ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๓

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๔๔. นีวรณทุกะ ๑. ปฏิจจวาร

๘. นีวรณโคจฉกะ
๔๔. นีวรณทุกะ ๑. ปฏิจจวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๑] สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์อาศัยสภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์ และอวิชชานิวรณ์อาศัยกามฉันทนิวรณ์ เกิดขึ้น อุทธัจจนิวรณ์และอวิชชานิวรณ์อาศัยกามฉันทนิวรณ์เกิดขึ้น ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์ และอวิชชานิวรณ์อาศัยพยาบาทนิวรณ์เกิดขึ้น อุทธัจจนิวรณ์ และ อวิชชานิวรณ์อาศัยพยาบาทนิวรณ์เกิดขึ้น ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์ กุกกุจจ- นิวรณ์ และอวิชชานิวรณ์อาศัยพยาบาทนิวรณ์เกิดขึ้น อุทธัจจนิวรณ์ กุกกุจจนิวรณ์ และอวิชชานิวรณ์อาศัยพยาบาทนิวรณ์เกิดขึ้น อุทธัจจนิวรณ์อาศัยวิจิกิจฉานิวรณ์ เกิดขึ้น อวิชชานิวรณ์อาศัยอุทธัจจนิวรณ์เกิดขึ้น (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์อาศัยสภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยนิวรณ์เกิดขึ้น (๒) สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และที่ไม่เป็นนิวรณ์อาศัยสภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์ อวิชชานิวรณ์ สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยกามฉันทนิวรณ์เกิดขึ้น (พึงผูกเป็นจักกนัย) (๓) [๒] สภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์อาศัยสภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์เกิดขึ้นเพราะ เหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่ไม่เป็นนิวรณ์ เกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์อาศัยสภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ นิวรณ์อาศัยขันธ์ที่ไม่เป็นนิวรณ์เกิดขึ้น (๒) สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และที่ไม่เป็นนิวรณ์อาศัยสภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ นิวรณ์และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่ไม่ เป็นนิวรณ์เกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๓๙๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๔๔. นีวรณทุกะ ๑. ปฏิจจวาร

[๓] สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์อาศัยสภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และที่ไม่เป็นนิวรณ์ เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์ และอวิชชานิวรณ์ อาศัยกามฉันทนิวรณ์และสัมปยุตตขันธ์เกิดขึ้น (พึงผูกเป็นจักกนัย) (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์อาศัยสภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และที่ไม่เป็นนิวรณ์เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่ไม่เป็น นิวรณ์และอาศัยนิวรณ์เกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัย นิวรณ์และอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๒) สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และที่ไม่เป็นนิวรณ์อาศัยสภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และที่ไม่ เป็นนิวรณ์เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์ และอวิชชานิวรณ์อาศัยขันธ์ ๑ ที่ไม่เป็นนิวรณ์และอาศัยกามฉันทนิวรณ์เกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ (พึงผูกเป็นจักกนัย ย่อ) (๓)
๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร
สุทธนัย
[๔] เหตุปัจจัย มี ๙ วาระ อารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ อธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ อนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ สมนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ (ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๙ วาระ) วิปากปัจจัย มี ๑ วาระ อาหารปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ อวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ
อนุโลม จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๓๙๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๔๔. นีวรณทุกะ ๑. ปฏิจจวาร

๒. ปัจจยปัจจนียะ ๑. วิภังควาร
นเหตุปัจจัย
[๕] สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์อาศัยสภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์เกิดขึ้นเพราะ นเหตุปัจจัย ได้แก่ อวิชชานิวรณ์อาศัยวิจิกิจฉานิวรณ์เกิดขึ้น อวิชชานิวรณ์อาศัย อุทธัจจนิวรณ์เกิดขึ้น (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์อาศัยสภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์เกิดขึ้นเพราะนเหตุ- ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่ไม่มีเหตุซึ่งไม่เป็นนิวรณ์ เกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะที่เป็นอเหตุกะ ฯลฯ (พึงเพิ่ม ข้อความจนถึงอสัญญสัตตพรหม) (๑) สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์อาศัยสภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์เกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ อวิชชานิวรณ์อาศัยขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ เกิดขึ้น (๒) [๖] สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์อาศัยสภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และที่ไม่เป็นนิวรณ์ เกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ อวิชชานิวรณ์อาศัยวิจิกิจฉานิวรณ์และสัมปยุตต- ขันธ์เกิดขึ้น อวิชชานิวรณ์อาศัยอุทธัจจนิวรณ์และสัมปยุตตขันธ์เกิดขึ้น (๑)
นอารัมมณปัจจัยเป็นต้น
[๗] สภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์อาศัยสภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์เกิดขึ้นเพราะ นอารัมมณปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยนิวรณ์เกิดขึ้น (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์อาศัยสภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์เกิดขึ้นเพราะ นอารัมมณปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่ไม่เป็นนิวรณ์เกิดขึ้น ใน ปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (พึงเพิ่มข้อความจนถึงอสัญญสัตตพรหม) (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์อาศัยสภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และที่ไม่เป็นนิวรณ์เกิดขึ้น เพราะนอารัมมณปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยนิวรณ์และสัมปยุตตขันธ์ เกิดขึ้น (ย่อ) เพราะนอธิปติปัจจัย เพราะนอนันตรปัจจัย เพราะนสมนันตรปัจจัย เพราะนอัญญมัญญปัจจัย เพราะนอุปนิสสยปัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๓๙๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๔๔. นีวรณทุกะ ๑. ปฏิจจวาร

นปุเรชาตปัจจัย
[๘] สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์อาศัยสภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์เกิดขึ้นเพราะ นปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์ และ อวิชชานิวรณ์อาศัยกามฉันทนิวรณ์เกิดขึ้น ในอรูปาวจรภูมิ อุทธัจจนิวรณ์ และ อวิชชานิวรณ์ อาศัยกามฉันทนิวรณ์เกิดขึ้น ในอรูปาวจรภูมิ อุทธัจจนิวรณ์ และ อวิชชานิวรณ์อาศัยวิจิกิจฉานิวรณ์เกิดขึ้น ในอรูปาวจรภูมิ อวิชชานิวรณ์อาศัย อุทธัจจนิวรณ์เกิดขึ้น (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์อาศัยสภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์เกิดขึ้นเพระนปุเรชาต- ปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ สัมปยุตตขันธ์อาศัยนิวรณ์เกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยนิวรณ์เกิดขึ้น (พึงขยายวาระที่เหลือแม้ทั้งหมดให้พิสดาร พึงจัดอรูปไว้ก่อน จัดรูปไว้ตามที่จะมีได้ในภายหลัง) [๙] สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์อาศัยสภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และที่ไม่เป็น นิวรณ์เกิดขึ้นเพราะนปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ถีนมิทธนิวรณ์ และ อุทธัจจนิวรณ์อาศัยขันธ์ที่ไม่เป็นนิวรณ์และอาศัยกามฉันทนิวรณ์เกิดขึ้น (พึงผูกเป็น จักกนัย) (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์อาศัยสภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และที่ไม่เป็นนิวรณ์ เกิดขึ้นเพราะนปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่ ไม่เป็นนิวรณ์และอาศัยนิวรณ์เกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยนิวรณ์และสัมปยุตตขันธ์เกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยนิวรณ์และมหาภูตรูป เกิดขึ้น (๒) สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และที่ไม่เป็นนิวรณ์อาศัยสภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์ และที่ไม่เป็นนิวรณ์เกิดขึ้นเพราะนปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ ๓ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์และอวิชชานิวรณ์อาศัยขันธ์ ๑ ที่ไม่เป็นนิวรณ์และ อาศัยกามฉันทนิวรณ์เกิดขึ้น (พึงผูกเป็นจักกนัย ย่อ) (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๓๙๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๔๔. นีวรณทุกะ ๑. ปฏิจจวาร

๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร
สุทธนัย
[๑๐] นเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ นอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ นอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ นอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ นสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ นอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ นอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ นปุเรชาตปัจจัย มี ๙ วาระ นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ นอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ นกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ นวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ นอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ นอินทรียปัจจัย มี ๑ วาระ นฌานปัจจัย มี ๑ วาระ นมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ นสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ นวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ โนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ โนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ
๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ
[๑๑] นอารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ นอธิปติปัจจัย ” มี ๙ วาระ (ย่อ) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๓๙๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๔๔. นีวรณทุกะ ๓. ปัจจยวาร

๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม
[๑๒] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ ฯลฯ มัคคปัจจัย ” มี ๓ วาระ ฯลฯ อวิคตปัจจัย ” มี ๔ วาระ
(พึงขยายสหชาตวารให้พิสดารอย่างนี้)


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔๒ หน้าที่ ๓๙๐-๓๙๕. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=42&siri=77              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=42&A=10733&Z=10873                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=42&i=576              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=42&item=576&items=8              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=42&item=576&items=8                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu42



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :