ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๘. อนุรุทธสังยุต
รโหคตวรรคที่ ๑
รโหคตสูตรที่ ๑
ว่าด้วยสติปัฏฐาน ๔
[๑๒๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ ได้เกิดความ ปริวิตกขึ้นในใจอย่างนี้ว่า สติปัฏฐาน ๔ อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งเบื่อแล้ว ชนเหล่านั้น ชื่อว่า เบื่ออริยมรรคที่จะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ สติปัฏฐาน ๔ อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว ชนเหล่านั้น ชื่อว่าปรารภอริยมรรคที่จะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ. [๑๒๕๔] ลำดับนั้น ท่านมหาโมคคัลลานะรู้ความปริวิตกในใจของท่านพระอนุรุทธะ ด้วยใจ จึงไปปรากฏในที่เฉพาะหน้าท่านอนุรุทธะ เหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้ แขนที่เหยียด ฉะนั้น ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ถามท่านอนุรุทธะด้วยเหตุเพียงเท่าไร หนอ ภิกษุจึงจะชื่อว่า ปรารภสติปัฏฐาน ๔? [๑๒๕๕] ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณา เห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในกายในภายในอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมไปในกาย ในภายในอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในกายในภายในอยู่ มี ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ย่อมพิจารณาเห็น ธรรม คือ ความเกิดขึ้นในกายในภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมไปในกายในภาย นอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในกายในภายนอกอยู่มีความ เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นในกายทั้ง ภายในและภายนอกอยู่พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมไปในกายทั้ง ภายในและภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในกายทั้งภายใน และภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้. [๑๒๕๖] ภิกษุนั้นถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่า ปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ ปฏิกูลอยู่เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญกว่าปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า ขอเรา พึงเป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่ง ปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่ เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญว่า ปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า ขอ เราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญ ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้เว้นขาดสิ่งไม่ปฏิกูล และสิ่งปฏิกูลทั้งสองนั้น แล้วมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ สัมปชัญญะในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่. [๑๒๕๗] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในเวทนาในภายในอยู่ พิจารณา เห็นธรรม คือ ความเสื่อมไปในเวทนาในภายในอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและ ความเสื่อมไปในเวทนาในภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้ ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในเวทนาในภายนอกอยู่ พิจารณา เห็นธรรม คือ ความเสื่อมไปในเวทนาในภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นแล ความเสื่อมไปในเวทนาในภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้ ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในเวทนาทั้งภายในและภายนอก อยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมไปในเวทนาทั้งภายในและภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในเวทนาทั้งภายในภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้. [๑๒๕๘] ภิกษุนั้นถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูล อยู่เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ฯลฯ ถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราเป็นผู้ เว้นขาดสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลทั้งสองนั้นแล้วมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด ก็ย่อมเป็น ผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่. [๑๒๕๙] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในจิตในภายใน ฯลฯ พิจารณา เห็นธรรมคือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในจิตทั้งภายในและภายนอกอยู่ มีความเพียร มี สัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้. [๑๒๖๐] ภิกษุนั้นถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล อยู่เถิด ฯลฯ ก็ย่อมเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่. [๑๒๖๑] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายในภายใน ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในธรรมทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้. [๑๒๖๒] ภิกษุนั้นถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูล อยู่เถิด ฯลฯ ก็ย่อมเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่ ดูกรท่านผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงจะชื่อว่าปรารภสติปัฏฐาน ๔.
จบ สูตรที่ ๑

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๗๒๔๗-๗๓๐๕ หน้าที่ ๓๐๒-๓๐๔. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=7247&Z=7305&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=19&siri=287              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1253              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [1253-1262] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=19&item=1253&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=7432              The Pali Tipitaka in Roman :- [1253-1262] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=19&item=1253&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=7432              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn52.1/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :