ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค]

๑. สังคหิตกถา (๖๓)

๗. สัตตมวรรค
๑. สังคหิตกถา (๖๓)
ว่าด้วยสภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าได้
[๔๗๑] สก. สภาวธรรมบางเหล่าที่สงเคราะห์เข้าได้๑- กับสภาวธรรมบางเหล่า ไม่มีใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. สภาวธรรมบางเหล่าที่สงเคราะห์เข้าได้ จัดเข้าหัวข้อได้ นับเนื่องกับ สภาวธรรมบางเหล่ามีอยู่มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากสภาวธรรมบางเหล่าที่สงเคราะห์เข้าได้ จัดเข้าหัวข้อได้ นับเนื่อง กับสภาวธรรมบางเหล่ามีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมบางเหล่าที่ สงเคราะห์เข้าได้กับสภาวธรรมบางเหล่าไม่มี” สก. จักขายตนะสงเคราะห์เข้าในขันธ์ไหน ปร. สงเคราะห์เข้าในรูปขันธ์ สก. หากจักขายตนะสงเคราะห์เข้าในรูปขันธ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “จักขายตนะสงเคราะห์เข้าได้กับรูปขันธ์” @เชิงอรรถ : @ สงเคราะห์เข้าได้ โดยทั่วไปเห็นว่า มีสภาวธรรมบางเหล่าที่สงเคราะห์เข้าได้และมีบางเหล่าที่สงเคราะห์เข้า @ไม่ได้ ดูรายละเอียดในธาตุกถา (แปล) ๓๖/๑/๑ @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะและนิกายสิทธัตถิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๗๑/๒๒๑) @ เพราะมีความเห็นว่า คำว่า สงเคราะห์ หมายถึงการรวมสภาวธรรมอย่างหนึ่งเข้ากับสภาวธรรมอีกอย่าง @หนึ่งให้เป็นอย่างเดียวกันตามรูปศัพท์จึงถือว่าทำไม่ได้ เพราะสภาวธรรมแต่ละอย่างมีลักษณะเป็นของ @ตนเองที่ไม่อาจจะเหมือนหรือเข้ากันได้กับสภาวธรรมอื่น เช่นเดียวกับการจับวัว ๒ ตัวมาร้อยเข้าด้วยกัน @ก็ไม่ชื่อว่าเป็นการสงเคราะห์เข้าด้วยกัน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๗๑/๒๒๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๐๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค]

๑. สังคหิตกถา (๖๓)

สก. โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ ฯลฯ กายายตนะ สงเคราะห์เข้าในขันธ์ไหน ปร. สงเคราะห์เข้าในรูปขันธ์ สก. หากกายายตนะสงเคราะห์เข้าในรูปขันธ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “กายายตนะสงเคราะห์เข้ากับรูปขันธ์” สก. รูปายตนะ ฯลฯ สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะสงเคราะห์เข้าในขันธ์ไหน ปร. สงเคราะห์เข้าในรูปขันธ์ สก. หากโผฏฐัพพายตนะสงเคราะห์เข้าในรูปขันธ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอม รับว่า “โผฏฐัพพายตนะสงเคราะห์เข้าได้กับรูปขันธ์” สก. สุขเวทนาสงเคราะห์เข้าในขันธ์ไหน ปร. สงเคราะห์เข้าในเวทนาขันธ์ สก. หากสุขเวทนาสงเคราะห์เข้าในเวทนาขันธ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สุขเวทนาสงเคราะห์เข้าได้กับเวทนาขันธ์” สก. ทุกขเวทนา ฯลฯ อทุกขมสุขเวทนาสงเคราะห์เข้าในขันธ์ไหน ปร. สงเคราะห์เข้าในเวทนาขันธ์ สก. หากอทุกขมสุขเวทนาสงเคราะห์เข้าในเวทนาขันธ์ ดังนั้น ท่านจึงควร ยอมรับว่า “อทุกขมสุขเวทนาสงเคราะห์เข้าได้กับเวทนาขันธ์” สก. สัญญาที่เกิดจากจักขุสัมผัส สงเคราะห์เข้าในขันธ์ไหน ปร. สงเคราะห์เข้าในสัญญาขันธ์ สก. หากสัญญาที่เกิดจากจักขุสัมผัสสงเคราะห์เข้าในสัญญาขันธ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สัญญาที่เกิดจากจักขุสัมผัสสงเคราะห์เข้าได้กับสัญญาขันธ์” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๐๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค]

๑. สังคหิตกถา (๖๓)

สก. สัญญาที่เกิดจากโสตสัมผัส ฯลฯ สัญญาที่เกิดจากมโนสัมผัสสงเคราะห์ เข้าในขันธ์ไหน ปร. สงเคราะห์เข้าในสัญญาขันธ์ สก. หากสัญญาที่เกิดจากมโนสัมผัสสงเคราะห์เข้าในสัญญาขันธ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สัญญาที่เกิดจากมโนสัมผัสสงเคราะห์เข้าได้กับสัญญาขันธ์” สก. เจตนาที่เกิดจากจักขุสัมผัส ฯลฯ เจตนาที่เกิดจากมโนสัมผัสสงเคราะห์ เข้าในขันธ์ไหน ปร. สงเคราะห์เข้าในสังขารขันธ์ สก. หากเจตนาที่เกิดจากมโนสัมผัสสงเคราะห์เข้าในสังขารขันธ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “เจตนาที่เกิดจากมโนสัมผัสสงเคราะห์เข้าได้กับสังขารขันธ์” สก. จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ สงเคราะห์เข้าในขันธ์ไหน ปร. สงเคราะห์เข้าในวิญญาณขันธ์ สก. หากมโนวิญญาณสงเคราะห์เข้าในวิญญาณขันธ์ ดังนั้น ท่านจึงควร ยอมรับว่า “มโนวิญญาณสงเคราะห์เข้าได้กับวิญญาณขันธ์” [๔๗๒] ปร. สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับสภาวธรรมเหล่านั้นเหมือน อย่างคู่โคพลิพัทเขาร้อยไว้ด้วยสายทามหรือเชือก เหมือนบิณฑบาตเขาแขวนไว้ ด้วยสาแหรก หรือเหมือนสุนัขเขาผูกไว้ด้วยเชือกผูกสุนัข สก. หากคู่โคพลิพัทเขาร้อยไว้ด้วยสายทามหรือเชือก บิณฑบาตแขวนไว้ ด้วยสาแหรก หรือสุนัขเขาผูกไว้ด้วยเชือกผูกสุนัข ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สภาวธรรมบางเหล่าสงเคราะห์เข้าได้กับสภาวธรรมบางเหล่ามีอยู่”
สังคหิตกถา จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๐๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๕๐๑-๕๐๓. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=37&siri=83              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=37&A=10988&Z=11050                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1127              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1127&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4980              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1127&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4980                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv7.1/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :