ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
สุนทรวรรคที่ ๓
สาธุอสาธุสูตร
[๑๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสิ่งที่ดีและสิ่งที่ไม่ดีแก่เธอทั้ง หลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มี พระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งที่ไม่ดีเป็นไฉน การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ การพูดเพ้อเจ้อ ความอยากได้ของผู้อื่น ความปองร้าย ความเห็นผิด นี้เรียกว่าสิ่งที่ไม่ดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งที่ดีเป็นไฉน การงดเว้นจากการ ฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ จากการประพฤติผิดในกาม จากการพูดเท็จ จากการพูด ส่อเสียด จากการพูดคำหยาบ จากการพูดเพ้อเจ้อ ความไม่อยากได้ของผู้อื่น ความไม่ปองร้าย ความเห็นชอบ นี้เรียกว่าเป็นสิ่งที่ดี ฯ
จบสูตรที่ ๑
อริยานริยธรรมสูตร
[๑๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอริยธรรม และอนริยธรรม แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ อนริยธรรมเป็นไฉน การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่าอนริยธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อริยธรรมเป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความ เห็นชอบ นี้เรียกว่าอริยธรรม ฯ
จบสูตรที่ ๒
กุสลากุสลสูตร
[๑๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงกุศลธรรมและ อกุศลธรรม แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อกุศล ธรรมเป็นไฉน การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่าอกุศลธรรม ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็กุศลธรรมเป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่ากุศลธรรม ฯ
จบสูตรที่ ๓
อัตถานัตถสูตร
[๑๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสิ่งที่เป็นประโยชน์ และสิ่งที่ ไม่เป็นประโยชน์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เป็นไฉน การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่าสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งเป็นประโยชน์เป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่าสิ่งที่เป็นประโยชน์ ฯ
จบสูตรที่ ๔
ธรรมาธรรมสูตร
[๑๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมและอธรรมแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาค แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อธรรมเป็นไฉน การ ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่าอธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรม เป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่าธรรม ฯ
จบสูตรที่ ๕
สาสวานาสวสูตร
[๑๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่มีอาสวะ และธรรม ที่ไม่มีอาสวะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ธรรมที่มีอาสวะเป็นไฉน การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิดนี้เรียกว่า ธรรมที่มีอาสวะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ไม่มีอาสวะเป็นไฉน การงดเว้นจาก การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่าธรรมที่ไม่มีอาสวะ ฯ
จบสูตรที่ ๖
สาวัชชานวัชชสูตร
[๑๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่มีโทษและธรรมที่ไม่มี โทษแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรม ที่มีโทษเป็นไฉน การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่าธรรมที่มีโทษ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ไม่มีโทษเป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความ เห็นชอบ นี้เรียกว่าธรรมที่ไม่มีโทษ ฯ
จบสูตรที่ ๗
ตปนิยาตปนิยธรรมสูตร
[๑๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความ เดือดร้อน และธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน แก่เธอทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความเดือด ร้อนเป็นไฉน การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่าธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง ความเดือดร้อน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อนเป็น ไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่าธรรมอันไม่เป็น ที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน ฯ
จบสูตรที่ ๘
อาจยคามยาปจยคามิธรรมสูตร
[๑๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลส และธรรมอันไม่เป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลส แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระ ภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันเป็นไปในเพื่อสั่งสมกิเลส เป็นไฉน การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่าธรรมอันเป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลส ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันไม่เป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลสเป็นไฉน การงดเว้นจาก การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่าธรรมอันไม่เป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลส ฯ
จบสูตรที่ ๙
ทุกขุนทรยสุขุนทรยธรรมสูตร
[๑๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่มีทุกข์เป็นกำไรและ ธรรมที่มีสุขเป็นกำไรแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจัก กล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่มีทุกข์เป็นกำไรเป็นไฉน การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่าธรรมที่มีทุกข์เป็นกำไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่มีสุขเป็นกำไรเป็น ไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่าธรรมที่มีสุข เป็นกำไร ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
ทุกขวิปากสุขวิปากธรรมสูตร
[๑๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันมีทุกข์เป็นวิบากและ ธรรมอันมีสุขเป็นวิบากแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจัก กล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันมีทุกข์เป็นวิบากเป็นไฉน การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็น ผิด นี้เรียกว่าเป็นธรรมอันมีทุกข์เป็นวิบาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันมีสุข เป็นวิบากเป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่า ธรรมอันมีสุขเป็นวิบาก ฯ
จบสูตรที่ ๑๑
จบสุนทรวรรคที่ ๓
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๖๕๒๓-๖๖๒๐ หน้าที่ ๒๘๓-๒๘๗. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=24&A=6523&Z=6620&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=24&siri=165              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=167              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [167-177] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=24&item=167&items=11              The Pali Tipitaka in Roman :- [167-177] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=24&item=167&items=11              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i167-e.php# https://suttacentral.net/an10.178/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :