ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒
๑. มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๓
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๒๕๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ เก็บเอาคำส่อเสียดของพวกภิกษุ ผู้ก่อความบาดหมาง เกิดทะเลาะ ถึงวิวาทกัน ไปบอก คือฟังคำของฝ่ายนี้แล้ว บอกแก่ฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้, ฟังคำของฝ่ายโน้น แล้วบอกแก่ฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น, เพราะเหตุนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็รุนแรงยิ่งขึ้น. บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็ เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้เก็บเอาคำส่อเสียดของพวกภิกษุ ผู้ก่อความ บาดหมาง เกิดทะเลาะ ถึงวิวาทกัน ไปบอก คือฟังคำของฝ่ายนี้แล้ว บอกแก่ฝ่ายโน้น เพื่อทำลาย ฝ่ายนี้ ฟังคำของฝ่ายโน้น แล้วบอกแก่ฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น เพราะเหตุนั้น ความบาด หมางที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็รุนแรงยิ่งขึ้น แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้นในเพราะ เหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอเก็บเอา คำส่อเสียดของพวกภิกษุผู้ก่อความบาดหมาง เกิดทะเลาะ ถึงวิวาทกัน ไปบอก คือฟังคำของ ฝ่ายนี้ แล้วบอกแก่ฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้, ฟังคำของฝ่ายโน้น แล้วบอกแก่ฝ่ายนี้ เพื่อทำลาย ฝ่ายโน้น, เพราะเหตุนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็รุนแรงยิ่งขึ้น จริงหรือ? พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงได้เก็บเอา คำส่อเสียดของพวกภิกษุผู้ก่อความบาดหมาง เกิดทะเลาะ ถึงวิวาทกัน ไปบอก คือฟังคำของ ฝ่ายนี้ แล้วบอกแก่ฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้, ฟังคำของฝ่ายโน้น แล้วบอกแก่ฝ่ายนี้ เพื่อทำลาย ฝ่ายโน้น เพราะเหตุนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็รุนแรงยิ่งขึ้น การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๕๒. ๓. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะส่อเสียดภิกษุ.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๒๕๖] ที่ชื่อว่า ส่อเสียด ขยายความว่า วัตถุสำหรับเก็บมาส่อเสียด มีได้ด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ ของคนผู้ต้องการจะให้เขาชอบ ๑ ของคนผู้ประสงค์จะให้เขาแตกกัน ๑. ภิกษุเก็บเอาวัตถุสำหรับส่อเสียดมากล่าวโดยอาการ ๑๐ อย่าง คือ ชาติ ๑ ชื่อ ๑ โคตร ๑ การงาน ๑ ศิลปะ ๑ โรค ๑ รูปพรรณ ๑ กิเลส ๑ อาบัติ ๑ คำด่า ๑.
บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า ชาติ ได้แก่กำเนิด มี ๒ คือ กำเนิดทราม ๑ กำเนิดอุกฤษฏ์ ๑. ที่ชื่อว่า กำเนิดทราม ได้แก่กำเนิดคนจัณฑาล กำเนิดคนจักสาน กำเนิดพราน กำเนิดคนช่างหนัง กำเนิดคนเทดอกไม้ นี่ชื่อว่ากำเนิดทราม. ที่ชื่อว่า กำเนิดอุกฤษฏ์ ได้แก่กำเนิดกษัตริย์ กำเนิดพราหมณ์ นี่ชื่อว่า กำเนิด อุกฤษฏ์ ฯลฯ ๑- ที่ชื่อว่า คำด่า ได้แก่คำด่ามี ๒ คำ คำด่าทราม ๑ คำด่าอุกฤษฏ์ ๑. ที่ชื่อว่า คำด่าทราม ได้แก่คำด่าว่า เป็นอูฐ เป็นแพะ เป็นโค เป็นลา เป็นสัตว์- *ดิรัจฉาน เป็นสัตว์นรก, สุคติของท่านไม่มี, ท่านต้องหวังได้แต่ทุคติ, คำด่าที่เกี่ยวด้วยยะอักษร ภะอักษร, หรือนิมิตของชายและนิมิตของหญิง นี่ชื่อว่า คำด่าทราม. @๑. ที่ ฯลฯ ไว้นี้ หมายถึงนาม โคตรเป็นต้น พึงดูในสิกขาบทที่ ๒ ข้อ ๑๘๘ ถึง ๑๙๕ @หน้า ๒๕-๒๗ ที่ชื่อว่า คำด่าอุกฤษฏ์ ได้แก่คำด่าว่า เป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็นนักปราชญ์ เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก, ทุคติของท่านไม่มี, ท่านต้องหวังได้แต่สุคติ, นี่ชื่อว่า คำด่าอุกฤษฏ์.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ บรรทัดที่ ๖๗๒๒-๖๗๗๑ หน้าที่ ๒๗๕-๒๗๗. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=2&A=6722&Z=6771&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=2&siri=39              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=255              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [255-256] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=2&item=255&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=6092              The Pali Tipitaka in Roman :- [255-256] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=2&item=255&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=6092              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc3/en/brahmali

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :