ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๒
เรื่องภิกษุอาพาธเป็นฝี
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นฝี ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการผ่าตัด”
เรื่องน้ำฝาด
ภิกษุนั้นต้องการน้ำฝาด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำฝาด” @เชิงอรรถ : @ กอก คือการดูดเลือด หนอง หรือลมออกจากร่างกาย หรือดูดเอาน้ำนม ออกจากเต้านม โดยใช้ถ้วย @กระบอก ฯลฯ เป็นเครื่องดูด วิธีดูดให้กดปากถ้วย หรือกระบอกแนบครอบลงบนแผล หนองแล้วยกขึ้น @ทำบ่อยๆ จนดูดเลือดที่เสีย หรือหนองออกหมด ในที่นี้ใช้เขาสัตว์กอก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๕๘}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๖๑. มูลาทิเภสัชชกถา

เรื่องงาบด
ภิกษุนั้นต้องการงาบด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตงาบด”
เรื่องยาพอก
ภิกษุนั้นต้องการยาพอก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยาพอก”
เรื่องผ้าพันแผล
ภิกษุนั้นต้องการผ้าพันแผล ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าพันแผล”
เรื่องชะแผลด้วยน้ำแป้งเมล็ดผักกาด
แผลคัน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ชะด้วยน้ำแป้งเมล็ด ผักกาด”
เรื่องรมแผลด้วยควัน
แผลชื้น ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รมควัน” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๕๙}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๖๑. มูลาทิเภสัชชกถา

เรื่องใช้ก้อนเกลือตัดเนื้องอก
เนื้องอกยื่นออกมา ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตัดด้วยก้อนเกลือ”
เรื่องน้ำมันทาแผล
แผลไม่งอก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำมันทาแผล”
เรื่องผ้าปิดกันน้ำมันไหลเยิ้ม
น้ำมันไหลเยิ้ม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าเก่าสำหรับซับน้ำมัน รักษาแผลทุกชนิด”
เรื่องยามหาวิกัฏ ๔ อย่าง
[๒๖๘] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ยามหาวิกัฏ ๔ อย่าง คือ คูถ มูตร เถ้า ดิน”
เรื่องรับประเคน
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “ยามหาวิกัฏไม่ต้องรับประเคน หรือต้องรับประเคน” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับประเคนเมื่อมี กัปปิยการก ถ้าไม่มีกัปปิยการก ให้หยิบเองได้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๖๐}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๖๑. มูลาทิเภสัชชกถา

เรื่องน้ำดื่มเจือคูถ
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งดื่มยาพิษเข้าไป ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มน้ำเจือคูถ” สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “คูถไม่ต้องรับประเคน หรือจะ ต้องรับประเคน” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตคูถที่ภิกษุหยิบไว้ขณะ กำลังถ่ายนั่นแหละเป็นอันประเคนแล้ว จึงไม่ต้องรับประเคนอีก”
เรื่องภิกษุโดนยาแฝดดื่มน้ำที่ละลายจากดินติดผาลไถ
[๒๖๙] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธโดนยาแฝด๑- ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มน้ำที่เขาละลายดิน รอยไถติดผาล”
เรื่องดื่มน้ำด่างดิบ
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคท้องผูก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มน้ำด่างดิบ” @เชิงอรรถ : @ อาพาธโดนยาแฝด แปลมาจากบาลีว่า “ฆรทินฺนาพาโธ” หมายถึงโรคที่เกิดขึ้นเพราะน้ำหรือยาที่หญิง @แม่เรือนให้ ซึ่งดื่มกินเข้าไปแล้วจะตกอยู่ในอำนาจของหญิงนั้น (วิ.อ. ๓/๒๖๙/๑๗๕, @สารตฺถ. ฏีกา ๓/๒๖๙/๓๖๗, วิมติ.ฏีกา ๒/๒๖๙/๒๔๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๖๑}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๖๑. มูลาทิเภสัชชกถา

เรื่องดื่มน้ำสมอดองมูตรโค
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคผอมเหลือง๑- ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มยาผลสมอดอง น้ำมูตร”๒-
เรื่องไล้ทาของหอม
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคผิวหนัง ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลูบไล้ด้วยของหอม”
เรื่องดื่มยาถ่าย
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธมีผดผื่นขึ้นตามตัว ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มยาถ่าย”
เรื่องน้ำข้าวใส
ภิกษุนั้นต้องการน้ำข้าวใส ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำข้าวใส” @เชิงอรรถ : @ โรคผอมเหลือง คือ โรคดีซ่าน @ ดองด้วยมูตรโค (วิ.อ. ๓/๒๖๙/๑๗๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๖๒}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๖๒. ปิลินทวัจฉวัตถุ

เรื่องน้ำต้มถั่วเขียวไม่ข้น
ภิกษุนั้นต้องการน้ำต้มถั่วเขียวไม่ข้น ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำต้มถั่วเขียวไม่ข้น”
เรื่องน้ำต้มถั่วเขียวข้น
ภิกษุนั้นต้องการน้ำต้มถั่วเขียวข้นเล็กน้อย ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบ ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำต้มถั่วเขียวข้นเล็กน้อย”
เรื่องน้ำต้มเนื้อ
ภิกษุนั้นต้องการน้ำต้มเนื้อ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำต้มเนื้อ”


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๕๘-๖๓. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=5&siri=10              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=5&A=987&Z=1043                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=42              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=42&items=3              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=42&items=3                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd6/en/brahmali#pli-tv-kd6:14.4.13 https://suttacentral.net/pli-tv-kd6/en/horner-brahmali#Kd.6.14.4



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :