ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๑๑. ทักขิณาวิสุทธิกถา (๑๗๖)
ว่าด้วยทักษิณาบริสุทธิ์
[๘๐๐] สก. ทานบริสุทธิ์ฝ่ายทายก(ผู้ให้)เท่านั้น แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก (ผู้รับ) ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. ปฏิคาหกบางพวกเป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลกมีอยู่ มิใช่หรือ ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๐๐-๘๐๑/๒๙๖-๒๙๗) @ เพราะมีความเห็นว่า ในการให้ทานนั้น ฝ่ายปฏิคาหก ไม่จำเป็นต้องบริสุทธิ์ เพียงทายกบริสุทธิ์ก็พอ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๐๐-๘๐๑/๒๙๖-๒๙๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๓๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค]

๑๑. ทักขิณาวิสุทธิกถา (๑๗๖)

สก. หากปฏิคาหกบางพวกเป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของ ต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของ โลกมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทานบริสุทธิ์ฝ่ายทายกเท่านั้น แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่าย ปฏิคาหก” สก. ทานบริสุทธิ์ฝ่ายทายกเท่านั้น แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นผู้ควร แก่ทักษิณามิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากอริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นผู้ ควรแก่ทักษิณา ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทานบริสุทธิ์ฝ่ายทายกเท่านั้น แต่ไม่ บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก” สก. ทานบริสุทธิ์ฝ่ายทายกเท่านั้น แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลบางพวกให้ทานแก่พระโสดาบันแล้วให้ทักษิณาบริบูรณ์มีอยู่มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากบุคคลบางพวกให้ทานแก่พระโสดาบันแล้วให้ทักษิณาบริบูรณ์มีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทานบริสุทธิ์ฝ่ายทายกเท่านั้น แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก” สก. บุคคลบางพวกให้ทานแด่พระสกทาคามี ฯลฯ พระอนาคามี ฯลฯ พระอรหันต์แล้วให้ทักษิณาบริบูรณ์มีอยู่มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากบุคคลบางพวกให้ทานแด่พระอรหันต์แล้วให้ทักษิณาบริบูรณ์มีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทานบริสุทธิ์ฝ่ายทายกเท่านั้น แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก” [๘๐๑] ปร. ทานบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกเท่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายทายกใช่ไหม สก. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๓๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค]

๑๑. ทักขิณาวิสุทธิกถา (๑๗๖)

ปร. บุคคลอื่นทำให้แก่คนหนึ่ง สุขทุกข์มีผู้อื่นเป็นตัวการ บุคคลคนละคนกัน ทั้งทำและเสวยผลใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ทานบริสุทธิ์ฝ่ายทายกเท่านั้น แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “อานนท์ ความบริสุทธิ์แห่ง ทักษิณา ๔ ประการนี้ ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ๒. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก ๓. ทักษิณาที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก ๔. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร คือ ทายกในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม แต่ปฏิคาหกเป็นผู้ทุศีล มีธรรม เลวทราม ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างนี้ ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก เป็นอย่างไร คือ ทายกในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม แต่ปฏิคาหกเป็นผู้มีศีล มี กัลยาณธรรม ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก เป็นอย่างนี้ ทักษิณาที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร คือ ทายกในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม และปฏิคาหกก็เป็นผู้ทุศีล มี ธรรมเลวทราม ทักษิณาที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๓๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค]

รวมกถาที่มีในวรรค

ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร คือ ทายกในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม และปฏิคาหกก็เป็นผู้มีศีล มี กัลยาณธรรม ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างนี้ อานนท์ ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา ๔ ประการนี้”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ทานบริสุทธิ์ฝ่ายทายกเท่านั้น แต่ไม่ บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก”
ทักขิณาวิสุทธิกถา จบ
สัตตรสมวรรค จบ
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อัตถิอรหโตปุญญูปจโยติกถา ๒. นัตถิอรหโตอกาลมัจจูติกถา ๓. สัพพมิทังกัมมโตติกถา ๔. อินทริยพัทธกถา ๕. ฐเปตวาอริยมัคคันติกถา ๖. นวัตตัพพังสังโฆทักขิณังปฏิคคัณหาตีติกถา ๗. นวัตตัพพังสังโฆทักขิณังวิโสเธตีติกถา ๘. นวัตตัพพังสังโฆภุญชตีติกถา ๙. นวัตตัพพังสังฆัสสทินนังมหัปผลันติกถา ๑๐. นวัตตัพพังพุทธัสสทินนังมหัปผลันติกถา ๑๑. ทักขิณาวิสุทธิกถา @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) ๑๔/๓๘๑/๔๓๐-๔๓๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๓๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๘๓๕-๘๓๘. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=37&siri=194              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=37&A=18027&Z=18089                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1729              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1729&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=6681              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1729&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=6681                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv17.11/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :