ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
ผลการค้นหาคำว่า “ สุบิน ” :-
พบในอรรถกถาเพื่ออธิบายเนื้อความในพระไตรปิฎก ดังนี้ :-
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑

               อรรถกถา เอกกนิบาตชาดก อปัณณกวรรค
               นิทานกถา ว่าด้วยทูเรนิทาน อวิทูเรนิทาน สันติเกนิทาน
อปัณณกชาดก ว่าด้วยการรู้ฐานะและมิใช่ฐานะ
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1&p=5&h=สุบิน#hl

               เสด็จเข้าห้องอันมีสิริ บรรทมบนพระสิริไสยาสน์ ก้าวลงสู่นิทรารมณ์ได้ทรงพระสุบินนี้ว่า
               ในวันรุ่งขึ้น พระเทวีทรงตื่นบรรทมแล้ว กราบทูลถึงพระสุบินนั้นแด่พระราชา. พระราชารับสั่งให้เชิญพราหมณ์ชั้นหัวหน้า ๖๔ คนเข้าเฝ้า
               จึงตรัสบอกพระสุบิน แล้วตรัสถามว่า จักมีอะไรเกิด. พวกพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์อย่าทรงวิตกอะไรเลย
               ได้เป็นผู้ตรวจดูพระลักษณะ แม้พระสุบินในวันที่ถือปฏิสนธิ พราหมณ์เหล่านี้แหละก็ได้ตรวจดูแล้ว.

               อรรถกถา เอกกนิบาตชาดก อปัณณกวรรค
               นิทานกถา ว่าด้วยทูเรนิทาน อวิทูเรนิทาน สันติเกนิทาน
อปัณณกชาดก ว่าด้วยการรู้ฐานะและมิใช่ฐานะ
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1&p=6&h=สุบิน#hl

               ฝ่ายพระโพธิสัตว์ได้ทรงเห็นมหาสุบิน ๕ ประการ ในตอนกลางคืนนั้น ทรงใคร่ครวญอยู่ จึงทรงกระทำสันนิษฐานว่า

               อรรถกถา เอกกนิบาตชาดก วรุณวรรค
               ๗. มหาสุบินชาดก ว่าด้วยมหาสุบิน
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=77&p=1&h=สุบิน#hl

               พระบรมศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภมหาสุบิน ๑๖ ข้อ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ลาวูนิ สีทนฺติ ดังนี้.
               ดังได้สดับมา วันหนึ่ง พระเจ้าโกศลมหาราชเสด็จเข้าสู่นิทรารมย์ในราตรีกาล ในปัจฉิมยาม ทอดพระเนตรเห็นพระสุบินนิมิตอันใหญ่หลวง ๑๖ ประการ
               ทรงตระหนกพระทัยตื่นพระบรรทม ทรงพระดำริว่า เพราะเราเห็นสุบินนิมิตเหล่านี้ จักมีอะไรแก่เราบ้างหนอ เป็นผู้อันความสะดุ้งต่อมรณภัยคุกคามแล้ว ทรงประทับเหนือพระแท่นที่ไสยาสน์นั่นแล จนล่วงราตรีกาล
               รับสั่งตอบว่า ท่านอาจารย์ทั้งหลาย เราจักมีความสุขได้อย่างไร เมื่อคืนนี้เวลาใกล้รุ่ง เราเห็นสุบินนิมิต ๑๖ ข้อ ตั้งแต่เห็นสุบินนิมิตเหล่านั้นแล้ว เราถึงความหวาดกลัวเป็นกำลัง
               เมื่อพวกปุโรหิตกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า โปรดตรัสเล่าเถิดพระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์สดับแล้ว จักทำนายถวายได้ จึงตรัสเล่า พระสุบินที่ทรงเห็นแล้วให้พวกพราหมณ์ฟัง
               แล้วตรัสว่า เพราะเหตุเห็นสุบินเหล่านี้ จักมีอะไรแก่เราบ้าง?
               พวกพราหมณ์พากันสลัดมือ. เมื่อรับสั่งถามว่า เพราะเหตุไร พวกท่านจึงพากันสลัดมือเล่า? พวกพราหมณ์จึงพากันกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระสุบินทั้งหลายร้ายกาจนัก
               รับสั่งถามว่า พระสุบินเหล่านั้นจักมีผลเป็นประการใด? พวกพราหมณ์ จึงพากันกราบทูลว่า จักมีอันตรายใน ๓ อย่างเหล่านี้ คือ อันตรายแก่ราชสมบัติ ๑ อันตรายคือโรคจะเบียดเบียน ๑ อันตรายแก่พระชนม์ ๑ อย่างใดอย่างหนึ่ง.
               พราหมณ์ทั้งหลายกราบทูลว่า ขอเดชะ พระสุบินเหล่านี้หมดทางแก้ไขเป็นแน่แท้ เพราะร้ายแรงยิ่งนัก แต่พวกข้าพระองค์ทั้งหลายจักกระทำให้พอแก้ไขได้ เมื่อพวกหม่อมฉันไม่สามารถเพื่อจะแก้ไขพระสุบินเหล่านี้ได้แล้ว ขึ้นชื่อว่าความเป็นผู้สำเร็จการศึกษา จักอำนวยประโยชน์อะไร?
               พระนางมัลลิกากราบทูลถามว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ก็ผู้ที่เป็นยอดพราหมณ์ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ทูลกระหม่อมได้ทูลถามถึงการแก้ไขพระสุบินแล้วหรือเพคะ?
               พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นคงทรงทราบเหตุในพระสุบินแน่นอน ขอเชิญทูลกระหม่อม เสด็จพระราชดำเนินไปกราบทูลถามเถิด เพคะ. พระราชาทรงรับสั่งว่า ดีละ เทวีแล้วเสด็จไปยังพระวิหาร ถวายบังคมพระบรมศาสดา แล้วประทับนั่งอยู่.
               พระศาสดาทรงเปล่งพระสุรเสียงอันไพเราะ ตรัสถามว่า มหาบพิตร เหตุไรเล่า บพิตรจึงเสด็จมา ดุจมีราชกิจด่วน. พระราชากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อใกล้รุ่ง หม่อมฉันเห็นมหาสุบิน ๑๖ ข้อ สะดุ้งกลัว บอกเล่าแก่พวกพราหมณ์
               พวกพราหมณ์ทำนายว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระสุบินร้ายแรงนัก เพื่อระงับสุบินเหล่านั้นต้องบูชายัญ ด้วยยัญญวัตถุ อย่างละ ๔ ครบทุกอย่าง แล้วพากันเตรียมบูชายัญ ฝูงสัตว์เป็นอันมากถูกมรณภัยคุกคาม
               ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดทำนายผลแห่งสุบินของหม่อมฉันเหล่านั้นเถิด พระเจ้าข้า.
               พระศาสดาตรัสว่า ขอถวายพระพร เป็นเช่นนั้นทีเดียวมหาบพิตร ในโลกทั้งเทวโลก เว้นตถาคตเสียแล้ว ผู้อื่นที่จะได้ชื่อว่าสามารถรู้เหตุ หรือผลของพระสุบินเหล่านี้ ไม่มีเลย
               ตถาคตจักทำนายให้มหาบพิตร ก็แต่ว่ามหาบพิตรจงตรัสบอกพระสุบิน ตามทำนองที่ทรงเห็นนั้นเถิด.
               พระราชาทรงรับพระพุทธดำรัสว่า ดีละ พระพุทธเจ้าข้า เริ่มกราบทูลพระสุบิน ตามทำนองที่ทรงเห็นอย่างถี่ถ้วน โดยทรงวางหัวข้อไว้ดังนี้ ว่า
               แล้วตรัสว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นสุบินข้อ ๑ อย่างนี้ก่อนว่า
               หม่อมฉันเห็นสุบินนี้เป็นปฐม อะไรเป็นผลของสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
               มหาบพิตร ผลของสุบินข้อนี้ จักไม่มีในชั่วรัชกาลของมหาบพิตร ในชั่วศาสนาของตถาคต แต่ในอนาคต เมื่อโลกหมุนไปถึงจุดเสื่อม ในรัชกาลของพระราชาผู้กำพร้า ผู้มิได้ครองราชย์โดยธรรม
               เหมือนโคตั้งท่าจะชนกันแล้วไม่ชนกันฉะนั้น นี้เป็นผลของสุบินนั้น แต่ไม่มีอันตรายไรๆ แก่มหาบพิตร เพราะเรื่องนั้นเป็นปัจจัย มหาบพิตรเห็นสุบินนี้ ปรารภอนาคต ฝ่ายพวกพราหมณ์อาศัยการเลี้ยงชีวิตของตน จึงทำนายดังนี้.
               พระบรมศาสดา ครั้นตรัสบอกผลแห่งสุบินด้วยประการฉะนี้แล้ว ตรัสว่า จงตรัสเล่าสุบินข้อที่ ๒ เถิด มหาบพิตร.
               ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นสุบินข้อ ๒ อย่างนี้ว่า
               นี้เป็นสุบินข้อที่ ๒ ที่หม่อมฉันได้เห็น อะไรเป็นผลของสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
               มหาบพิตร ผลแม้ของสุบินข้อนี้ ก็จักมีในกาลที่โลกเสื่อม เวลามนุษย์มีอายุน้อย ด้วยว่าสัตว์ทั้งหลายในอนาคตจักมีราคะกล้า
               นี้เป็นสุบินข้อที่ ๓ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลแห่งสุบินนั้น พระเจ้าข้า?
               มหาบพิตร แม้ผลของสุบินนี้ ก็จักมีในอนาคตเหมือนกัน จักมีผลในเวลาที่มนุษย์ทั้งหลาย พากันละทิ้งเชษฐาปจายิกกรรม คือความเป็นผู้ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่
               เมื่อปรารถนาจะให้ของกินของใช้แก่คนแก่ๆ ก็ให้ ไม่ปรารถนาจะให้ก็ไม่ให้ คนแก่ๆ พากันหมดที่พึ่ง หาเลี้ยงตนเองก็ไม่ได้ ต้องง้อพวกเด็กๆ เลี้ยงชีพ เป็นเหมือนแม่โคใหญ่ๆ พากันดื่มนมลูกโคที่เกิดในวันนั้น แม้ภัยมีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ไม่มีแก่มหาบพิตร.
               ตรัสเล่า สุบินข้อที่ ๔ ต่อไปเถิด มหาบพิตร.
               นี้เป็นสุบินข้อที่ ๔ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลของสุบินนี้พระเจ้าข้า?
               มหาบพิตร ผลของสุบินแม้ข้อนี้ ก็จักมีในรัชสมัยของพระราชา ผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรมในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
               แม้ภัยมีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ย่อมไม่มีแก่มหาบพิตร
               เชิญตรัสบอกสุบินที่ ๕ เถิด มหาบพิตร.
               นี้เป็นสุบินที่ ๕ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลของสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
               มหาบพิตร ผลของสุบินแม้นี้ ก็จักมีในรัชกาลของพระราชาผู้ไม่ดำรงในธรรม ในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
               ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ย่อมไม่มีแก่มหาบพิตรดอก.
               เชิญตรัสบอกสุบินที่ ๖ เถิด มหาบพิตร.
               นี้เป็นสุบินข้อที่ ๖ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลแห่งสุบินข้อนี้ พระเจ้าข้า?
               มหาบพิตร ผลของสุบินนี้ ก็จักมีในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
               ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ย่อมไม่มีแก่มหาบพิตร.
               เชิญตรัสบอกสุบินที่ ๗ เถิด มหาบพิตร.
               นี้เป็นสุบินข้อที่ ๗ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลแห่งสุบินข้อนี้ พระเจ้าข้า?
               มหาบพิตร ผลแม้ของสุบินข้อนี้ ก็จักมีในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
               ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร.
               เชิญตรัสเล่าสุบินข้อที่ ๘ เถิด มหาบพิตร.
               นี้เป็นสุบินข้อที่ ๘ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลของสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
               มหาบพิตร ผลแห่งสุบินนี้ จักมีในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
               ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ จะยังไม่มีแก่มหาบพิตร.
               เชิญตรัสเล่าสุบินที่ ๙ เถิด มหาบพิตร.
               นี้เป็นสุบินข้อที่ ๙ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลของสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
               มหาบพิตร ผลแห่งสุบินนี้ จักมีในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
               ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ย่อมไม่มีแก่มหาบพิตร.
               เชิญตรัสเล่าพระสุบินข้อที่ ๑๐ เถิด มหาบพิตร.
               นี้เป็นสุบินที่ ๑๐ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลแห่งสุบินข้อนี้ พระเจ้าข้า?
               มหาบพิตร ผลแม้ของสุบินข้อนี้ จักมีในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
               ภัยแม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ จะยังไม่มีแก่มหาบพิตร.
               เชิญตรัสเล่าสุบินที่ ๑๑ ต่อไปเถิด มหาบพิตร.
               นี้เป็นสุบินข้อที่ ๑๑ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลแห่งสุบินนี้เล่า พระเจ้าข้า?
               มหาบพิตร แม้ผลแห่งสุบินนี้ ก็จักมีในอนาคต
               ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร.
               เชิญตรัสเล่าสุบินที่ ๑๒ ต่อไปเถิด มหาบพิตร.
               ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นกะโหลกน้ำเต้าจมน้ำได้ อะไรเป็นผลแห่งสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
               มหาบพิตร ผลแห่งสุบินนี้ ก็จักมีในอนาคตกาล เมื่อโลกหมุนไปถึงจุดเสื่อมในรัชกาลของพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม
               ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร.
               เชิญตรัสเล่าสุบินที่ ๑๓ เถิด มหาบพิตร.
               ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นศิลาแท่งทึบใหญ่ ขนาดเรือนยอดลอยน้ำเหมือนดังเรือ อะไรเป็นผลแห่งสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
               มหาบพิตร ผลแห่งสุบินแม้นี้ ก็จักมีในกาลเช่นนั้นเหมือนกัน ด้วยว่า
               ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร
               เชิญตรัสเล่าพระสุบินข้อที่ ๑๔ เถิด มหาบพิตร.
               นี้เป็นสุบินข้อที่ ๑๔ อะไรเป็นผลแห่งสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
               มหาบพิตร ผลแห่งแม้สุบินข้อนี้ ก็จักมีในอนาคต ในเมื่อโลกเสื่อมโทรมดุจกัน ด้วยว่า
               ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็จักไม่มีแก่มหาบพิตรดอก
               อะไรเป็นผลแห่งพระสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
               มหาบพิตร ผลแห่งสุบินนี้ ก็จักมีในอนาคต ในรัชกาลของพระราชาผู้ทุรพลนั่นแหละ ด้วยว่า
               ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร.
               เชิญตรัสเล่าสุบินที่ ๑๖ ต่อไปเถิด มหาบพิตร.
               หม่อมฉันได้เห็นอย่างนี้ อะไรเป็นผลแห่งสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
               มหาบพิตร ผลแห่งสุบินแม้นี้ ก็จักมีในรัชกาลแห่งพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
               ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร ด้วยสุบินนี้ที่มหาบพิตรเห็นแล้ว ปรารภอนาคตทั้งนั้น แต่พวกพราหมณ์มิได้ทำนายสุบินนั้น
               ครั้นทรงทำนายผลแห่งสุบินใหญ่ๆ ๑๖ ข้อ อย่างนี้แล้ว ตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่บพิตรได้เห็นสุบินเหล่านี้
               แม้พระราชาทั้งหลายแต่ก่อนๆ ก็ได้ทรงเห็นแล้วเหมือนกัน แม้พวกพราหมณ์ก็ถือเอาสุบินเหล่านี้ นับเข้าในยอดยัญพิธีอย่างนี้เหมือนกัน
               ภายหลังอาศัยคำแนะนำที่พวกเป็นบัณฑิตพากันกราบทูล จึงถามพระโพธิสัตว์ แม้ท่านโบราณกบัณฑิตทั้งหลาย เมื่อทำนายสุบินเหล่านี้แก่พระราชาเหล่านั้น ก็พากันทำนายทำนองนี้แหละ
               ในครั้งนั้น ณ พระนครพาราณสี พระเจ้าพรหมทัตทรงเห็นพระสุบินเหล่านี้ โดยทำนองนี้เหมือนกัน มีพระดำรัสถามพวกพราหมณ์ พวกพราหมณ์ปรารภจะบูชายัญอย่างนี้เหมือนกัน
               มาณพกราบเรียนว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ พระราชายังได้พระนามว่า ธรรมิกราชอยู่ดอกครับ ก็แต่ว่า พวกพราหมณ์กำลังชักจูงพระองค์ให้วิ่งไปผิดทาง พระราชาทรงเห็นพระสุบิน ๑๖ ข้อ
               ตรัสบอกแก่พวกพราหมณ์ พวกพราหมณ์กล่าวว่า พวกเราจักต้องบูชายัญ แล้วเตรียมการทันที พระคุณเจ้าผู้เจริญขอรับ การที่พระคุณเจ้าทำให้พระราชาทรงเข้าพระทัยว่า ขึ้นชื่อว่าผลแห่งสุบินนี้เป็นอย่างนี้ แล้วช่วยให้มหาชนพ้นจากภัย จะมิควรหรือขอรับ?
               กล่าวว่า จักทำนายผลของพระสุบินที่พระองค์ทรงเห็น กำลังรอพระองค์อยู่. พระราชาทรงสดับคำของมาณพนั้น ก็รีบเสด็จไปพระอุทยาน ด้วยบริวารเป็นอันมากทันที
               ทรงไหว้พระดาบสแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง มีพระดำรัสถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ได้ยินว่า พระคุณเจ้าทราบผลแห่งสุบินที่กระผมเห็นหรือ?
               พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร อาตมภาพจะทำนายถวาย เชิญมหาบพิตรตรัสเล่าพระสุบินตามที่ทรงเห็นให้อาตมภาพฟังก่อนเถิด.
               แล้วตรัสบอกสุบิน ตามนิยมที่พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสบอก นั่นเอง
               แม้พระโพธิสัตว์ก็ทำนายผลแห่งสุบินเหล่านั้นโดยพิสดาร ตามทำนองที่พระศาสดาทรงทำนายในบัดนี้แหละ ในที่สุดถวายพระพรดังนี้ ด้วยตนเองว่า
               ดูก่อนมหาบพิตร ผลแห่งพระสุบินเหล่านั้นมีดังนี้ คือการบูชายัญที่กำลังดำเนินไป เพื่อปัดเป่าพระสุบินเหล่านั้น ย่อมดำเนินไปผิดหลักเกณฑ์ ท่านกล่าวอธิบายว่า ย่อมเป็นไปอย่างผิดตรงกันข้าม ความเสื่อมจากความจริง.
               เพราะเหตุว่า ผลแห่งสุบินเหล่านี้ จักมีในกาลที่โลกถึงจุดเสื่อม คือในกาลที่ต่างถือเอาข้อที่มิใช่เหตุ ว่าเป็นเหตุ ในกาลที่ทิ้งเหตุเสีย ว่ามิใช่เหตุ
               หมายความว่าแต่ผลของพระสุบินเหล่านี้ ยังไม่มีในบัดนี้ คือในรัชกาลของมหาบพิตร หรือในศาสนาของตถาคตนี้ ในยุคนี้ คือในชั่วบุรุษปัจจุบันนี้
               เพราะเหตุนั้น การบูชายัญที่กำลังดำเนินไป เพื่อปัดเป่าผลแห่งพระสุบินเหล่านี้ จึงเป็นไปโดยคลาดเคลื่อน เลิกการบูชายัญนั้นเสียเถิด ภัยหรือความสะดุ้งอันมีพระสุบินนี้เป็นเหตุ ยังไม่มีแก่มหาบพิตร.
               เพราะพระสุบินเป็นปัจจัย ภัยยังไม่มีแก่มหาบพิตรดอก มหาบพิตรจงสั่งให้เลิกยัญเสียเถิด พระราชทานชีวิตทานแก่มหาชนแล้ว ทรงสืบอนุสนธิ ประชุมชาดกว่า
               จบอรรถกถามหาสุบินชาดกที่ ๗

               อรรถกถา เอกกนิบาตชาดก วรุณวรรค
               ๑๐. ภีมเสนชาดก ว่าด้วยคำแรกกับคำหลังไม่สมกัน
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=80&p=1&h=สุบิน#hl

               ๗. มหาสุบินชาดก ว่าด้วย มหาสุบิน

               อรรถกถา โมรชาดก
               ว่าด้วย นกยูงเจริญพระปริตต์
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=167&p=1&h=สุบิน#hl

               อยู่มาวันหนึ่ง พระนางเขมาพระเทวีของพระเจ้ากรุงพาราณสี ทรงสุบินเห็นนกยูงสีทองแสดงธรรม
               ขณะตื่นพระบรรทมได้กราบทูลสุบินแด่พระราชาว่า ขอเดชะ ข้าแต่พระองค์ หม่อมฉันประสงค์จะฟังธรรมของนกยูงสีทอง เพคะ.

               อรรถกถา ฆตปัณฑิตชาดก
               ว่าด้วย ความดับความโศก
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1483&p=1&h=สุบิน#hl

               ข้าแต่พระองค์ผู้กัณหวงศ์ ขอพระองค์จงเสด็จลุกขึ้นเถิด จะมัวทรงบรรทมอยู่ทำไม ความเจริญอะไรจะมีแก่พระองค์ด้วยพระสุบินเล่า

               อรรถกถา รุรุมิคชาดก
               ว่าด้วย น้ำใจของพญาเนื้อรุรุ
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1839&p=1&h=สุบิน#hl

               ทรงฝันเห็นกวางทองแสดงธรรมกถาถวายพระนางในพระสุบินเมื่อใกล้รุ่ง ทรงพระดำริว่า ถ้ามฤคเห็นปานนี้ไม่พึงมีไซร้ เราไม่น่าฝันเห็นเขาได้เลย คงจักมีแน่ ต้องกราบทูลแด่พระราชา.

               อรรถกถา มหาโมรชาดก
               ว่าด้วย พญานกยูงพ้นจากบ่วง
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1961&p=1&h=สุบิน#hl

               อยู่มาวันหนึ่ง พระอัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี ทรงพระนามว่าเขมา ทรงเห็นพระสุบินในเวลาใกล้รุ่ง พระสุบินได้มีเรื่องราวอย่างนี้. นกยูงมีสีเหมือนสีทอง กำลังแสดงธรรม.

               อรรถกถา โรหนมิคชาดก
               ว่าด้วย ความรักในสายเลือด
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=2104&p=1&h=สุบิน#hl

               อยู่มาวันหนึ่ง พระนางเขมาบรมราชเทวี ทรงพระสุบินในเวลาใกล้รุ่ง.
               พระสุบินนั้นปรากฏอย่างนี้ว่า มีพญาเนื้อสีเหมือนทองยืนอยู่บนแท่นทอง แสดงธรรมแด่พระเทวีด้วยเสียงอันไพเราะ

               อรรถกถา หังสชาดก
               ว่าด้วย หงส์สุมุขะผู้ภักดี
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=2124&p=1&h=สุบิน#hl

               แม้ในคราวนั้น พระบรมราชเทวีก็ทรงพระสุบินนิมิต โดยนัยที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง

               อรรถกถา ฉัททันตชาดก
               ว่าด้วย พญาช้างฉัททันต์
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=2327&p=2&h=สุบิน#hl

               บทว่า อทฺทสา ความว่า นัยว่า พระนางเธอทรงพระสุบินนิมิตเห็นท่าน. บทว่า อสํสิ ความว่า ทั้งพระนางเจ้าโปรดให้ทำสักการะแก่ข้าพเจ้า

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒

               อรรถกถา มหาหังสชาดก
               ว่าด้วย หงส์ชื่อสุมุขะไม่ละทิ้งพระยาหงส์ผู้ติดบ่วง
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=28&i=199&p=1&h=สุบิน#hl

               อยู่มาวันหนึ่ง พระนางเขมาเทวีได้ทรงพระสุบินนิมิต ในเวลาใกล้รุ่งว่า มีพญาหงส์ทอง ๒ ตัว มาจับอยู่ที่พระราชบัลลังก์ แล้วแสดงธรรมกถาด้วยเสียงอันไพเราะ
               เหล่านางกำนัลได้ยินพระราชเสาวนีย์ของพระนาง ก็พากันแย้มสรวลเล็กน้อยว่า หงส์ที่ไหนกัน พระนางจึงทรงทราบ ในขณะนั้นว่า ทรงสุบินนิมิตไป
               แล้วจึงเล่าเรื่องทั้งหมด จำเดิมแต่กาลที่ พระนางเทวีทรงเห็นสุบินนิมิตจนกระทั่งถึงพระราชาทรงทราบความที่พวกหงส์ทองเหล่านั้นมาแล้ว

               อรรถกถา กุณาลชาดก
               ว่าด้วย นางนกดุเหว่า
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=28&i=296&p=3&h=สุบิน#hl

               แล้วจึงทูลทำนายว่า ขอพระราชทานโอกาส การที่พระราชเทวีทรงสุบินว่า ได้นั่งบนคอช้างเผือกนั้น เป็นบุรพนิมิตนำมรณะมาสู่พระองค์
               ที่พระนางทรงสุบินว่า นั่งอยู่บนคอช้าง แล้วลูบคลำพระจันทร์เล่นนั้น เป็นบุรพนิมิตที่นำพระราชาข้าศึกมาสู่พระองค์

               อรรถกถา มโหสถชาดก
               ว่าด้วย พระมโหสถบัณฑิตทรงบำเพ็ญปัญญาบารมี
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=28&i=600&p=1&h=สุบิน#hl

               กาลนั้น พระเจ้าวิเทหราชทรงพระสุบินในปัจจุสสมัย ในวันพระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิว่า ที่มุมพระลานหลวงทั้ง ๔ มุม มีกองเพลิง ๔ กองประมาณเท่ากำแพงใหญ่ลุกโพลง.
               มหาชนเที่ยวอยู่ในระหว่างเปลวเพลิง ก็มิได้ร้อนแม้สักว่าขุมขน. พระราชาทรงเห็นพระสุบินนี้แล้ว ทรงหวาดสะดุ้ง เสด็จลุกขึ้นประทับนั่ง.
               พระสุบินนั้นเป็นมงคล ความเจริญจักมีแด่พระองค์. เมื่อมีพระราชดำรัสถามว่า เพราะเหตุไร จึงทูลว่า ข้าแต่มหาราช บัณฑิตที่ ๕ อีกคนหนึ่งจักเกิดขึ้น
               วันนั้น พระมหาสัตว์จุติจากดาวดึงส์พิภพ ถือปฏิสนธิในครรภ์แห่งนางสุมนาเทวี. ในเวลาที่พระราชาทรงพระสุบิน เทพบุตรอีกพันหนึ่งจุติจากดาวดึงส์พิภพ
               อมาตย์นับปีตั้งแต่วันที่พระราชาทรงเห็นพระสุบิน ก็ทราบว่า บัณฑิตนั้น คือผู้นี้เอง. สมกับพระราชาทรงเห็นพระสุบิน จึงส่งทูตไปทูลพระราชาว่า

               อรรถกถา มโหสถชาดก
               ว่าด้วย พระมโหสถบัณฑิตทรงบำเพ็ญปัญญาบารมี
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=28&i=600&p=12&h=สุบิน#hl

               รอบรู้ในเรื่องอุบาท เรื่องสุบิน มีความชำนาญในการหาฤกษ์ยกทัพ และการเข้ารบ เป็นผู้บอกฤกษ์ล่างฤกษ์บน ฉลาดในทางแห่งดาวฤกษ์. พระองค์ให้พราหมณ์ปุโรหิตแก่ผีเสื้อน้ำ ด้วยโทษอะไร.
               บทว่า สุปิเน ยุตฺโต ความว่า รอบรู้ในเรื่องสุบินว่าฝันเช่นนี้จะเป็นอย่างนั้น. บทว่า นิยฺยาเน จ ปเวสเน ความว่า รู้ว่า โดยนักษัตรนี้พึงยกทัพ โดยนักษัตรนี้พึงเข้ารบ.

               อรรถกถา ภูริทัตชาดก
               ว่าด้วย พระเจ้าภูริทัตทรงบำเพ็ญศีลบารมี
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=28&i=687&p=3&h=สุบิน#hl

               ก็ในวันที่อาลัมพายน์จับพระมหาสัตว์ไปนั้น พระมารดาของพระมหา สัตว์ ได้เห็นในระหว่างทรงพระสุบินว่า

               อรรถกถา จันทกุมารชาดก
               ว่าด้วย พระจันทกุมารทรงบำเพ็ญขันติบารมี
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=28&i=775&p=1&h=สุบิน#hl

               ส่วนพระราชานั้นเป็นผู้มีปัญญาอ่อน วันหนึ่งเวลาใกล้รุ่ง ได้ทรงสุบินเห็นปานนี้ว่า

               อรรถกถา วิธุรชาดก
               ว่าด้วย พระวิธูรบัณฑิตทรงบำเพ็ญสัจจะบารมี
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=28&i=893&p=6&h=สุบิน#hl

               ก็ในวันนั้นเวลาใกล้รุ่ง พระเจ้าธนัญชัยโกรพยราชได้ทรงพระสุบินว่า มีต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่ง ตั้งอยู่ใกล้พระทวารพระราชนิเวศน์ ลำต้นประกอบด้วยปัญญา กิ่งแล้วไปด้วยศีล
               พระราชาทรงพิจารณาพระสุบินนั้นอยู่ ทรงสันนิษฐานว่า ใครๆ คนอื่นที่เป็นดุจต้นไม้ใหญ่มิได้มี ต้องเป็นวิธุรบัณฑิต ใครๆ คนอื่นที่เปรียบกับบุรุษผู้มาตัดรากต้นไม้นั้น
               ครั้นกราบทูลดังนี้แล้ว ได้ถวายแก้วมณีแก่พระราชา แต่นั้นพระราชา เมื่อจะตรัสเล่าพระสุบินที่พระองค์ทรงเห็น ในเวลาจวนรุ่งแก่ชาวพระนคร
               จึงตรัสว่า ดูก่อนทวยราษฏร์ผู้เจริญทั้งหลาย พวกเจ้าจงฟังสุบินนิมิตที่เราเห็นในเวลานี้ แล้วตรัสเป็นคาถาว่า

               อรรถกถา มหาเวสสันตรชาดก
               ว่าด้วย พระเวสสันดรทรงบำเพ็ญทานบารมี
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=28&i=1045&p=7&h=สุบิน#hl

               ก็ราตรีนั้นเวลาใกล้รุ่ง พระนางมัทรีได้ทรงพระสุบิน ความในพระสุบินนั้นว่า
               พระเวสสันดรตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น เธอจงเล่าไป. พระนางมัทรีก็เล่าถวาย โดยทำนองที่ทรงสุบินทีเดียว.
               พระมหาสัตว์ทรงกำหนดพระสุบินนั้น แล้วทรงดำริว่า ทานบารมีของเราจักเต็มรอบ พรุ่งนี้จักมียาจกมาขอบุตรี เราจักยังนางมัทรีให้อุ่นใจ แล้วจึงกลับไป.

               อรรถกถา มหาเวสสันตรชาดก
               ว่าด้วย พระเวสสันดรทรงบำเพ็ญทานบารมี
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=28&i=1045&p=8&h=สุบิน#hl

               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปิ รตเตว เม มโน ความว่า เออ ก็ใจของหม่อมฉันเป็นเหมือนเห็นสุบิน ในเวลาใกล้รุ่ง.
               ข้าแต่พระสวามี หม่อมฉันคิดว่า เราได้เห็นเหตุที่น่ากลัวเหล่านี้เป็นอันมาก และเห็นสุบินร้ายวันนี้ เราจักกลับมาให้ทันเวลาทีเดียว

               อรรถกถา มหาเวสสันตรชาดก
               ว่าด้วย พระเวสสันดรทรงบำเพ็ญทานบารมี
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=28&i=1045&p=9&h=สุบิน#hl

               วันนั้นเวลาใกล้รุ่ง พระเจ้ากรุงสญชัยสีวีมหาราชทรงพระสุบิน พระสุบินนั้นมีข้อความนี้ว่า
               พระเจ้าสญชัยตื่นบรรทม ตรัสเรียกพวกพราหมณ์ผู้รู้ทำนายสุบิน มาตรัสถาม

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑

               อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑. พุทธวรรค
               ๑. พุทธาปทาน
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=1&p=6&h=สุบิน#hl

               ในวันที่ ๗ ตั้งแต่เช้าตรู่ สรงสนานด้วยน้ำเจือน้ำหอม ทรงสละพระราชทรัพย์สี่แสน ถวายมหาทานแล้วทรงประดับด้วยเครื่องราชอลังการทั้งปวง เสวยพระกระยาหารอย่างดี ทรงอธิษฐานองค์อุโบสถ เสด็จเข้าห้องอันมีสิริที่ประดับตกแต่งแล้ว บรรทมเหนือพระสิริไสยาสน์ ก้าวลงสู่ความหลับ ได้ทรงพระสุบินดังนี้ว่า
               วันรุ่งขึ้น พระเทวีทรงตื่นบรรทมแล้วกราบทูลพระสุบินนั้นแด่พระราชา. พระราชารับสั่งให้เชิญพราหมณ์ชั้นหัวหน้าประมาณ ๖๔ คนเข้าเฝ้า ให้ปูลาดอาสนะอันควรค่ามากบนพื้นที่ฉาบทาด้วยโคมัยสด มีเครื่องสักการะอันเป็นมงคลที่กระทำด้วยข้าวตอกเป็นต้น ให้ใส่ข้าวปายาสชั้นเลิศที่ปรุงด้วยเนยใส น้ำผึ้ง และน้ำตาลกรวดเต็มถาดทองและเงิน เอาถาดทองและเงินนั้นแหละครอบแล้วได้ประทานแก่เหล่าพราหมณ์ผู้นั่งอยู่บนอาสนะนั้น และทรงให้พราหมณ์เหล่านั้นอิ่มหนำด้วยสิ่งของอื่นๆ มีการประทานผ้าใหม่ และแม่โคแดงเป็นต้น.
               ทีนั้น จึงรับสั่งให้บอกพระสุบินแก่พราหมณ์เหล่านั้นผู้อิ่มหนำด้วยสิ่งที่ต้องการทุกอย่าง แล้วตรัสถามว่า จักมีเหตุการณ์อะไร.
               แม้พระสุบินในวันที่ถือปฏิสนธิ พราหมณ์ทั้ง ๘ คนนี้นั่นแหละก็ได้ทำนายแล้ว.

               อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑. พุทธวรรค
               ๑. พุทธาปทาน
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=1&p=7&h=สุบิน#hl

               ในตอนกลางคืนวันนั้น แม้พระโพธิสัตว์ก็ได้ทรงเห็นมหาสุบิน ๕ ประการ เมื่อทรงใคร่ครวญดู จึงทรงกระทำสันนิษฐานว่า วันนี้ เราจักได้เป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย เมื่อราตรีนั้นล่วงไป จึงทรงกระทำการปฏิบัติพระสรีระ ทรงคอยเวลาภิกขาจาร พอเช้าตรู่ จึงเสด็จมาประทับนั่งที่โคนไม้นั้น ยังโคนไม้ทั้งสิ้นให้สว่างไสวด้วยพระรัศมีของพระองค์.

               อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑. พุทธวรรค
               ๒. ปัจเจกพุทธาปทาน
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=2&p=3&h=สุบิน#hl

               มหาปทุมเทวบุตรนั้นจุติจากเทวโลกแล้วบังเกิดในห้องแห่งดอกปทุม ในสระโบกขรณีอันดาดด้วยแผ่นศิลา ในอุทยานของพระเจ้าพาราณสี. และคืนนั้น เวลาใกล้รุ่ง พระมเหสีทรงพระสุบินไปว่า พระองค์แวดล้อมด้วยสตรีสองหมื่นนาง เสด็จไปอุทยาน ได้พระโอรสในห้องปทุมในสระโบกขรณีอันดาดด้วยศิลา.

               อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑. พุทธวรรค
               ๓. สารีปุตตเถราปทาน (๑)
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=3&p=2&h=สุบิน#hl

               เพราะถึงความสำเร็จในศิลปะของพราหมณ์ และเพราะเป็นผู้ฉลาดในเรื่องราวของนักษัตร เราถูกใครๆ ถามถึงความเป็นไปในลักษณะแห่งอุปบาตและในสุบินว่า นักขัตฤกษ์ที่ราชกุมารนี้เกิดงามหรือไม่งาม เราเป็นผู้ศึกษามาดีแล้วในการบอกถึงความสำเร็จแห่งสุบินว่า สุบินนี้งาม สุบินนี้ไม่งาม และในการบอกลักษณะมือเท้าของสตรีและบุรุษทั้งปวง ชื่อว่าทรงไว้ซึ่งบทมนต์คือโกฏฐาสของมนต์ทำนายลักษณะทุกอย่าง ซึ่งเป็นไปอยู่ในชมพูทวีปทั้งสิ้นในกาลนั้น คือในกาลที่เราเป็นดาบส.
		ข้อความ   
		กำหนดเล่มที่เริ่มค้น และจำนวนเล่มที่จะค้น
		     โดยเลขที่ของเล่ม เริ่มเล่มที่   จำนวนเล่มที่ค้น 
		     โดยเนื้อหาอรรถกถา ค้นใน 

0 วิ.

บันทึก ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]