ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
ทุติยวรรคที่ ๒
ชฏิลสูตรที่ ๑
[๓๕๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารบุพพาราม ปราสาทของมิคารมารดา เขตพระนครสาวัตถี ฯ ก็สมัยนั้น ในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่ทรงพักผ่อนแล้ว ประทับนั่งที่ภายนอกซุ้มประตู ฯ ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ [๓๕๕] ก็สมัยนั้น ชฎิล ๗ คน นิครนถ์ ๗ คน อเจลก ๗ คน เอกสาฎกนิครนถ์ ๗ คน ปริพาชก ๗ คน ผู้มีขนรักแร้ เล็บ และขนยาว ถือ เครื่องบริขารต่างๆ เดินผ่านไปในที่ไม่ไกล พระผู้มีพระภาค ฯ ทันใดนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลก็เสด็จลุกจากอาสนะทรงกระทำพระภูษา เฉวียงพระอังสาข้างหนึ่ง ทรงจดพระชานุมณฑลเบื้องขวา ณ พื้นแผ่นดิน ทรง ประนมอัญชลีไปทางชฎิล ๗ คน นิครนถ์ ๗ คน อเจลก ๗ คน เอกสาฏก- *นิครนถ์ ๗ คน ปริพาชก ๗ คน เหล่านั้นแล้ว ทรงประกาศพระนาม ๓ ครั้งว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าคือพระราชาปเสนทิโกศล... ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าคือพระราชา ปเสนทิโกศล ฯ ลำดับนั้น เมื่อชฎิล ๗ คน นิครนถ์ ๗ คน อเจลก ๗ คน เอกสาฎก- *นิครนถ์ ๗ คน ปริพาชก ๗ คนเหล่านั้น เดินผ่านไปได้ไม่นาน พระเจ้า ปเสนทิโกศล เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ก็ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกนักบวชเหล่านั้น คงเป็นพระ- *อรหันต์ หรือท่านผู้บรรลุพระอรหัตมรรคเหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลก ฯ [๓๕๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหาบพิตร พระองค์เป็นคฤหัสถ์ บริโภคกาม ครอบครองเรือน บรรทมเบียดพระโอรสและพระชายา ทาจุรณจันทน์ อันมาแต่แคว้นกาสี ทรงมาลาของหอมและเครื่องลูบไล้ ยินดีเงินและทอง ยากที่ จะรู้เรื่องนี้ว่า คนพวกนี้เป็นพระอรหันต์ หรือคนพวกนี้บรรลุอรหัตมรรค ฯ ดูกรมหาบพิตร ศีลพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน ก็ศีลนั้นจะพึงรู้ได้โดย กาลนาน ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้สนใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่สนใจก็ไม่รู้ ผู้มีปัญญา จึงจะรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามก็ไม่รู้ ฯ ดูกรมหาบพิตร ความสะอาดพึงรู้ได้ด้วยการงาน ก็ความสะอาดนั้นจะพึง รู้ได้ด้วยกาลนาน ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้สนใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่สนใจก็ไม่รู้ ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามก็ไม่รู้ ฯ ดูกรมหาบพิตร กำลังใจพึงรู้ได้ในคราวมีอันตราย ก็กำลังใจนั้น จะพึงรู้ ได้ด้วยกาลนาน ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้สนใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่สนใจก็ไม่รู้ ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามก็ไม่รู้ ฯ ดูกรมหาบพิตร ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา ก็ปัญญานั้นจะพึงรู้ได้ด้วย กาลนาน ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้สนใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่สนใจก็ไม่รู้ ผู้มีปัญญา จึงจะรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามก็ไม่รู้ ฯ [๓๕๗] พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่า- *อัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องไม่เคยมีแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เท่าที่ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหาบพิตร พระองค์เป็นคฤหัสถ์ บริโภคกาม... ยากที่จะรู้เรื่องนี้... ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามก็ไม่รู้ ดังนี้ เป็นอันตรัส ดีแล้ว ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นักบวชเหล่านั้นเป็นคนของหม่อมฉัน เป็นจารบุรุษ เป็นคนสืบข่าวลับ เที่ยวสอดแนมไปยังชนบทแล้วพากันมา ในภายหลังข้าพระองค์ จึงจะรู้เรื่องราวที่คนเหล่านั้นสืบได้ก่อน ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้คนเหล่านั้น ชำระล้างละอองธุลีนั้นแล้ว อาบดี ประเทืองผิวดี โกนผมและหนวดแล้ว นุ่งห่มผ้าขาว เอิบอิ่มเพรียบพร้อม ด้วยเบญจกามคุณ บำเรอข้าพระองค์อยู่ ฯ [๓๕๘] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบความนี้แล้ว จึงได้ทรง ภาษิตพระคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า คนผู้เกิดมาดี ไม่ควรไว้วางใจ เพราะผิวพรรณและรูปร่าง ไม่ควรไว้วางใจ เพราะการเห็นกันชั่วครู่เดียว เพราะว่า นักบวชผู้ไม่สำรวมทั้งหลาย ย่อมเที่ยวไปยังโลกนี้ ด้วย เครื่องบริขารของเหล่านักบวชผู้สำรวมดีแล้ว ประดุจกุณฑล- *ดิน และมาสกโลหะหุ้มด้วยทองคำปลอมไว้ คนทั้งหลาย ไม่บริสุทธิ์ในภายใน งามแต่ภายนอก แวดล้อมด้วยบริวาร ท่องเที่ยวอยู่ในโลก ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๒๕๑๕-๒๕๗๔ หน้าที่ ๑๑๒-๑๑๔. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2515&Z=2574&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=15&siri=122              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=354              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [354-358] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=15&item=354&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=3676              The Pali Tipitaka in Roman :- [354-358] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=15&item=354&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=3676              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i354-e.php# https://suttacentral.net/sn3.11/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :