ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
ผลการค้นหาคำว่า “ ภวัง ” :-
พบในอรรถกถาเพื่ออธิบายเนื้อความในพระไตรปิฎก ดังนี้ :-
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

               อรรถกถา ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
               พรหมชาลสูตร
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=1&p=3&h=ภวัง#hl

               อันชื่อว่าจิตสองดวงจะเกิดในขณะเดียวกัน ย่อมมีไม่ได้. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ทรงมีการพักภวังคจิตเร็ว และทรงมีความชำนาญที่สั่งสมไว้โดยอาการ ๕ อย่าง ดังนั้น พระรัศมีเหล่านั้นจึงเป็นไปราวกะว่าในขณะเดียวกัน.

               อรรถกถา ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
               สามัญญผลสูตร
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=91&p=5&h=ภวัง#hl

               ภวังคกิจ อาวัชชนกิจ ทัสสนกิจ สัมปฏิจฉันนกิจ
               ในวิถีจิตเหล่านั้น ภวังคจิตยังกิจอันเป็นองค์แห่งอุปปัตติกภพให้สำเร็จเกิดขึ้น. กิริยามโนธาตุรำพึงถึงภวังคจิตนั้นยังอาวัชชนกิจให้สำเร็จเกิดขึ้น.
               พึงทราบวินิจฉัยในจักษุทวาร ก็เมื่อรูปารมณ์มาปรากฏ ถัดจากภวังคจิตไหว เมื่อวิถีจิตมีอาวัชชนจิตเป็นต้นเกิดขึ้นดับไป ด้วยอำนาจทำกิจของตนให้สำเร็จ ในที่สุดชวนจิตย่อมเกิด.

               อรรถกถา ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
               โปฏฐปาทสูตร
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=275&p=1&h=ภวัง#hl

               บทว่า อญฺญา จ โอฬาริกา ความว่า และภวังคสัญญา อันหยาบอย่างอื่นพึงเกิดขึ้น. ในบทนี้ว่า เธอจึงไม่จำนงด้วยทั้งไม่มุ่งหวังด้วย ภิกษุนั้นเมื่อจำนง ชื่อว่าไม่จำนง เมื่อมุ่งหวัง ชื่อว่าไม่มุ่งหวังแน่แท้
               บทว่า ตา เจว สญฺญา ความว่า ฌานสัญญานั้นย่อมดับ. บทว่า อญฺญา จ ความว่า ทั้งภวังคสัญญาอย่างหยาบอื่น ย่อมไม่เกิดขึ้น.

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ ทีฆนิกาย มหาวรรค

               อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค
               มหานิทานสูตร
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=57&p=2&h=ภวัง#hl

               จริงอยู่ กรรมชรูป ครบ ๓๐ อันตั้งขึ้นพร้อมกับปฏิสนธิจิตย่อมเกิด เมื่อกรรมชรูปเหล่านั้นตั้งอยู่นั่นเอง ภวังคจิต ๑๖ เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป.
               ก็หากว่ารูปที่ปรากฏขึ้นพร้อมกับปฏิสนธิจิต สามารถเพื่อให้ปัจจัยแก่ภวังคจิตดวงที่ ๑๗ ได้ ความเป็นไปย่อมดำเนินต่อไป ประเวณีย่อมสืบต่อ.

               อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค
               มหาปรินิพพานสูตร
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=67&p=1&h=ภวัง#hl

               ภิกษุใดเดินก็ดี นั่งก็ดี นอนก็ดี ถูกถีนมิทธะครอบงำแล้วก็หลับได้ทั้งนั้น ภิกษุนี้ชื่อว่ามีการหลับเป็นที่มายินดี ส่วนภิกษุใดมีจิตหยั่งลงในภวังค์ เพราะความเจ็บป่วยทางกรัชกาย

               อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค
               มหาปรินิพพานสูตร
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=67&p=4&h=ภวัง#hl

               แต่ในที่นี้ เพราะทรงเข้าถึงอนุฏฐานไสยา ท่านจึงไม่กล่าวว่า ทรงมนสิการถึงอุฏฐานสัญญา. ก็ในที่นี้ พึงทราบอนุฏฐาน การไม่ลุกขึ้นด้วยอำนาจพระวรกาย. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงมีโอกาสแห่งภวังคจิตม่อยหลับตลอดราตรีนั้นเลย

               อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค
               มหาปรินิพพานสูตร
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=67&p=5&h=ภวัง#hl

               พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากฌานแล้ว หยั่งลงสู่ภวังค์ แล้วปรินิพพานในระหว่างนั้น ชื่อว่าระหว่างฌาน ในลำดับ ๒ นั้น.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากฌานแล้ว พิจารณาองค์ฌานอีก หยั่งลงสู่ภวังค์ แล้วปรินิพพานในระหว่างนั้นนั่นแหละ ชื่อว่าระหว่างปัจจเวกขณญาณ. แม้ทั้ง ๒ นี้ก็ชื่อว่าระหว่างทั้งนั้น.
               ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเข้าฌานเสด็จออกจากฌาน พิจารณาองค์ฌานแล้วปรินิพพานด้วยภวังคจิต เป็นอัพยากฤตเป็นทุกขสัจจะ. สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่ว่าพระพุทธเจ้าหรือพระสาวก อย่างต่ำมดดำมดแดง ต้องกระทำกาละด้วยภวังคจิตที่เป็นอัพยากฤต เป็นทุกขสัจทั้งนั้นแล.

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

               อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค
               สัพพาสวสังวรสูตร ว่าด้วยการสังวรในอาสวะทั้งปวง
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=10&p=2&h=ภวัง#hl

               อีกอย่างหนึ่ง ในกาลใด รูปารมณ์มาสู่คลองจักษุ ในกาลนั้น เมื่อภวังคจิตเกิดขึ้น ๒ ครั้งแล้วดับไป
               อนึ่ง ในบทว่า จกฺขุนฺทฺริยสํวรสํวุโต วิหรติ นั้น การสำรวมหรือการไม่สำรวมย่อมไม่มีในสมัยแห่งภวังคจิต ทั้งในสมัยแห่งอาวัชชนจิตเป็นต้นสมัยใดสมัยหนึ่ง การสำรวมหรือการไม่สำรวมย่อมไม่มีเช่นเดียวกัน.
               ตอบว่า เพราะเมื่อมีการไม่สำรวมในจักขุนทรีย์นั้น. ทวารก็ดี ภวังคจิตก็ดี วิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้นก็ดี ย่อมเป็นอันพระโยคาวจรไม่คุ้มครองแล้ว.
               เมื่อโทษเครื่องทุศีลบังเกิดขึ้นในชวนจิต เมื่อมีการไม่สำรวมในชวนจิตนั้น ทวารก็ดี ภวังคจิตก็ดี วิถีจิตมีอาวัชชนจิตเป็นต้นก็ดี เป็นอันภิกษุไม่คุ้มครองฉันนั้นนั่นแล.
               แต่เมื่อศีลเป็นต้นเกิดขึ้นในชวนจิตนั้น ทวารก็ดี ภวังคจิตก็ดี วิถีจิตีมีอาวัชชนจิตเป็นต้นก็ดี ย่อมเป็นอันภิกษุคุ้มครองดีแล้ว.
               ภวังคจิตก็ดี วิถีจิตมีอาวัชชนจิตเป็นต้นก็ดี เป็นอันภิกษุคุ้มครองดีแล้วฉันนั้นเหมือนกัน.
               โดยที่มันไม่เหลืออยู่แม้ในภายในของภิกษุนั้น โดยที่สุดแม้เพียงในภวังคจิต (ก็ไม่มี).

               อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค
               อนังคณสูตร ว่าด้วยผู้ไม่มีกิเลส
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=53&p=1&h=ภวัง#hl

               แต่ในข้อความนี้ว่า จักเป็นผู้มีจิตเศร้าหมอง มรณภาพ ไม่ควรเห็นอรรถาธิบายอย่างนี้ว่า จักมรณภาพด้วยอกุศลจิต. เพราะสัตว์ทุกตัวตนตายโดยปกติจิต คือโดยภวังคจิตกันทั้งนั้น แต่คนคนนี้ยังไม่ชำระจิตสันดานให้สะอาดก่อนแล้วจึงตาย ดังนี้แล พึงทราบอรรถาธิบายว่า พระสารีบุตรกล่าวข้อความไว้อย่างนี้ หมายเอาอรรถาธิบายข้อนี้.

               อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค
               วัตถูปมสูตร ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยผ้า
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=91&p=1&h=ภวัง#hl

               แม้จิตที่เศร้าหมองเพราะกิเลสทั้งหลายที่จรมาก็ฉันนั้น (คือ) ก็ตามปกติ จิตนั้นย่อมเป็นธรรมชาติที่สะอาดทีเดียว ในวาระปฏิสนธิจิตและภวังคจิต.

               อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค
               สัมมาทิฏฐิสูตร ว่าด้วยความเห็นชอบ
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=110&p=3&h=ภวัง#hl

               และเวทนาในปฏิสนธิขณะ ภวังคขณะและจุติขณะที่เป็นไปในทวารทั้ง ๖ มีการเกิดขึ้น เพราะการเกิดขึ้นแห่งมโนสัมผัสที่เกิดขึ้นร่วมกัน.

               อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค
               สติปัฏฐานสูตร ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=131&p=3&h=ภวัง#hl

               ภวังค์ (จิตอยู่ในภวังค์) ๑ อาวัชชนะ (การระลึกถึง
               บรรดาจิตทั้ง ๗ นั้น ภวังค์ให้กิจคือเป็นเหตุแห่งอุปปัตติภพสำเร็จเป็นไป. กิริยามโนธาตุ ครั้นยังภวังค์นั้นให้หมุนกลับ แล้วจะให้อาวัชชนกิจสำเร็จอยู่ เพราะอาวัชชนกิจนั้นดับไป จักขุวิญญาณจะให้ทัสสนกิจสำเร็จเป็นไป เพราะทัสสนกิจนั้นดับไป วิปากมโนธาตุจะให้สัมปฏิจฉนกิจสำเร็จเป็นไป เพราะสัมปฏิจฉนกิจนั้นดับไป มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก จะให้สันตีรณกิจสำเร็จเป็นไป เพราะสันตีรณกิจนั้นดับไป มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยาจะให้โวฏฐัพพนกิจสำเร็จเป็นไป เพราะโวฏฐัพพนกิจนั้นดับไป ชวนะจะแล่นไป ๗ ครั้ง.
               ก็เมื่อรูปปรากฏในจักษุทวารแล้ว ต่อจากภวังคจลนะ (ภวังค์ไหว) ไป เมื่อวิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้นเกิดขึ้นแล้วดับไปด้วยอำนาจทำกิจของตนให้สำเร็จ ในที่สุด ชวนะก็จะเกิดขึ้น ชวนะนั้นจะเป็นเหมือนชายที่เป็นแขกของวิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้นที่เกิดขึ้นก่อน (มาเยี่ยมถึง) ประตูคือตา (จักขุทวาร) ที่เท่ากับเป็นเรือน แม้เมื่อวิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้นไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง ไม่ลุ่มหลงในจักขุทวาร

               อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สีหนาทวรรค
               มหาสีหนาทสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งการบันลือสีหนาท
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=159&p=1&h=ภวัง#hl

               บทว่า วุฏฺฐานํ ความว่า ฌานที่คล่องแคล้วและภวังคผลสมาบัติที่กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า แม้ความผ่องแผ้วก็คือความออก แม้ความออกจากสมาธินั้นๆ ก็เป็นความออก.
               ความออกจากฌานทั้งปวงย่อมมีโดยภวังคะ. ความออกจากนิโรธสมาบัติ ย่อมมีโดยผลสมาบัติ. ท่านหมายถึงความออกนั้น จึงกล่าวว่า แม้ความออกจากสมาธินั้นๆ ว่า เป็นความออก.

               อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สีหนาทวรรค
               มหาสีหนาทสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งการบันลือสีหนาท
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=159&p=2&h=ภวัง#hl

               เพราะเหตุไร. เพราะพระชิวหาของพระผู้มีพระภาสเจ้าอ่อน ไรพระทนต์เรียบสนิท พระวจนะไม่ติดขัด ภวังคปริวาสเบา.

               อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สีหนาทวรรค
               มธุปิณฑิกสูตร ว่าด้วยธรรมบรรยายที่ไพเราะ
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=243&p=1&h=ภวัง#hl

               ก็พึงทราบวินิจฉัยในฉัฏฐทวาร บทว่า มนํ ได้แก่ ภวังคจิต.
               ครั้นชวนะถือแล้ว ภวังคจิตซึ่งมีพร้อมกับอาวัชชนะ ชื่อว่าเป็นมโน แต่นั้นผัสสะเป็นต้นแม้ทั้งหมดก็เกิดพร้อมกับชวนะ ส่วนในมโนทวาร อารมณ์แม้ทั้งหมดอันต่างโดยเป็นอดีตเป็นต้นก็ย่อมมี เพราะฉะนั้น คำนี้ว่า เป็นที่อดีตอนาคตและปัจจุบัน เป็นอันเหมาะสมแล้ว.

               อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ โอปัมมวรรค
               มหาหัตถิปโทปมสูตร อุปมาอริยสัจกับรอยเท้าช้าง
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=340&p=1&h=ภวัง#hl

               ถึงโวฏฐัพพนจิตแล้วได้อาเสวนจิต ครั้งหนึ่งหรือสองครั้ง จิตก็หยั่งลงสู่ภวังค์เหมือนเดิม ก็ไม่เกิดด้วยอำนาจราคะเป็นต้น ภิกษุนี้ ชื่อว่าถึงที่สุดวิปัสสนากล้าแข็ง.
               บทว่า ตชฺโช สมนฺนาหาโร ได้แก่ อาศัยจักขุนั้นและรูป คำนึงถึงภวังค์แล้วเกิดมนสิการ. อธิบายว่า กิริยมโนธาตุจิตในจักขุทวารสามารถคำนึงถึงภวังค์ กิริยมโนธาตุ จิตนั้นไม่มีแม้แก่ผู้ที่ส่งใจไปในที่อื่น เพราะรูปารมณ์ไม่ปรากฏ.
               ส่วนในมโนทวาร ภวังคจิต ชื่อว่าใจภายใน ภวังค์จิตนั้นแม้ดับไปแล้ว ไม่สามารถเป็นปัจจัยของอาวัชชนจิตได้ ภวังค์จิตที่มีกำลังอ่อนแม้เป็นไปอยู่ ก็ชื่อว่าแตกแล้ว ที่สามารถเป็นปัจจัยของอาวัชชนจิต ชื่อว่าไม่แตก.
               คำว่า พาหิรา จ ธมฺมา ฯเปฯ เนว ตาว ตชฺชสฺส นี้ ท่านกล่าวไว้โดยสมัยภวังค์จิตเท่านั้น. ในวาระที่ ๒ ท่านกล่าวหมายเอาภิกษุผู้ส่งใจไปในที่อื่น โดยพิจารณาฌานที่ช่ำช่อง ใส่ใจกัมมัฏฐานที่คล่องแคล่ว หรือท่องบ่นพุทธพจน์ที่ชำนาญเป็นต้น.

               อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มหายมกวรรค
               มหาโคสิงคสาลสูตร การสนทนาธรรมเรื่องผู้ทำให้ป่างาม
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=369&p=1&h=ภวัง#hl

               ย่อมกล่าวว่าเราท่อง เทียบเคียง ซักซ้อมแล้วจักรู้ แต่สำหรับบางรูปทรงจำไว้ช่ำชอง เป็นเช่นกับภวังคโสต.

               อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มหายมกวรรค
               มหาสัจจกสูตร สัจจกนิครนถ์ทูลถามปัญหา
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=405&p=1&h=ภวัง#hl

               จริงอยู่ ในขณะใดบริษัทย่อมให้สาธุการ ในขณะนั้นพระตถาคตทรงกำหนดส่วนเบื้องต้น ทรงเข้าผลสมาบัติ เมื่อเสียงกึกก้องแห่งสาธุการยังไม่ขาด ออกจากสมาบัติแสดงธรรมอยู่ ตั้งแต่ที่พระองค์ทรงตั้งไว้แล้ว. ด้วยว่าการอยู่ในภวังค์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมเป็นไปเร็วพลัน ย่อมเข้าผลสมาบัติได้ในคราวหายใจเข้า ในคราวหายใจออก.
               แต่ความจริงถีนมิทธะ คือความง่วงเหงาหาวนอนนั้น พระองค์ทรงละด้วยอรหัตตมรรคแล้ว แต่ที่พระองค์ตรัสว่า พระองค์ก้าวลงสู่ความหลับในเวลากลางวันนั้น พระองค์ทรงหมายถึงกระแสภวังคจิตเท่านั้น ฯ
               จริงอย่างนั้น ดอกบัวขาวเป็นต้นแย้มในเวลาหนึ่ง ตูมในเวลาหนึ่ง ในเวลาเย็นใบไม้บางอย่างหุบ ในเวลาเช้าก็บาน. อุปาทินนกรูปเท่านั้นมีความกระวนกระวาย ก็ภวังคโสตที่เป็นไปด้วยความกระวนกระวาย
               ท่านประสงค์ว่าหลับในที่นี้. ภวังคโสตนั้นมีแก่พระขีณาสพ หมายเอาความหลับนั้น จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า อภิชานามหํ.

               อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มหายมกวรรค
               มหาตัณหาสังขยสูตร ว่าด้วยสาติภิกษุมีทิฏฐิลามก
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=440&p=1&h=ภวัง#hl

               วิญญาณอาศัยภวังคจิต พร้อมทั้งอาวัชชนะ และธรรมอันเป็นไปในภูมิสาม.

               อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ จูฬยมกวรรค
               มหาเวทัลลสูตร การสนทนาธรรมที่ทำให้เกิดปีติ
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=493&p=2&h=ภวัง#hl

               ท่านถามว่า ข้าพเจ้าจะขอถามถึงผลสมาบัติของผู้ออกจากนิโรธ. ก็แหละการออกจากสมาบัติที่เหลือย่อมมีเพราะภวังค์. ส่วนการออกจากนิโรธย่อมมีเพราะผลสมาบัติอันหลั่งไหลมาจากวิปัสสนา. ฉะนั้น พระเถระจึงถามถึงการออกจากนิโรธนั้นแล.
               การหยุด (ฐิติ ได้แก่ฐิติขณะ) เป็นไปหนึ่งหรือสองวาระจิตเท่านั้น แล้วก็หยั่งลงสู่ภวังค์ สำหรับภิกษุที่นั่งดับสิ่งที่ไม่มีรูปที่เป็นไปแล้วตลอดเจ็ดวันนี้ จะตั้งอยู่ในผลสมาบัติของผู้ออกจากนิโรธได้ไม่นาน.
               พระมหาโกฏฐิกเถระถามถึงการออกจาภวังค์ในคำว่า "แห่งการออก" นี้.
               แม้ในการแก้ปัญหานั้น ท่านก็ได้กล่าวถึงความใส่ใจที่เกิดขึ้นพร้อมกับภวังค์ด้วยอำนาจเครื่องหมายมีรูปเป็นต้นว่า "และการใส่ใจเครื่องหมายทุกชนิด".

               อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ จูฬยมกวรรค
               จูฬเวทัลลสูตร การสนทนาธรรมที่ทำให้เกิดปีติ
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=505&p=1&h=ภวัง#hl

               คำว่า "ต่อจากนั้น กายสังขาร" คือ ต่อจากจิตตสังขารนั้นไป กายสังขารย่อมเกิดขึ้นในสมัยแห่งภวังค์.
               ดังที่ว่ามานี้แล ฉะนั้นพึงทราบว่า คำนี้ท่านกล่าวด้วยสมัยแห่งภวังค์เท่านั้น.
               ถามว่า ภวังค์จะให้วิตกวิจารตั้งขึ้นไม่ได้หรือ?
               ตอบว่า ให้ตั้งขึ้นได้, แต่วิตกและวิจารยังแต่ที่ประกอบด้วยภวังค์นั้น ยังแต่งวาจาไม่ได้

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

               อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ราชวรรค
               ฆฏิการสูตร
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=403&p=1&h=ภวัง#hl

               เมื่ออารมณ์ทุรพลมาปรากฏ ย่อมยิ้มแย้มด้วยจิต ๓ ดวง คือ ด้วยทุเหตุกจิต ๒ ดวง ด้วยอเหตุกะ ๑ ดวง. แต่ในที่นี้ จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสอันเป็นมโนวิญญาณธาตุฝ่ายกิริยาอเหตุกจิต ทำให้ความหัวเราะเพียงอาการยินดีร่าเริงให้เกิดแต่ภวังค์เท่านั้น.

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

               อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ วิภังควรรค
               มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=548&p=1&h=ภวัง#hl

               ก็ในบทว่า อิติ เม มโน อโหสิ อิติ ธมฺมา นั้น บทว่า มโน ได้แก่ ภวังคจิต.
		ข้อความ   
		กำหนดเล่มที่เริ่มค้น และจำนวนเล่มที่จะค้น
		     โดยเลขที่ของเล่ม เริ่มเล่มที่   จำนวนเล่มที่ค้น 
		     โดยเนื้อหาอรรถกถา ค้นใน 

0 วิ.

บันทึก ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]