ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

หน้าที่ ๒๕๖.

ชานุสโสณีวรรคที่ ๒
ปัจโจโรหณีสูตรที่ ๑
[๑๕๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ชานุสโสณีพราหมณ์สนานเกล้าในวันอุโบสถ นุ่งห่มผ้าไหมทั้งคู่อันใหม่ ถือกำหญ้าคาสดไปยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ในที่ ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นชานุสโสณีพราหมณ์ ผู้สนานเกล้าในวันอุโบสถ นุ่งห่มผ้าไหมทั้งคู่อันใหม่ ถือกำหญ้าคาสดยืนอยู่ ณ ที่ ควรส่วนข้างหนึ่งที่ไม่ไกล ครั้นแล้วได้ตรัสถามชานุสโสณีพราหมณ์ว่า ดูกร พราหมณ์ เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงสนานเกล้าในวันอุโบสถ นุ่งห่มผ้าไหมทั้งคู่ อันใหม่ ถือกำหญ้าคาสดมายืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง วันนี้เป็นวันอะไรของสกุล พราหมณ์ ชานุสโสณีพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ วันนี้เป็นวัน ปลงบาปของสกุลพราหมณ์ ฯ พ. ดูกรพราหมณ์ ก็พิธีปลงบาปของพราหมณ์ทั้งหลายย่อมมีด้วยประการ ไรเล่า ฯ ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พราหมณ์ทั้งหลายในโลกนี้ ในวันอุโบสถ สนานเกล้า นุ่งห่มผ้าไหมทั้งคู่อันใหม่ ทาแผ่นดินด้วยโคมัยสด ลาดด้วยหญ้าคา ทั้งหลายที่เขียวสดแล้ว สำเร็จการนอนในระหว่างกองทรายและเรือนไฟ ในราตรี นั้น พราหมณ์เหล่านั้นย่อมลุกขึ้นประนมอัญชลีนมัสการไฟ ๓ ครั้ง ด้วยการกล่าว ว่า ข้าพเจ้าขอปลงบาปกะท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอปลงบาปกะท่านผู้เจริญ ดังนี้ และย่อมยังไฟให้อิ่มหนำด้วยเนยใส น้ำมันและเนยข้นอันเพียงพอ พอล่วงราตรี นั้นไป ย่อมเลี้ยงพราหมณ์ทั้งหลายให้อิ่มหนำด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีต ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พิธีปลงบาปของพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมมีด้วยประการ อย่างนี้แล ฯ พ. ดูกรพราหมณ์ พิธีปลงบาปของพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมมีโดยประ การอย่างอื่น ส่วนพิธีปลงบาปในวินัยของพระอริยะ ย่อมมีโดยประการ อย่างอื่น ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๕๗.

ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พิธีปลงบาปในวินัยของพระอริยะย่อมมีโดย ประการใดเล่า ขอประทานพระวโรกาส ขอพระโคดมผู้เจริญ โปรดทรงแสดง ธรรมแก่ข้าพระองค์ตามพิธีปลงบาปในวินัยของพระอริยะด้วยเถิด ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้นท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ ดี เราจักกล่าว ชานุสโสณีพราหมณ์ทูลรับแด่พระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระ ภาคได้ตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากของปาณาติบาต เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ อริยสาวก นั้นครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละปาณาติบาต ย่อมปลงบาปจากปาณาติบาต ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งอทินนาทานเป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งใน สัมปรายภพ อริยสาวกนั้นครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละอทินนาทาน ย่อม ปลงบาปจากอทินนาทาน ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งกาเมสุมิจฉาจารเป็น สิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ อริยสาวกนั้นครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละกาเมสุมิจฉาจาร ย่อมปลงบาปจากกาเมสุมิจฉาจาร ย่อมพิจารณาเห็นดัง นี้ว่า วิบากแห่งมุสาวาทเป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ อริยสาวก นั้นครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมุสาวาท ย่อมปลงบาปจากมุสาวาท ย่อม พิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งปิสุณาวาจา เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งใน สัมปรายภพ อริยสาวกนั้นครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละปิสุณาวาจา ย่อม ปลงบาปจากปิสุณาวาจา ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งผรุสวาจา เป็นสิ่งที่ ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ อริยสาวกนั้นครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละผรุสวาจา ย่อมปลงบาปจากผรุสวาจา ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่ง สัมผัปปลาปวาจา เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ อริยสาวกนั้น ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละสัมผัปปลาปวาจา ย่อมปลงบาปจากสัมผัปปลาป วาจา ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งอภิชฌา เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ อริยสาวกนั้นครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละอภิชฌา ย่อม

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๕๘.

ปลงบาปจากอภิชฌา ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งพยาบาท เป็นสิ่งที่ชั่วช้า ทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ อริยสาวกนั้นครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละ พยาบาท ย่อมปลงบาปจากพยาบาท ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาทิฐิ เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ อริยสาวกนั้นครั้นพิจารณาเห็นดังนี้ แล้ว ย่อมละมิจฉาทิฐิ ย่อมปลงบาปจากมิจฉาทิฐิ ดูกรพราหมณ์ พิธีปลงบาป ในวินัยของพระอริยะ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้แล ฯ ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พิธีปลงบาปของพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมมีโดยประการอื่น ส่วนพิธีปลงบาปในวินัยของพระอริยะ ย่อมมีโดย ประการอื่น ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็พิธีปลงบาปของพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อม ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งพิธีปลงบาปในวินัยของพระอริยะนี้ ข้าแต่พระโคดม ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำ ข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
จบสูตรที่ ๑
ปัจโจโรหณีสูตรที่ ๒
[๑๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพิธีปลงบาปอันเป็นของพระ อริยะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุ เหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พิธีปลงบาปอันเป็นของพระอริยะเป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อม พิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากของปาณาติบาต เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งใน สัมปรายภพ อริยสาวกนั้นครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละปาณาติบาต ย่อม ปลงบาปจากปาณาติบาต ... ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาทิฐิ เป็น สิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ อริยสาวกนั้นครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๕๙.

ย่อมละมิจฉาทิฐิ ย่อมปลงบาปจากมิจฉาทิฐิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าพิธี ปลงบาปอันเป็นของพระอริยะ ฯ
จบสูตรที่ ๒
สคารวสูตร
[๑๕๘] ครั้งนั้นแล สคารวพราหมณ์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไป แล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นฝั่งนี้ อะไรเป็นฝั่งโน้น พระผู้มีพระภาค ตรัสตอบว่า ดูกรพราหมณ์ ปาณาติบาตเป็นฝั่งนี้ เจตนาเครื่องเว้นจาก ปาณาติบาตเป็นฝั่งโน้น อทินนาทานเป็นฝั่งนี้ เจตนาเครื่องเว้นจากอทินนาทานเป็น ฝั่งโน้น กาเมสุมิจฉาจารเป็นฝั่งนี้ เจตนาเครื่องเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารเป็นฝั่งโน้น มุสาวาทเป็นฝั่งนี้ เจตนาเครื่องเว้นจากมุสาวาทเป็นฝั่งโน้น ปิสุณาวาจาเป็นฝั่งนี้ เจตนาเครื่องเว้นจากปิสุณาวาจาเป็นฝั่งโน้น ผรุสวาจาเป็นฝั่งนี้ เจตนาเครื่องเว้น จากผรุสวาจาเป็นฝั่งโน้น สัมผัปปลาปวาจาเป็นฝั่งนี้ เจตนาเครื่องเว้นจาก สัมผัปปลาปวาจาเป็นฝั่งโน้น อภิชฌาเป็นฝั่งนี้ อนภิชฌาเป็นฝั่งโน้น พยาบาท เป็นฝั่งนี้ อพยาบาทเป็นฝั่งโน้น มิจฉาทิฐิเป็นฝั่งนี้ สัมมาทิฐิเป็นฝั่งโน้น ดูกร พราหมณ์ นี้แลเป็นฝั่งนี้ นี้แลเป็นฝั่งโน้น ฯ ในหมู่มนุษย์ เหล่าชนที่ไปถึงฝั่งโน้นมีประมาณน้อย ส่วน หมู่สัตว์นอกนี้เลาะไปตามฝั่งทั้งนั้น ส่วนชนเหล่าใด ประพฤติตามธรรม ในธรรมอันพระตถาคตตรัสแล้วโดยชอบ ชนเหล่านั้นจักข้ามพ้นวัฏฏะ อันเป็นบ่วงมารที่ข้ามพ้นได้ แสนยาก แล้วจักถึงฝั่งโน้น คือ นิพพาน บัณฑิตละธรรม ดำเสียแล้ว พึงยังธรรมขาวให้เจริญ บัณฑิตละกามทั้งหลาย แล้ว เป็นผู้ไม่มีกังวล ออกจากความอาลัย อาศัยธรรมไม่มี

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๖๐.

ความอาลัย พึงปรารถนาความยินดียิ่งในวิเวกที่ยินดีได้ แสนยาก บัณฑิตพึงชำระตนให้ผ่องแผ้ว จากเครื่องเศร้า หมองจิตทั้งหลาย บัณฑิตเหล่าใด อบรมจิตโดยชอบใน องค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ทั้งหลาย ไม่ถือมั่นแล้ว ยินดี ในนิพพานเป็นที่สละความถือมั่น บัณฑิตเหล่านั้นสิ้นอาสวะ มีความรุ่งเรือง ดับสนิทแล้วในโลก ฯ
จบสูตรที่ ๓
โอริมสูตร
[๑๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงฝั่งนี้และฝั่งโน้นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับแด่พระผู้มีพระ ภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฝั่งนี้เป็นไฉน และฝั่ง โน้นเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปาณาติบาตเป็นฝั่งนี้ เจตนาเครื่องเว้นจาก ปาณาติบาต เป็นฝั่งโน้น ... มิจฉาทิฐิเป็นฝั่งนี้ สัมมาทิฐิเป็นฝั่งโน้น ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย นี้แลเป็นฝั่งนี้ นี้แลเป็นฝั่งโน้น ฯ ในหมู่มนุษย์ เหล่าชนที่ไปถึงฝั่งโน้น มีประมาณน้อย ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้เลาะไปตามฝั่งทั้งนั้น ส่วนชนเหล่าใด ประพฤติตามธรรม ในธรรมอันพระตถาคตตรัสแล้ว โดยชอบ ชนเหล่านั้นจักข้ามพ้นวัฏฏะ อันเป็นบ่วงมาร ที่ข้ามพ้นได้แสนยาก แล้วจักถึงฝั่งโน้น คือ นิพพาน บัณฑิตละธรรมดำเสียแล้ว พึงยังธรรมขาวให้เจริญ บัณฑิต ละกามทั้งหลายแล้ว เป็นผู้ไม่มีกังวล ออกจากความอาลัย อาศัยธรรมไม่มีความอาลัย พึงปรารถนาความยินดียิ่งใน วิเวกที่ยินดีได้แสนยาก บัณฑิตพึงชำระตนให้ผ่องแผ้วจาก

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๖๑.

เครื่องเศร้าหมองจิตทั้งหลาย บัณฑิตเหล่าใดอบรมจิตแล้ว โดยชอบ ในองค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ทั้งหลาย ไม่ถือมั่น แล้ว ยินดีในนิพพานเป็นที่สละความถือมั่น บัณฑิตเหล่านั้น สิ้นอาสวะ มีความรุ่งเรือง ดับสนิทแล้วในโลก ฯ
จบสูตรที่ ๔
อธรรมสูตรที่ ๑
[๑๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ บุคคลควรทราบ สิ่งที่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นประโยชน์ บุคคลควรทราบ ครั้น ทราบสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ สิ่งที่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็น ประโยชน์แล้ว พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม ตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เป็นไฉน คือ ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปวาจา อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฐิ นี้เรียกว่าสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เป็นธรรม และสิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นไฉน คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาต ... จากสัมผัปปลาปวาท อนภิชฌา อพยาบาท สัมมาทิฐิ นี้เรียกว่าสิ่งที่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นประโยชน์ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ บุคคล ควรทราบ สิ่งที่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นประโยชน์ บุคคลควรทราบ ครั้นทราบสิ่ง ที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ สิ่งที่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นประโยชน์ แล้ว พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม ตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ คำที่เรากล่าวดังนี้ เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๕

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๖๒.

อธรรมสูตรที่ ๒
[๑๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรม และสิ่งที่เป็นธรรม บุคคล ควรทราบ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ บุคคลควรทราบ ครั้นทราบสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่เป็นประโยชน์และสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์แล้ว พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม ตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ พระผู้มีพระภาคผู้สุคตครั้นตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว เสด็จลุกขึ้นจากอาสนะ เข้าไปสู่พระวิหาร ลำดับนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงหลีกไปแล้วไม่นาน ภิกษุเหล่า นั้นได้พูดกันดังนี้ว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลาย ทรงแสดงอุทเทศนี้โดยย่อว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรม และ สิ่งที่เป็น ธรรมบุคคลควรทราบ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์บุคคลควร ทราบ ครั้นทราบสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ และ สิ่งที่เป็นประโยชน์แล้ว พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม ตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ ดังนี้ ไม่ได้ทรงจำแนกอรรถโดยพิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปสู่พระวิหาร เสีย ใครหนอแลพึงจำแนกอรรถแห่งอุทเทศ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกโดยพิสดารนี้โดยพิสดารได้ ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นมีความเห็น ร่วมกันว่า ท่านพระมหากัจจายนะนี้แล พระศาสดาทรงสรรเสริญ และเพื่อนสพรหม จารีทั้งหลายผู้เป็นวิญญูยกย่อง ท่านพระมหากัจจายนะคงสามารถเพื่อจำแนกอรรถ- *แห่งอุทเทศ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกโดยพิสดารนี้ โดย พิสดารได้ ไฉนหนอ พวกเราพึงเข้าไปหาท่านพระมหากัจจายนะถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว พึงถามอรรถข้อนี้กะท่านพระมหากัจจายนะเถิด ท่านพระมหากัจจายนะจักพยากรณ์ แก่เราทั้งหลายด้วยประการใด เราทั้งหลายจักทรงจำเนื้อความนั้นไว้ด้วยประการนั้น ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้เข้าไปหาท่านพระมหากัจจายนะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัย กับท่านพระมหากัจจายนะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระมหากัจจายนะว่า ดูกรท่าน กัจจายนะผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุเทศนี้โดยย่อว่า

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๖๓.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรมบุคคลควรทราบ ... พึง ปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม ตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ ดังนี้ ไม่ทรงจำแนกอรรถ โดยพิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปสู่พระวิหาร ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อพระผู้มี พระภาคของเราทั้งหลาย ทรงหลีกไปแล้วไม่นาน กระผมทั้งหลายได้พูดกันดังนี้ว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทศนี้โดยย่อว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรมบุคคลควรทราบ ... พึง ปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม ตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ ดังนี้ ไม่ทรงจำแนกอรรถโดย พิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปสู่พระวิหาร ใครหนอแลพึงจำแนกอรรถแห่ง อุทเทศที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกอรรถโดยพิสดารนี้โดย พิสดารได้ ดังนี้ ดูกรท่านผู้มีอายุ กระผมทั้งหลายได้มีความเห็นร่วมกันว่า ท่าน พระมหากัจจายนะนี้แล พระศาสดาทรงสรรเสริญแล้ว และเพื่อนสพรหมจารี ทั้งหลายผู้เป็นวิญญูยกย่องแล้ว ท่านพระมหากัจจายนะคงสามารถเพื่อจำแนก อรรถแห่งอุทเทศที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกอรรถโดยพิสดาร นี้โดยพิสดารได้ ไฉนหนอ เราทั้งหลายพึงเข้าไปหาท่านพระมหากัจจายนะถึงที่อยู่ ครั้นแล้วพึงถามอรรถข้อนี้กะท่านพระมหากัจจายนะเถิด ท่านพระมหากัจจายนะจัก พยากรณ์แก่เราทั้งหลาย ด้วยประการใด เราทั้งหลายจักทรงจำอรรถนั้นไว้ ด้วย ประการนั้น ขอท่านพระมหากัจจายนะโปรดจำแนกเถิด ฯ ท่านพระมหากัจจายนะกล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษ ต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่น ตั้งอยู่ ล่วงเลยรากไปเสีย ล่วงเลยลำต้นไปเสีย พึงสำคัญกิ่งและใบว่าเป็นแก่น ไม้ ที่ตนพึงแสวงหา แม้ฉันใด ข้ออุปไมยนี้ก็ฉันนั้น เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ เฉพาะหน้าท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายผ่านพ้นพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เสียแล้ว ย่อมสำคัญอรรถอันนั้นว่า ควรถามข้าพเจ้า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นผู้มีจักษุ มีพระญาณ มีธรรม เป็นผู้ยิ่งใหญ่ เป็นผู้ตรัสบอก ทรงให้เป็นไป ทรงแสดงประโยชน์ ประทานอมตธรรม เป็น

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๖๔.

เจ้าของธรรม เป็นพระตถาคต ทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น ก็แลกาลนั้น เป็นการควรแก่พระผู้มีพระภาคที่ท่านทั้งหลายเข้าไปเฝ้าแล้ว พึงทูล ถามอรรถอันนั้น พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงพยากรณ์ด้วยประการใด ท่านทั้งหลายพึงทรงอรรถนั้นไว้ด้วยประการนั้นเถิด ฯ ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า ดูกรท่านพระกัจจายนะผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเป็น ผู้มีจักษุ มีพระญาณ มีธรรม เป็นผู้ยิ่งใหญ่ เป็นผู้ตรัสบอก ทรงให้เป็นไป ทรงแสดงประโยชน์ ประทานอมตธรรม เป็นเจ้าของธรรม เป็นพระตถาคต ทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็นโดยแท้ ก็และกาลนั้นเป็นการควรแก่ พระผู้มีพระภาคที่กระผมทั้งหลายเข้าไปเฝ้าแล้ว พึงทูลถามอรรถอันนั้น พระผู้มี พระภาคของเราทั้งหลายทรงพยากรณ์ด้วยประการใด กระผมทั้งหลายพึงทรงจำอรรถ นั้นไว้ด้วยประการนั้น ก็แต่ว่าท่านพระมหากัจจายนะพระศาสดาทรงสรรเสริญ และเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายผู้เป็นวิญญูยกย่อง ท่านพระมหากัจจายนะย่อม สามารถเพื่อจำแนกอรรถแห่งอุทเทศที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโดยย่อ ไม่ได้ทรง จำแนกอรรถโดยพิสดารนี้ โดยพิสดารได้ ขอท่านพระมหากัจจายนะไม่ทำความ หนักใจแล้ว จงจำแนกเถิด ฯ ท่านพระมหากัจจายนะกล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ท่าน ทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระมหา กัจจายนะแล้ว ท่านพระมหากัจจายนะได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พระผู้มี พระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทศโดยย่อว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็น ธรรมและสิ่งที่เป็นธรรมบุคคลควรทราบ ... พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม ตามสิ่งที่ เป็นประโยชน์ ดังนี้ ไม่ได้ทรงจำแนกอรรถโดยพิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไป สู่พระวิหาร ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็สิ่งที่ไม่เป็นธรรมเป็นไฉน สิ่งที่เป็นธรรม เป็นไฉน สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เป็นไฉน สิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นไฉน ดูกร อาวุโสทั้งหลาย การฆ่าสัตว์เป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนาเครื่องงดเว้นจากการฆ่า

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๖๕.

สัตว์เป็นสิ่งที่เป็นธรรม ส่วนอกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะการฆ่า สัตว์เป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อม ถึงความเจริญเต็มที่ เพราะเจตนาเครื่องงดเว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่ง ที่เป็นประโยชน์ ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย การลักทรัพย์เป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนาเครื่อง งดเว้นจากการลักทรัพย์เป็นสิ่งที่เป็นธรรม ส่วนอกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะการลักทรัพย์เป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรม มิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญเต็มที่ เพราะเจตนาเครื่องงดเว้นจากการลักทรัพย์ เป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย การประพฤติผิดในกามเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนา เครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกามเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ส่วนอกุศลธรรม อันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะการประพฤติผิดในกามเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่ง ที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญเต็มที่ เพราะเจตนาเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกามเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็น ประโยชน์ ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย การพูดเท็จเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนาเครื่องงดเว้น จากการพูดเท็จเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ส่วนอกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้น เพราะการพูดเท็จเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญเต็มที่ เพราะเจตนาเครื่องงดเว้นจากการพูดเท็จเป็นปัจจัย นี้เป็น สิ่งที่เป็นประโยชน์ ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย การพูดส่อเสียดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนา เครื่องงดเว้นจากการพูดส่อเสียดเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ส่วนอกุศลธรรมอันลามกมิใช่ น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะการพูดส่อเสียดเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญเต็มที่ เพราะเจตนาเครื่องงดเว้นจาก การพูดส่อเสียดเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๖๖.

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย การพูดคำหยาบเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนาเครื่อง งดเว้นจากการพูดคำหยาบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ส่วนอกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะการพูดคำหยาบเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศล ธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญเต็มที่ เพราะเจตนาเครื่องงดเว้นจากการพูด คำหยาบเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย การพูดเพ้อเจ้อเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนาเครื่อง งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ส่วนอกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะการพูดเพ้อเจ้อเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศล ธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญเต็มที่ เพราะเจตนาเครื่องงดเว้นจากการพูด เพ้อเจ้อเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย การอยากได้ของผู้อื่นเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม การไม่ อยากได้ของผู้อื่นเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ส่วนอกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้น เพราะการอยากได้ของผู้อื่นเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศล ธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญเต็มที่ เพราะความไม่อยากได้ของผู้อื่นเป็น ปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความปองร้ายเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความไม่ ปองร้ายเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ส่วนอกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะ ความปองร้ายเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญเต็มที่ เพราะความไม่ปองร้ายเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็น ประโยชน์ ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความเห็นผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความเห็นชอบ เป็นสิ่งที่เป็นธรรม ส่วนอกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะความเห็น ผิดเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึง ความเจริญเต็มที่ เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๖๗.

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุเทศโดย ย่อว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรมบุคคลควรทราบ ... พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม ตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ ดังนี้ ไม่ทรงจำแนกอรรถโดย พิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปสู่พระวิหาร ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เราย่อมรู้ อรรถแห่งอุเทศอันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกโดยพิสดารนี้ ได้โดยพิสดาร ด้วยประการอย่างนี้ ก็แลท่านทั้งหลายจำนงอยู่ พึงเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคแล้ว พึงทูลถามอรรถนั้นเถิด พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรง พยากรณ์ด้วยประการใด ท่านทั้งหลายพึงทรงจำอรรถนั้นไว้ด้วยประการนั้นเถิด ฯ ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระมหากัจจายนะ ชื่นชมอนุโมทนา ภาษิตของ ท่านพระมหากัจจายนะแล้ว ลุกจากอาสนะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศโดยย่อ ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรมบุคคลควรทราบ ... พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม ตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ ดังนี้ ไม่ทรงจำแนกอรรถ โดยพิสดารแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปสู่พระวิหาร ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน ข้าพระองค์ ทั้งหลายได้พูดกันว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศนี้โดย ย่อว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรมบุคคลควรทราบ ... พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม ตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ ดังนี้ ไม่ทรงจำแนกอรรถ โดยพิสดารแก่เราทั้งหลาย เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปสู่พระวิหาร ใครหนอแล พึงจำแนกอรรถแห่งอุเทศอันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วโดยย่อ ไม่ทรงจำแนก อรรถโดยพิสดารนี้ โดยพิสดารได้ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ เหล่านั้นแลได้มีความเห็นร่วมกันว่า ท่านพระมหากัจจายนะนี้แล พระศาสดาทรง สรรเสริญ และเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายผู้เป็นวิญญูยกย่อง ท่านพระมหา

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๖๘.

กัจจายนะคงสามารถเพื่อจำแนกอรรถแห่งอุเทศ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกอรรถโดยพิสดารนี้ โดยพิสดารได้ ไฉนหนอ เราทั้งหลาย พึงเข้าไปหาท่านพระมหากัจจายนะถึงที่อยู่ ครั้นแล้วพึงถามอรรถข้อนั้นกะท่านพระ มหากัจจายนะเถิด ท่านพระมหากัจจายนะจักพยากรณ์แก่เราทั้งหลายด้วยประการ ใด เราทั้งหลายจักทรงจำอรรถนั้นไว้ด้วยประการนั้น ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลำดับนั้นแล ข้าพระองค์ทั้งหลายได้เข้าไปหาท่านพระมหากัจจายนะถึงที่อยู่ ครั้น แล้ว ได้ถามอรรถข้อนั้นกะท่านพระมหากัจจายนะ ท่านพระมหากัจจายนะได้ จำแนกอรรถด้วยดีแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย ด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วย พยัญชนะเหล่านี้พระเจ้าข้า ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดีแล้ว ดีแล้ว ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย มหากัจจายนะเป็นบัณฑิต มหากัจจายนะเป็นผู้มีปัญญามาก ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย แม้หากเธอทั้งหลายพึงเข้ามาหาเราแล้วถามอรรถข้อนั้น แม้เราพึง พยากรณ์อรรถข้อนั้นอย่างที่มหากัจจายนะพยากรณ์แล้วนั้นแหละ นั่นเป็นอรรถ แห่งอุเทศนั้น และเธอทั้งหลายพึงทรงจำอรรถนั้นไว้อย่างนั้นเถิด ฯ
จบสูตรที่ ๖
อธรรมสูตรที่ ๓
[๑๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรมบุคคล ควรทราบ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ บุคคลควรทราบ ครั้น ทราบสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ และสิ่งที่เป็น ประโยชน์แล้ว พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม ตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมเป็นไฉน สิ่งที่เป็นธรรมเป็นไฉน สิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์เป็นไฉน และสิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นไฉน ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การฆ่าสัตว์เป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนาเครื่องงดเว้น จากการฆ่าสัตว์เป็นสิ่งที่เป็นธรรม ส่วนอกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้น

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๖๙.

เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญเต็มที่ เพราะเจตนาเครื่องงดเว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย นี้ เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การลักทรัพย์เป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนาเครื่องงด เว้นจากการลักทรัพย์เป็นสิ่งที่เป็นธรรม ... ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การประพฤติผิดในกามเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนา เครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกามเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ... ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การพูดเท็จเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนาเครื่องงดเว้น จากการพูดเท็จเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ... ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การพูดส่อเสียดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนาเครื่อง งดเว้นจากการพูดส่อเสียดเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ... ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การพูดคำหยาบเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนาเครื่อง งดเว้นจากการพูดคำหยาบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ... ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การพูดเพ้อเจ้อเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนาเครื่อง งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ... ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอยากได้ของผู้อื่นเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม การไม่ อยากได้ของผู้อื่นเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ... ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความปองร้ายเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความไม่ปองร้าย เป็นสิ่งที่เป็นธรรม ... ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเห็นผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความเห็นชอบ เป็นสิ่งที่เป็นธรรม ส่วนอกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะความเห็น ผิดเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึง ความเจริญเต็มที่ เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรมบุคคลควรทราบ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์บุคคลควรทราบ ครั้นทราบสิ่งที่ไม่

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๗๐.

เป็นธรรม สิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ และสิ่งที่เป็นประโยชน์แล้ว พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม ตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ คำที่เรากล่าวดังนี้ เรากล่าว แล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๗

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๕๘๙๖-๖๒๓๖ หน้าที่ ๒๕๖-๒๗๐. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=24&A=5896&Z=6236&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=24&siri=154              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=156              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [156-162] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=24&item=156&items=7              The Pali Tipitaka in Roman :- [156-162] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=24&item=156&items=7              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i156-e.php# https://suttacentral.net/an10.167/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :