ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
อนุราธสูตร
[๗๖๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน ใกล้นครเวสาลี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระอนุราธะก็อยู่ในกุฎีในป่าที่ไม่ไกลพระผู้มี พระภาค ครั้งนั้นแล พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นเป็นอันมาก เข้าไปหาท่านพระ อนุราธะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอนุราธะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึง กันไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอนุราธะว่า ดูกร ท่านอนุราธะ พระตถาคตผู้เป็นอุดมบุรุษผู้เป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุถึงธรรมอันควร บรรลุอย่างยอดเยี่ยมแล้ว เมื่อจะทรงบัญญัติข้อนั้น ย่อมทรงบัญญัติในฐานะทั้ง ๔ นี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่ เกิดอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี หรือว่าสัตว์ เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ ท่านพระอนุราธะ ตอบว่า ดูกรท่านทั้งหลาย พระตถาคตผู้เป็นอุดมบุรุษ ผู้เป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุ ถึงธรรมอันสมควรบรรลุอย่างยอดเยี่ยมแล้ว เมื่อจะทรงบัญญัติข้อนั้น ย่อมทรง บัญญัตินอกจากฐานะทั้ง ๔ นี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี หรือว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิด อีกก็หามิได้ ฯ [๗๖๓] เมื่อท่านพระอนุราธะกล่าวอย่างนี้แล้ว พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่น เหล่านั้นได้กล่าวกะท่านพระอนุราธะว่า ก็ภิกษุรูปนี้ชะรอยจักเป็นภิกษุใหม่ บวชแล้ว ไม่นาน หรือเป็นพระเถระแต่หากเป็นพระเขลา ไม่ฉลาด ครั้งนั้นแล พวกปริพาชก ผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้น ได้รุกรานท่านพระอนุราธะด้วยวาทะว่าเป็นภิกษุใหม่และ ด้วยวาทะว่าเป็นพระเขลา แล้วได้พากันลุกขึ้นจากอาสนะหลีกไป เมื่อพวก ปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้นหลีกไปแล้วไม่นาน ท่านพระอนุราธะได้มีความคิด ดังนี้ว่า ถ้าว่าพวกปริพาชกเหล่านั้นพึงถามยิ่งขึ้นไป เราจะพยากรณ์แต่พวก ปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้นอย่างไรหนอ จึงจะเป็นอันกล่าวตามพระดำรัสที่ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว จะไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่ถึงฐานะอันวิญญูชน พึงติเตียนได้ ฯ [๗๖๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุราธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์อยู่ที่กุฎีในป่าในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้ง นั้น พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นเป็นอันมาก ได้เข้าไปหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับข้าพระองค์ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ถามข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านอนุราธะ พระตถาคต ผู้เป็นอุดมบุรุษเป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุถึงธรรมอันควรบรรลุอย่างยอดเยี่ยมแล้ว เมื่อ ทรงบัญญัติข้อนั้น ย่อมทรงบัญญัติในฐานะทั้ง ๔ นี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย แล้วย่อมเกิดอีก ฯลฯ หรือว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพวกปริพาชกผู้ถือ ลัทธิอื่นเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้ตอบเขาเหล่านั้นว่า ดูกรท่าน ทั้งหลาย พระตถาคตผู้เป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุถึงธรรมอันควร บรรลุอย่างยอดเยี่ยมแล้ว เมื่อทรงบัญญัติข้อนั้น ย่อมทรงบัญญัตินอกจาก ฐานะทั้ง ๔ นี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก ฯลฯ หรือว่าสัตว์ เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดก็หามิได้ ดังนี้ ข้า แต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่น เหล่านั้นได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ก็ภิกษุรูปนี้ชะรอยจักเป็นภิกษุใหม่ บวชแล้วไม่ นาน หรือว่าเป็นพระเถระแต่หากเป็นพระเขลา ไม่ฉลาด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวก ปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้น ได้รุกรานข้าพระองค์ด้วยวาทะว่าเป็นภิกษุใหม่ และ ด้วยวาทะว่าเป็นพระเขลา แล้วได้พากันลุกขึ้นจากอาสนะหลีกไป ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ เมื่อพวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้นหลีกไปแล้วไม่นาน ข้าพระองค์ได้ มีความคิดว่า ถ้าพวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้นพึงถามเรายิ่งขึ้นไปไซร้ เราจะ พยากรณ์แก่พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้นอย่างไรจึงจะเป็นอันกล่าวตามพระ- *ดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว จะไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำไม่จริง และ พยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่ถึงฐานะอัน วิญญูชนพึงติเตียนได้ ดังนี้ พระเจ้าข้า ฯ [๗๖๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ท่านพระอนุราธะกราบทูลว่าไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ อ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ อ. ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า ฯ พ. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ อ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ อ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ อ. ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า ฯ [๗๖๖] พ. ดูกรอนุราธะ เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่ เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี รูปนั้นทั้งหมด เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็น เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอก ก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี เวทนา... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณทั้งหมด ท่านพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดูกร อนุราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ย่อม เบื่อหน่ายทั้งในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้น แล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิ ได้มีดังนี้ ฯ [๗๖๗] ดูกรอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอย่อมเห็น รูปว่าเป็นสัตว์หรือ ฯ อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. เธอเห็นเวทนาว่าเป็นสัตว์หรือ ฯ อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. เธอเห็นสัญญาว่าเป็นสัตว์หรือ ฯ อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. เธอเห็นสังขารว่าเป็นสัตว์หรือ ฯ อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. เธอเห็นวิญญาณว่าเป็นสัตว์หรือ ฯ อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ [๗๖๘] พ. ดูกรอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอย่อม เห็นว่าสัตว์ในรูปหรือ ฯ อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. เธอเห็นว่าสัตว์อื่นจากรูปหรือ ฯ อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. เธอเห็นว่า สัตว์ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ หรือ ฯ อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. เธอเห็นว่า สัตว์อื่นจากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ หรือ ฯ อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ [๗๖๙] พ. ดูกรอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นสัตว์หรือ ฯ อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ [๗๗๐] พ. ดูกรอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอเห็น ว่า สัตว์นี้ไม่มีรูป ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีสังขาร ไม่มีวิญญาณหรือ ฯ อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรอนุราธะ ก็เธอหาสัตว์ในขันธ์ ๕ นี้โดยจริง โดยแท้ ไม่ได้ ในปัจจุบัน ควรหรือที่เธอจะพยากรณ์ว่า ดูกรท่านทั้งหลาย พระตถาคตผู้เป็น อุดมบุรุษ ทรงบรรลุถึงธรรมอันควรบรรลุอย่างยอดเยี่ยมแล้ว เมื่อทรงบัญญัติข้อ นั้น ย่อมทรงบัญญัตินอกจากฐานะทั้ง ๔ นี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อม เกิดอีก ฯลฯ หรือว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิด อีกก็หามิได้ ดังนี้ ฯ อ. ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า ฯ พ. สาธุ สาธุ อนุราธะ ดูกรอนุราธะ ในกาลก่อนด้วย ในบัดนี้ด้วย เราย่อมบัญญัติทุกข์และความดับแห่งทุกข์ ฯ
จบสูตรที่ ๒

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๙๔๗๖-๙๕๙๘ หน้าที่ ๔๐๙-๔๑๔. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=9476&Z=9598&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=18&siri=283              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=762              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [762-770] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=18&item=762&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=3842              The Pali Tipitaka in Roman :- [762-770] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=18&item=762&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=3842              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i752-e.php#sutta2 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn44/sn44.002.than.html https://suttacentral.net/sn44.2/en/sujato https://suttacentral.net/sn44.2/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :