ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๑๒. นาคิตสูตร
[๓๑๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุ สงฆ์หมู่ใหญ่ ได้เสด็จถึงพราหมณคามของชาวโกศลชื่ออิจฉานังคละ ได้ยินว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ไพรสณฑ์ชื่ออิจฉานังคละ ใกล้อิจฉานังคลคาม พราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านอิจฉานังคละได้สดับข่าวว่า พระสมณโคดมศากยบุตร เสด็จออกบวชจากศากยสกุล เสด็จถึงบ้านอิจฉานังคละ ประทับอยู่ ณ ไพรสณฑ์ ชื่ออิจฉานังคละ ใกล้อิจฉานังคลคาม ก็กิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคดม พระองค์นั้น ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ฯลฯ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม พระองค์ทรงทำ โลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งของ พระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้ รู้ตาม ทรงแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น ย่อมเป็นการดี ดังนี้ ครั้งนั้น พราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านอิจฉานังคละ เมื่อล่วงราตรีนั้นไปแล้ว ถือ ขาทนียโภชนียาหารเป็นอันมาก ไปยังไพรสณฑ์ชื่ออิจฉานังคละ แล้วได้ยืนอยู่ที่ ซุ้มประตูภายนอก ส่งเสียงอื้ออึง ฯ ก็สมัยนั้น ท่านพระนาคิตะเป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาค ครั้งนั้น พระผู้ มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระนาคิตะว่า ดูกรนาคิตะ พวกใครนั่นส่งเสียงอื้ออึง เหมือนชาวประมงแย่งปลากัน ฯ ท่านพระนาคิตะได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชนเหล่านั้น คือ พราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านอิจฉานังคละ ถือขาทนียโภชนียาหารเป็นอันมาก มาจะถวายพระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ ยืนอยู่ที่ซุ้มประตูภายนอก พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรนาคิตะ ขอเรา (ตถาคต) อย่าติดยศ และยศอย่าได้ติดเรา ดูกรนาคิตะ ผู้ใดเป็นผู้ไม่ได้ตามความปรารถนา ไม่ได้โดยไม่ยาก ไม่ได้โดยไม่ ลำบาก ซึ่งสุขอันเกิดแต่เนกขัมมะ สุขอันเกิดแต่วิเวก สุขอันเกิดแต่ความสงบ สุขอันเกิดแต่ความตรัสรู้ ซึ่งเราได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดย ไม่ลำบาก ผู้นั้นพึงยินดีสุขที่เกิดแต่ของไม่สะอาด สุขที่เกิดเพราะการหลับ สุขที่ เกิดเพราะลาภ สักการะและการสรรเสริญ ฯ นา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคจงรับ ขอพระสุคต จงรับ เวลานี้เป็นเวลาที่พระผู้มีพระภาคควรรับ เวลานี้เป็นเวลาที่พระสุคต (พระผู้ มีพระภาค) ควรรับ บัดนี้ พราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท จัก พากันหลั่งไหลไปทางที่พระผู้มีพระภาคเสด็จไป เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดใหญ่ ตกลงน้ำย่อมไหลไปตามที่ลุ่ม ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะพระผู้มี พระภาคทรงมีศีลและปัญญาณะ ฯ พ. ดูกรนาคิตะ เราอย่าได้ติดยศ และยศอย่าติดเรา ดูกรนาคิตะ ผู้ใดเป็น ผู้ไม่ได้ตามความปรารถนา ไม่ได้โดยไม่ยาก ไม่ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งสุขอันเกิด แต่เนกขัมมะ สุขอันเกิดแต่วิเวก สุขอันเกิดแต่ความสงบ สุขอันเกิดแต่ความ ตรัสรู้ ซึ่งเราได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ผู้นั้นพึง ยินดีสุขอันเกิดแต่ของไม่สะอาด สุขที่เกิดเพราะการหลับ สุขที่เกิดเพราะลาภ สักการะและการสรรเสริญ ดูกรนาคิตะ เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้อยู่ใกล้บ้าน ผู้นั่งเข้าสมาธิอยู่ใกล้บ้าน เราย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้ ไฉนคนวัดจักยัง ท่านผู้มีอายุรูปนี้ให้สืบต่อสมาธินั้นได้ หรือสามเณรจักยังท่านผู้มีอายุนั้นได้ หรือ สามเณรจักยังท่านผู้มีอายุนั้นให้เลื่อนจากสมาธิ ฉะนั้น เราจึงไม่พอใจด้วยการ อยู่ใกล้บ้านของภิกษุนั้น อนึ่ง เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร นั่งโงกง่วงอยู่ในป่า เราย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้ ท่านผู้มีอายุรูปนี้ จัก บรรเทาความเหน็ดเหนื่อยเพราะการนอนนี้ แล้วกระทำอรัญญสัญญาไว้ในใจเป็น เอกัคคตา ฉะนั้น เราจึงพอใจด้วยการอยู่ในป่าของภิกษุรูปนั้น อนึ่ง เราเห็น ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ไม่มีจิตเป็นสมาธินั่งอยู่ในป่า เรามีความ คิดอย่างนี้ว่า บัดนี้ ท่านผู้มีอายุรูปนี้ จักตั้งจิตที่ไม่เป็นสมาธิให้เป็นสมาธิ หรือ จักตามรักษาจิตที่เป็นสมาธิไว้ ฉะนั้น เราจึงพอใจด้วยการอยู่ในป่าของภิกษุนั้น อนึ่ง เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร มีจิตเป็นสมาธินั่งอยู่ในป่า เรามีความคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้ ท่านผู้มีอายุรูปนี้ จักเปลื้องจิตที่ยังไม่หลุดพ้นให้ หลุดพ้นหรือจักตามรักษาจิตที่หลุดพ้นแล้วไว้ ฉะนั้น เราจึงพอใจด้วยการอยู่ป่าของ ภิกษุนั้น อนึ่ง เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ใกล้บ้าน ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธอพอใจลาภ สักการะและการสรรเสริญ นั้นย่อมละทิ้งการหลีกออกเร้น ย่อมละทิ้งเสนาสนะสงัดอันตั้งอยู่ในราวป่า มารวม กันอยู่ยังบ้าน นิคม และราชธานี ฉะนั้น เราจึงไม่พอใจด้วยการอยู่ใกล้บ้านของ ภิกษุนั้น อนึ่ง เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร เธอละลาภ สักการะและการสรรเสริญ นั้น ย่อมไม่ละทิ้งการหลีกออกเร้น ย่อมไม่ละทิ้งเสนาสนะสงัดอันตั้งอยู่ในราว ป่า ฉะนั้น เราจึงพอใจด้วยการอยู่ป่าของภิกษุนั้น อนึ่งสมัยใด เราเดิน ทางไกล ย่อมไม่เห็นใครข้างหน้าหรือข้างหลัง สมัยนั้น เราย่อมมีความสบาย โดยที่สุดด้วยการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ฯ
จบสูตรที่ ๑๒
จบเสกขปริหานิยวรรคที่ ๔
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. เสกขสูตร ๒. อปริหานิยสูตรที่ ๑ ๓. อปริหานิยสูตรที่ ๒ ๔. โมคคัลลานสูตร ๕. วิชชาภาคิยสูตร ๖. วิวาทมูลสูตร ๗. ทาน สูตร ๘. อัตตการีสูตร ๙. นิทานสูตร ๑๐. กิมมิลสูตร ๑๑. ทารุกขันธ สูตร ๑๒. นาคิตสูตร ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๘๐๓๙-๘๑๑๒ หน้าที่ ๓๕๒-๓๕๕. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=8039&Z=8112&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=22&siri=293              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=313              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [313] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=22&item=313&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=2682              The Pali Tipitaka in Roman :- [313] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=22&item=313&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=2682              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i302-e.php#sutta12 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an06/an06.042.than.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/06/an06-042.html https://suttacentral.net/an6.42/en/sujato https://suttacentral.net/an6.42/en/thanissaro

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :