ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
เทวตาวรรคที่ ๔
อัปปมาทสูตร
[๒๙] ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว เทวดาตนหนึ่งมีผิวพรรณ งาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบ ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม แก่ภิกษุ ๗ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา ๑ ความ เป็นผู้เคารพในธรรม ๑ ความเป็นผู้เคารพในสงฆ์ ๑ ความเป็นผู้เคารพในสิกขา ๑ ความเป็นผู้เคารพในสมาธิ ๑ ความเป็นผู้เคารพในความไม่ประมาท ๑ ความเป็น ผู้เคารพในปฏิสันถาร ๑ ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ ภิกษุ เทวดานั้นกราบทูลดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ลำดับนั้น เทวดา นั้นทราบว่า พระศาสดาทรงพอพระทัยเรา ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้ว หายไป ณ ที่นั้นเอง ครั้นล่วงราตรีนั้นไป พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลาย ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อปฐมยามล่วงไป เทวดาตนหนึ่งมีผิวพรรณ งาม ยังวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสวแล้ว เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ไหว้เราแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ๗ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา ๑ ความเป็นผู้เคารพในธรรม ๑ ความเป็น ผู้เคารพในสงฆ์ ๑ ความเป็นผู้เคารพในสิกขา ๑ ความเป็นผู้เคารพในสมาธิ ๑ ความเป็นผู้เคารพในความไม่ประมาท ๑ ความเป็นผู้เคารพในปฏิสันถาร ๑ ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดานั้นครั้นกล่าวดังนี้แล้ว ไหว้เรา กระทำประทักษิณแล้ว หายไป ณ ที่นั้นเอง ฯ ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพในธรรม มี ความเคารพอย่างแรงกล้าในสงฆ์ มีความเคารพในสมาธิ มี ความเพียร มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา มีความ เคารพในความไม่ประมาท มีความเคารพในปฏิสันถาร เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความเสื่อม ย่อมมีในที่ใกล้นิพพานทีเดียว ฯ
จบสูตรที่ ๑
หิรีมาสูตร
[๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว เทวดา ตนหนึ่งมีผิวพรรณงาม ยังวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสวแล้ว เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ไหว้เราแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ๗ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา ๑ ความเป็นผู้เคารพ ในธรรม ๑ ความเป็นผู้เคารพในสงฆ์ ๑ ความเป็นผู้เคารพในสิกขา ๑ ความ เป็นผู้เคารพในสมาธิ ๑ ความเป็นผู้เคารพในหิริ ๑ ความเป็นผู้เคารพใน โอตตัปปะ ๑ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อ ความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ เทวดานั้นครั้นกล่าวดังนี้แล้ว ไหว้เรา กระทำประทักษิณ แล้วหายไป ณ ที่นั้นเอง ฯ ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพในธรรม มี ความเคารพอย่างแรงกล้าในสงฆ์ มีความเคารพในสมาธิ มี ความเพียร มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา ถึงพร้อม ด้วยหิริและโอตตัปปะ มีความเคารพ ยำเกรง เป็นผู้ไม่ควร เพื่อความเสื่อม ย่อมมีในที่ใกล้นิพพานทีเดียว ฯ
จบสูตรที่ ๒
สุวจสูตรที่ ๑
[๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว เทวดา ตนหนึ่ง ฯลฯ ได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อม เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ๗ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้เคารพใน พระศาสดา ๑ ความเป็นผู้เคารพในธรรม ๑ ความเป็นผู้เคารพในสงฆ์ ๑ ความ เป็นผู้เคารพในสิกขา ๑ ความเป็นผู้เคารพในสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ ความเป็นผู้มีมิตรดีงาม ๑ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไป เพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดานั้น ครั้นกล่าวดังนี้แล้ว ไหว้เรา กระทำประทักษิณแล้ว หายไป ณ ที่นั้นเอง ฯ ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพในธรรม มี ความเคารพอย่างแรงกล้าในสงฆ์ มีความเคารพในสมาธิ มี ความเพียร มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา มีมิตรดีงาม เป็นผู้ว่าง่าย มีความเคารพ ยำเกรง เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความ เสื่อม ย่อมมีในที่ใกล้นิพพานทีเดียว ฯ
จบสูตรที่ ๓
สุวจสูตรที่ ๒
[๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว เทวดา ตนหนึ่ง ฯลฯ ได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อม เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ๗ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้เคารพใน พระศาสดา ๑ ความเป็นผู้เคารพในธรรม ๑ ความเป็นผู้เคารพในสงฆ์ ๑ ความ เป็นผู้เคารพในสิกขา ๑ ความเป็นผู้เคารพในสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ ความ เป็นผู้มีมิตรดีงาม ๑ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไป เพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดานั้นครั้นกล่าวดังนี้แล้ว ไหว้ เรากระทำประทักษิณแล้ว หายไป ณ ที่นั้นเอง ฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตที่พระองค์ตรัส แล้วโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ตนเองเป็นผู้มีความ เคารพในพระศาสดา กล่าวสรรเสริญความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา ชักชวน ภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดาให้เคารพในพระศาสดา และกล่าว สรรเสริญภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา ตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร ตนเองเป็นผู้เคารพในธรรม ฯลฯ ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสงฆ์ ฯลฯ ตนเอง เป็นผู้มีความเคารพในสิกขา ฯลฯ ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสมาธิ ฯลฯ ตน เองเป็นผู้ว่าง่าย ฯลฯ ตนเองเป็นผู้มีมิตรดีงาม กล่าวสรรเสริญความเป็นผู้มีมิตรดีงาม ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่มีมิตรดีงาม ให้เป็นผู้มีมิตรดีงาม และกล่าวสรรเสริญ ภิกษุเหล่าอื่นผู้มีมิตรดีงาม ตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร ข้าแต่พระองค์ผู้ เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยย่อ นี้ โดยพิสดารอย่างนี้ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร เธอรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่ง ภาษิตที่เรากล่าวแล้วโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้ เป็นการดีแล ดูกรสารีบุตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา กล่าวสรรเสริญ ความเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่มีความเคารพใน พระศาสดา ให้เป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา และกล่าวสรรเสริญภิกษุเหล่า อื่นผู้มีความเคารพในพระศาสดา ตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร ตนเองเป็น ผู้มีความเคารพในธรรม ฯลฯ ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสงฆ์ ฯลฯ ตนเอง เป็นผู้มีความเคารพในสิกขา ฯลฯ ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสมาธิ ฯลฯ ตนเองเป็นผู้ว่าง่าย ฯลฯ ตนเองเป็นผู้มีมิตรดีงาม กล่าวสรรเสริญความเป็นผู้มี มิตรดีงาม ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่มีมิตรดีงาม ให้เป็นผู้มีมิตรดีงาม และกล่าว สรรเสริญภิกษุเหล่าอื่นผู้มีมิตรดีงาม ตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร ดูกร สารีบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งภาษิตที่เรากล่าวแล้วโดยย่อนี้ โดยพิสดาร อย่างนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๔

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๖๘๐-๗๗๖ หน้าที่ ๓๑-๓๕. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=680&Z=776&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=23&siri=29              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=29              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [29-32] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=23&item=29&items=4              The Pali Tipitaka in Roman :- [29-32] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=23&item=29&items=4              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i029-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an07/an07.031.than.html https://suttacentral.net/an7.32/en/sujato https://suttacentral.net/an7.32/en/thanissaro

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :