]

๕. ฐเปตวาอริยมัคคันติกถา (๑๗๐)

สก. โดยความหมายว่าอย่างไร ปร. โดยความหมายว่าไม่เที่ยง สก. อริยมรรคไม่เที่ยงใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อริยมรรคเป็นทุกข์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั่น ฯลฯ สก. อริยมรรคไม่เที่ยง แต่อริยมรรคนั้นไม่เป็นทุกข์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ทุกขสมุทัยไม่เที่ยง แต่อริยมรรคนั้นไม่เป็นทุกข์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ทุกขสมุทัยไม่เที่ยง แต่อริยมรรคนั้นเป็นทุกข์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อริยมรรคไม่เที่ยง แต่อริยมรรคนั้นเป็นทุกข์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๙๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ยกเว้นอริยมรรค สังขารที่เหลือเป็นทุกข์” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. อริยมรรคเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทามิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากอริยมรรคเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ยกเว้นอริยมรรค สังขารที่เหลือเป็นทุกข์”
ฐเปตวาอริยมัคคันติกถา จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๒๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๘๒๔-๘๒๕. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=37&siri=188              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=37&A=17801&Z=17840                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1705              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1705&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=6606              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1705&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=6606                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv17.5/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :