ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๙. อาเสวนปัจจยตากถา (๒๑๖)
ว่าด้วยความเป็นอาเสวนปัจจัย
[๙๐๓] สก. ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างไม่มีใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์) ที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมอำนวยผลให้ไปเกิดในนรก อำนวยผลให้เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อำนวยผลให้ไปเกิดในภูมิแห่งเปรต วิบาก แห่งปาณาติบาตอย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้เป็นผู้มีอายุสั้นแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์”๓- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๐๓-๙๐๕/๓๒๒) @ เพราะมีความเห็นว่า สภาวธรรมทุกอย่างตั้งอยู่ชั่วขณะเดียว แม้มีสภาวธรรมบางอย่างตั้งอยู่ชั่วมุหุตตะเดียว @ก็เป็นอาเสวนปัจจัยไม่ได้ ฉะนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างจึงไม่มี ธรรมบางอย่างที่เกิดเพราะ @อาเสวนปัจจัยไม่มีด้วย ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ธรรมที่ตั้งอยู่ครู่เดียวเป็นอาเสวนปัจจัยได้ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๐๓-๙๐๕/๓๒๒) ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๗๒๒ หน้า ๗๗๐ ในเล่มนี้ @ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๔๐/๓๐๑-๓๐๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๙๓๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค]

๙. อาเสวนปัจจยตากถา (๒๑๖)

สก. ดังนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างจึงมีอยู่ สก. ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย อทินนาทาน (การลักทรัพย์) ที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมอำนวยผลให้ไปเกิดในนรก อำนวยผลให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อำนวยผลให้ไปเกิดในภูมิแห่งเปรต วิบากแห่งอทินนาทานอย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้เป็นผู้เสื่อมโภคทรัพย์แก่ ผู้เกิดเป็นมนุษย์ ฯลฯ วิบากแห่งกาเมสุมิจฉาจาร (การประพฤติผิดในกาม) อย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้เป็นผู้มีศัตรูและเป็นผู้มีเวรแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์ ฯลฯ วิบากแห่งมุสาวาท (การพูดเท็จ) อย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้ถูกกล่าวตู่ด้วย คำไม่จริงแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์ ฯลฯ วิบากแห่งปิสุณาวาจา (การพูดส่อเสียด) อย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้แตกจากมิตรแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์ ฯลฯ วิบาก แห่งผรุสวาจา (การพูดหยาบคาย) อย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้ได้ฟังเรื่องที่ ไม่น่าฟังแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์ ฯลฯ วิบากแห่งสัมผัปปลาปะ (การพูดเพ้อเจ้อ) อย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้มีวาจาที่ไม่น่าเชื่อถือแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์ ฯลฯ การดื่มสุราเมรัยที่บุคคลเสพ ฯลฯ วิบากแห่งการดื่มสุราเมรัยอย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้เป็นผู้วิกลจริตแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างจึงมีอยู่ [๙๐๔] สก. ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย มิจฉาทิฏฐิที่บุคคล เสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมอำนวยผลให้ไปเกิดในนรก อำนวยผลให้ไปเกิด ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อำนวยผลให้ไปเกิดในภูมิแห่งเปรต” มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๔๐/๓๐๑-๓๐๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๙๓๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค]

๙. อาเสวนปัจจยตากถา (๒๑๖)

สก. ดังนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างจึงมีอยู่ สก. ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย มิจฉาสังกัปปะ ฯลฯ มิจฉาสมาธิ ที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ฯลฯ ย่อมอำนวยผลให้ ไปเกิดในภูมิแห่งเปรต” มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างจึงมีอยู่ [๙๐๕] สก. ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นจุดมุ่งหมาย มีอมตะเป็นที่สุด” มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างจึงมีอยู่ สก. ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสังกัปปะที่ บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ฯลฯ สัมมาสมาธิที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้ มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นจุดมุ่งหมาย มีอมตะเป็นที่สุด” มีอยู่ จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างจึงมีอยู่
อาเสวนปัจจยตากถา จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๙๓๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๙๓๑-๙๓๓. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=37&siri=232              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=37&A=19961&Z=20028                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1872              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1872&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=7248              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1872&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=7248                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv22.7/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :