ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
นันทิขยสูตรที่ ๒
[๒๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นรูปอันไม่เที่ยงนั่นแลว่า ไม่เที่ยง ความเห็นของภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นความเห็นชอบ เมื่อเห็นชอบย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว ภิกษุเห็น เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันไม่เที่ยงนั่นแลว่า ไม่เที่ยง ความเห็น ของภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นความเห็นชอบ เมื่อเห็นชอบย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้น ความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้น ความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯ
จบสูตรที่ ๒
นันทิขยสูตรที่ ๓
[๒๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงใส่ใจถึงจักษุโดยอุบายอัน แยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งจักษุตามความเป็นจริง เมื่อใส่ใจถึง จักษุโดยอุบายอันแยบคาย และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งจักษุตามความเป็น จริง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะ สิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ เราจึง เรียกว่าจิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯลฯ เธอทั้งหลายจงใส่ใจถึงใจ โดยอุบายอันแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งใจตามความเป็นจริง เมื่อใส่ใจถึงใจ โดย อุบายอันแยบคาย และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งใจตามความเป็นจริง ย่อม เบื่อหน่ายแม้ในใจ เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯ
จบสูตรที่ ๓
นันทิขยสูตรที่ ๔
[๒๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงใส่ใจถึงรูปโดยอุบายอัน แยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูปตามความเป็นจริง เมื่อใส่ใจถึง รูปโดยอุบายอันแยบคาย และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูปตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า จิต หลุดพ้นดีแล้ว ฯลฯ เธอทั้งหลายจงใส่ใจถึงธรรมารมณ์โดยอุบายอันแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งธรรมารมณ์ตามความเป็นจริง เมื่อใส่ใจถึง ธรรมารมณ์โดยอุบายอันแยบคาย และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายในธรรมารมณ์ เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึง สิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน และราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯ
จบสูตรที่ ๔

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๓๗๐๙-๓๗๔๔ หน้าที่ ๑๖๐-๑๖๒. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=3709&Z=3744&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=18&siri=135              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=246              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [246-248] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=18&item=246&items=3              The Pali Tipitaka in Roman :- [246-248] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=18&item=246&items=3              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i245-e.php#sutta2 https://suttacentral.net/sn35.157/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :