ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๗. จิตตารัมมณกถา (๔๙)
ว่าด้วยญาณมีจิตเป็นอารมณ์
[๔๓๖] สก. เจโตปริยญาณมีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์ ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. บางคนรู้ชัดจิตที่มีราคะว่า จิตมีราคะ มีอยู่มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากบางคนรู้ชัดจิตที่มีราคะว่า จิตมีราคะ มีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เจโตปริยญาณมีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์” สก. บางคนรู้ชัดจิตที่ปราศจากราคะว่า จิตปราศจากราคะ ฯลฯ จิตมีโทสะ ฯลฯ จิตปราศจากโทสะ ฯลฯ จิตมีโมหะ ฯลฯ จิตปราศจากโมหะ ฯลฯ จิตหดหู่ ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๓๖/๒๑๓) @ เพราะซึ่งมีความเห็นว่า เจโตปริยญาณรู้ได้เฉพาะจิต แต่ไม่รู้เจตสิก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๓๖/๒๑๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๖๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค]

๗. จิตตารัมมณกถา (๔๙)

จิตฟุ้งซ่าน ฯลฯ จิตเป็นมหัคคตะ ฯลฯ จิตไม่เป็นมหัคคตะ ฯลฯ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ฯลฯ จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ฯลฯ จิตเป็นสมาธิ ฯลฯ จิตไม่เป็นสมาธิ ฯลฯ จิตหลุดพ้น ฯลฯ จิตไม่หลุดพ้นว่า “จิตไม่หลุดพ้น” มีอยู่มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากบางคนรู้ชัดจิตที่ไม่หลุดพ้นว่า “จิตไม่หลุดพ้น” มีอยู่ ท่านก็ไม่ควร ยอมรับว่า “เจโตปริยญาณมีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์” [๔๓๗] สก. ญาณที่มีผัสสะเป็นอารมณ์ ควรเรียกว่า “เจโตปริยญาณ” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากญาณที่มีผัสสะเป็นอารมณ์ ควรเรียกว่า “เจโตปริยญาณ” ท่านก็ ไม่ควรยอมรับว่า “เจโตปริยญาณมีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์” สก. ญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีสัญญาเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีเจตนา เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีจิตเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีสัทธาเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีวิริยะเป็น อารมณ์ ฯลฯ มีสติเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีสมาธิเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีปัญญา เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีราคะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโทสะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโมหะ เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอโนตตัปปะเป็นอารมณ์ ควรเรียกว่า “เจโตปริยญาณ” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากญาณมีอโนตตัปปะเป็นอารมณ์ ควรเรียกว่า “เจโตปริยญาณ” ท่าน ก็ไม่ควรยอมรับว่า “เจโตปริยญาณมีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์” สก. ญาณที่มีผัสสะเป็นอารมณ์ ไม่ควรเรียกว่า “เจโตปริยญาณ” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ญาณนั้นเป็นผัสสปริยญาณใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ญาณมีเวทนาเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีสัญญาเป็นอารมณ์ ฯลฯ มี อโนตตัปปะเป็นอารมณ์ ไม่ควรเรียกว่า “เจโตปริยญาณ” ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๖๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค]

๘. อนาคตญาณกถา (๕๐)

สก. ญาณนั้นเป็นอโนตตัปปปริยญาณใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๔๓๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “เจโตปริยญาณมีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. เป็นเจโตปริยญาณมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากเป็นเจโตปริยญาณ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “เจโตปริยญาณ มีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์”
จิตตารัมมณกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๔๖๕-๔๖๗. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=37&siri=69              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=37&A=10206&Z=10262                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1065              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1065&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4783              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1065&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4783                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv5.7/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :