ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๑
อากังขมานจุททสกะ
ว่าด้วยสงฆ์มุ่งหวังจะลงปัพพาชนียกรรม ๑๔ หมวด
หมวดที่ ๑
[๒๗] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบ ด้วยองค์ ๓ คือ ๑. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ ๓. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์ ๓ เหล่านี้แล (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๕๔}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๓. ปัพพาชนียกรรม

หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ ๑. มีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร ๓. มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์ ๓ เหล่านี้แล (๒)
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ ๑. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. กล่าวติเตียนพระธรรม ๓. กล่าวติเตียนพระสงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์ ๓ เหล่านี้แล (๓)
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ ๑. เล่นคะนองกาย ๒. เล่นคะนองวาจา ๓. เล่นคะนองทั้งกายและวาจา ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์ ๓ เหล่านี้แล (๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๕๕}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๓. ปัพพาชนียกรรม

หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ ๑. ประพฤติไม่สมควรทางกาย ๒. ประพฤติไม่สมควรทางวาจา ๓. ประพฤติไม่สมควรทั้งทางกายและวาจา ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์ ๓ เหล่านี้แล (๕)
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ ๑. ทำลายพระบัญญัตติทางกาย๑- ๒. ทำลายพระบัญญัติทางวาจา ๓. ทำลายพระบัญญัติทั้งทางกายและวาจา ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์ ๓ เหล่านี้แล (๖)
หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ @เชิงอรรถ : @ ทำลายพระบัญญัติทางกาย คือทำลายด้วยการไม่ศึกษาสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัตติเกี่ยวกับ @ข้อปฏิบัติทางกาย (วิ.อ. ๓/๒๗/๒๕๓, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๓๒๓/๕๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๕๖}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๓. ปัพพาชนียกรรม

๑. ประกอบมิจฉาชีพทางกาย ๒. ประกอบมิจฉาชีพทางวาจา๑- ๓. ประกอบมิจฉาชีพทั้งทางกายและวาจา ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์ ๓ เหล่านี้แล (๗)
หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป คือ ๑. รูปหนึ่งก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อ ความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๒. รูปหนึ่งโง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ ๓. รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้แล (๘)
หมวดที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป คือ ๑. รูปหนึ่งมีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. รูปหนึ่งมีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร ๓. รูปหนึ่งมีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้แล (๙) @เชิงอรรถ : @ มิจฉาชีพทางกาย คือ การหุงน้ำมันและต้มยาอริฏฐะเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งเวชกรรมที่ทรงห้ามเป็นต้น @มิจฉาชีพทางวาจา คือ การรับและการบอกข่าวแก่พวกคฤหัสถ์ (วิ.อ. ๓/๒๗/๒๕๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๕๗}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๓. ปัพพาชนียกรรม

หมวดที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป คือ ๑. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม ๓. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้แล (๑๐)
หมวดที่ ๑๑
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป คือ ๑. รูปหนึ่งเล่นคะนองกาย ๒. รูปหนึ่งเล่นคะนองวาจา ๓. รูปหนึ่งเล่นคะนองทั้งกายและวาจา ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้แล (๑๑)
หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป คือ ๑. รูปหนึ่งประพฤติไม่สมควรทางกาย ๒. รูปหนึ่งประพฤติไม่สมควรทางวาจา ๓. รูปหนึ่งประพฤติไม่สมควรทั้งทางกายและวาจา ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้แล (๑๒)
หมวดที่ ๑๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๕๘}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๓. ปัพพาชนียกรรม

๑. รูปหนึ่งทำลายพระบัญญัติทางกาย ๒. รูปหนึ่งทำลายพระบัญญัติทางวาจา ๓. รูปหนึ่งทำลายพระบัญญัติทั้งทางกายและวาจา ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้แล (๑๓)
หมวดที่ ๑๔
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป คือ ๑. รูปหนึ่งประกอบมิจฉาชีพทางกาย ๒. รูปหนึ่งประกอบมิจฉาชีพทางวาจา ๓. รูปหนึ่งประกอบมิจฉาชีพทั้งทางกายและวาจา ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้แล (๑๔)
อากังขมานจุททสกะ จบ
อัฏฐารสวัตตะ
ว่าด้วยวัตร ๑๘ ข้อในปัพพาชนียกรรม
[๒๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมพึงประพฤติชอบ การ ประพฤติชอบในเรื่องนั้น ดังนี้ ๑. ไม่พึงให้อุปสมบท ๒. ไม่พึงให้นิสัย ๓. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่พึงรับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี ๖. ไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมอีก ๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน ๘. ไม่พึงต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๕๙}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๓. ปัพพาชนียกรรม

๙. ไม่พึงตำหนิกรรม ๑๐. ไม่พึงตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม ๑๑. ไม่พึงงดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๑๒. ไม่พึงงดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ ๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน ๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๑๕. ไม่พึงขอโอกาสภิกษุอื่น ๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น ๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ ๑๘. ไม่พึงชักชวนกันก่อความทะเลาะ
อัฏฐารสวัตตะในปัพพาชนียกรรม จบ
[๒๙] ครั้งนั้น ภิกษุสงฆ์มีพระสารีบุตรกับพระโมคคัลลานะเป็นประธานเดินทาง ไปกีฏาคีรีชนบท ได้ลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุชื่ออัสสชิและปุนัพพสุกะให้ไปจากกีฏา คีรีชนบทว่า “ภิกษุชื่ออัสสชิและปุนัพพสุกะไม่ควรอยู่ในกีฏาคีรีชนบท” ภิกษุชื่ออัสสชิและปุนัพพสุกะ ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้วก็ยังไม่ยอม ประพฤติชอบ ไม่หายเย่อหยิ่ง ไม่ยอมกลับตัว ไม่ขอขมาพวกภิกษุ ยังด่าบริภาษ การกสงฆ์๑- ใส่ความว่าทำเพราะความชอบ เพราะความชัง เพราะความหลง เพราะ ความกลัว หลีกไปบ้าง สึกไปบ้าง ภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุชื่อ อัสสชิและปุนัพพสุกะถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้วก็ยังไม่ยอมประพฤติชอบ ไม่หาย เย่อหยิ่ง ไม่ยอมกลับตัว ไม่ขอขมาพวกภิกษุ ยังด่าบริภาษการกสงฆ์ ใส่ความว่า ทำเพราะความชอบ เพราะความชัง เพราะความหลง เพราะความกลัว หลีกไปบ้าง สึกไปบ้าง” แล้วได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุชื่ออัสสชิและปุนัพพสุกะ @เชิงอรรถ : @ การกสงฆ์ คือ ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป เป็นผู้ดำเนินการในกิจการสำคัญอันเป็นสังฆกรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๖๐}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๓. ปัพพาชนียกรรม

ถูกสงฆ์ลงปัพพชานียกรรมแล้วยังไม่ยอมประพฤติชอบ ไม่หายเย่อหยิ่ง ไม่ยอม กลับตัว ไม่ขอขมาพวกภิกษุ ยังด่าบริภาษการกสงฆ์ ใส่ความว่าทำเพราะความชอบ เพราะความชัง เพราะความหลง เพราะความกลัว หลีกไปบ้าง สึกไปบ้าง จริงหรือ” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้น ไม่สมควร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นถูกสงฆ์ลงปัพพชานียกรรมแล้ว ยังไม่ยอมประพฤติชอบ ไม่หายเย่อหยิ่ง ไม่ยอมกลับตัว ไม่ขอขมาภิกษุทั้งหลาย ยังด่าบริภาษการกสงฆ์ ใส่ความว่าทำเพราะความชอบ เพราะความชัง เพราะความ หลง เพราะความกลัว หลีกไปบ้าง สึกไปบ้าง ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถารับสั่ง ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงระงับปัพพาชนียกรรม”
นัปปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะ
ว่าด้วยองค์ ๑๘ ของภิกษุที่สงฆ์ไม่พึงระงับปัพพาชนียกรรม
หมวดที่ ๑
[๓๐] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ ๑. ให้อุปสมบท ๒. ให้นิสัย ๓. ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ยังสั่งสอนภิกษุณี ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๖๑}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๓. ปัพพาชนียกรรม

หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ ๑. ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมอีก ๒. ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน ๓. ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น ๔. ตำหนิกรรม ๕. ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้ แล
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ๑. งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๒. งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ ๓. ทำการไต่สวน ๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๕. ขอโอกาสภิกษุอื่น ๖. โจทภิกษุอื่น ๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ชักชวนกันก่อความทะเลาะ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้แล
นัปปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะในปัพพาชนียกรรม จบ
ปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะ
ว่าด้วยองค์ ๑๘ ของภิกษุที่สงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรม
หมวดที่ ๑
[๓๑] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๖๒}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๓. ปัพพาชนียกรรม

๑. ไม่ให้อุปสมบท ๒. ไม่ให้นิสัย ๓. ไม่ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ ๑. ไม่ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมอีก ๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน ๓. ไม่ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น ๔. ไม่ตำหนิกรรม ๕. ไม่ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ๑. ไม่งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๒. ไม่งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ ๓. ไม่ทำการไต่สวน ๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๕. ไม่ขอโอกาสภิกษุอื่น ๖. ไม่โจทภิกษุอื่น ๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ไม่ชักชวนกันก่อความทะเลาะ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้แล
ปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะในปัพพาชนียกรรม จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๖๓}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๓. ปัพพาชนียกรรม

วิธีระงับปัพพาชนียกรรมและกรรมวาจา
[๓๒] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรมอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ ลงปัพพาชนียกรรม พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ กระผมจึงขอระงับปัพพาชนียกรรม” พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับปัพพาชนียกรรม ถ้าสงฆ์ พร้อมกันแล้ว พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับปัพพาชนียกรรม สงฆ์ระงับ ปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุชื่อนี้แล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการระงับปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ ชื่อนี้ ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับปัพพาชนียกรรม สงฆ์ระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุชื่อนี้แล้ว ท่านรูปใดเห็น ด้วยกับการระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๖๔}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๔. ปฏิสารณียกรรม

ปัพพาชนียกรรมสงฆ์ระงับแล้วแก่ภิกษุชื่อนี้ สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
ปัพพาชนียกรรมที่ ๓ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๖ หน้าที่ ๕๔-๖๕. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=6&siri=6              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=6&A=1245&Z=1499                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=105              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=6&item=105&items=24              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=6&item=105&items=24                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu6              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd11/en/brahmali#pli-tv-kd11:15.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd11/en/horner-brahmali#BD.5.19



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :