ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๑๓. หัตถิปาลชาดก
ว่าด้วยกาลเวลาไม่คอยใคร
[๒๒๔๕] นานทีเดียว ข้าพเจ้าเพิ่งได้พบท่านพราหมณ์ผู้มีผิวพรรณดังเทพเจ้า มุ่น ชฎาใหญ่ ทรงไว้ซึ่งหาบคอน มีฟันเขลอะ มีธุลีบนเศียร. นานที เดียว ข้าพเจ้าเพิ่งได้พบท่านฤาษีผู้ยินดีในคุณธรรม นุ่งห่มผ้าย้อมน้ำ ฝาด ผ้าคากรอง ปกปิดโดยรอบ. ขอท่านผู้เจริญจงรับอาสนะ น้ำ ผ้า เช็ดเท้า และน้ำมันทาเท้าของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอต้อนรับท่านด้วยสิ่ง ของมีค่ามาก ได้กรุณารับของมีค่ามากของข้าพเจ้าเถิด. [๒๒๔๖] ลูกรัก เจ้าจงเรียนวิชาและจงแสวงหาทรัพย์ จงปลูกฝังบุตรธิดาให้ดำรง อยู่ในเรือนเสียก่อน แล้วจงบริโภคกลิ่นรสและวัตถุกามทั้งปวงเถิด กิจ ที่จะอยู่ป่า เมื่อเวลาแก่สำเร็จประโยชน์ดี มุนีใดบวชในกาลเช่นนี้ได้ มุนีนั้นพระอริยเจ้าสรรเสริญ. [๒๒๔๗] วิชาเป็นของไม่จริง และลาภ คือ ทรัพย์ก็ไม่จริง ใครๆ จะห้ามความ ชราด้วยลาภ คือ บุตรไม่ได้เลย สัตบุรุษทั้งหลายสอนให้ปล่อยกลิ่น และรสทั้งหลายเสีย ความอุบัติแห่งผลย่อมมีได้เพราะกรรมของตน. [๒๒๔๘] คำของท่านที่ว่า ความอุบัติแห่งผลย่อมมีได้เพราะกรรมของตนนั้น เป็น คำจริงแท้แน่นอน อนึ่ง บิดามารดาของท่านนี้ แก่เฒ่าแล้วหวังจะเห็น ท่านมีอายุยืน ๑๐๐ ปี ไม่มีโรค. [๒๒๔๙] ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐกว่านรชน ความเป็นสหายกับความตาย ความ ไมตรีกับความแก่ พึงมีแก่ผู้ใด หรือแม้ผู้ใดพึงรู้ว่าจักไม่ตาย มารดา บิดาพึงเห็นผู้นั้นมีอายุยืน ๑๐๐ ปี ไม่มีโรคเบียดเบียน ได้ในบางคราว บุรุษเอาเรือมาจอดไว้ที่ท่าน้ำ รับคนฝั่งนี้ส่งถึงฝั่งโน้น แล้วย้อนกลับรับ คนฝั่งโน้นพามาส่งถึงฝั่งนี้ ฉันใด ชราและพยาธิก็ย่อมนำเอาชีวิตสัตว์ ไปสู่อำนาจแห่งมัจจุราชอยู่เนืองๆ ฉันนั้น. [๒๒๕๐] กามทั้งหลายเป็นดังเปือกตม เป็นเครื่องให้จมลง และเป็นเครื่องนำไป ซึ่งน้ำใจสัตว์ ข้ามได้ยาก เป็นที่ตั้งแห่งมฤตยู สัตว์ทั้งหลาย ผู้ข้องอยู่ ในกามอันเป็นดังเปือกตม เป็นเครื่องให้จมลงนี้ เป็นสัตว์มีจิตเลวทราม ย่อมข้ามถึงฝั่งไม่ได้. เมื่อครั้งก่อน อัตภาพของพระองค์นี้ ได้กระทำ กรรมอันหยาบช้า ผลแห่งกรรมนั้นข้าพระองค์ถือไว้มั่นแล้ว ข้าพระองค์ จะพ้นไปจากผลแห่งกรรมนี้ไม่ได้เลย ข้าพระองค์จักปิดกั้นรักษาอัตภาพ นั้นอย่างรอบคอบ ขออัตภาพนี้อย่าได้ทำกรรมอันหยาบช้าอีกเลย. [๒๒๕๑] ข้าแต่พระเจ้าเอสุการี ประโยชน์ของข้าพระองค์ ย่อมพินาศไปเสียแล้ว เหมือนบุรุษเลี้ยงโคไม่เห็นโคที่หายไปในป่า ฉะนั้น ข้าแต่พระราชา ข้าพระองค์ได้เห็นทางแห่งบรรพชิตทั้งหลาย แล้วไฉนจะไม่แสวงหาการ บรรพชาเล่า? [๒๒๕๒] บุรุษกล่าวผัดเพี้ยนการงานที่ควรจะทำในวันนี้ว่า ควรทำในวันพรุ่งนี้ การ งานที่ควรจะทำในวันพรุ่งนี้ว่า ควรทำในวันต่อไป ย่อมเสื่อมจากการ งานนั้น ธีรชนคนใดรู้ว่า สิ่งใดเป็นอนาคต สิ่งนั้นไม่มีแล้ว พึง บรรเทาความพอใจที่เกิดขึ้นเสีย. [๒๒๕๓] ข้าพระองค์ได้เห็นหญิงสาวคนหนึ่ง รูปร่างงามพอประมาณ มีดวงเนตร เหมือนดอกการเกต มัจจุราชมาฉุดคร่าพาหญิงสาวคนนั้นซึ่งกำลังตั้งอยู่ ในปฐมวัย ยังไม่ทันได้บริโภคสมบัติไป. อนึ่ง ชายหนุ่มมีทรวดทรง งาม มีใบหน้าผ่องใส น่าดูน่าชม มีวรรณะเรืองรองดังทองคำ มีหนวด เคราละเอียดอ่อนดังเกสรดอกคำฝอย แม้ชายหนุ่มเห็นปานนี้ก็ย่อมไปสู่ อำนาจแห่งมฤตยู ขอเดชะ ข้าพระองค์จะละกามและเรือนเสียแล้ว จักบวช ขอได้โปรดทรงพระกรุณาอนุญาตข้าพระองค์เถิด. [๒๒๕๔] ดูกรแม่วาเสฏฐี ต้นไม้จะได้นามโวหารว่า ต้นไม้ได้ ก็เพราะมีกิ่งและ ใบ ชาวโลกเขาเรียกต้นไม้ที่ไม่มีกิ่งและใบว่า เป็นตอไม้ วันนี้ เราผู้มี บุตรละทิ้งไปเสียแล้ว เวลานี้ เราสมควรจะบวชเที่ยวภิกขาจารไป. [๒๒๕๕] นกกระเรียนทั้งหลายบินไปในอากาศได้คล่องแคล่ว ฉันใด หงส์ทั้งหลาย เมื่อสิ้นฤดูฝนแล้ว พึงทำลายใยที่แมงมุมทำไว้ แล้วออกไปได้ ฉันนั้น บุตรและสามีของเราพากันไปหมด ไฉนเราจะไม่ปฏิบัติตามบุตรและสามี ของเราเล่า. [๒๒๕๖] แร้งเหล่านี้ กินเนื้อและสำรอกออกหมดแล้ว ย่อมพากันบินไปได้ ฝ่ายแร้งเหล่าใด กินเนื้อแล้วไม่สำรอกเนื้อออกเสีย แร้งเหล่านั้น ก็พา กันตกอยู่ในเงื้อมมือของหม่อมฉัน. ข้าแต่พระราชา พราหมณ์ได้คลายกาม ทั้งหลายออกทิ้งแล้ว ส่วนพระองค์นั้นกลับรับเอากามนั้นไว้บริโภคอีก บุรุษผู้บริโภคสิ่งที่ผู้อื่นคายออกแล้ว ไม่พึงได้รับความสรรเสริญเลย. [๒๒๕๗] ดูกรพระนางปัญจาลีผู้เจริญ บุรุษผู้มีกำลังช่วยฉุดบุรุษทุพพลภาพ ผู้จมอยู่ ในเปือกตมขึ้นได้ ฉันใด เธอก็ช่วยพยุงฉันให้ขึ้นจากกามได้ด้วยคาถา อันเป็นสุภาษิต ฉันนั้นแล. [๒๒๕๘] พระเจ้าเอสุการีมหาราชา ผู้เป็นอธิบดีในทิศ ทรงภาษิตคาถานี้แล้ว ทรง ละรัฐสีมาเสด็จออกบรรพชา ดุจช้างตัวประเสริฐสลัดเครื่องผูกให้ขาด ไปได้ ฉะนั้น. [๒๒๕๙] ก็พระราชาผู้กล้าหาญ ประเสริฐที่สุดกว่านรชน ทรงพอพระทัยใน บรรพชาเพศ ละรัฐสีมาไปแล้ว ขอพระนางเจ้าโปรดเป็นพระราชาแห่ง ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเถิด พระนางเจ้า อันข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คุ้มครองแล้ว โปรดเสวยราชสมบัติเหมือนพระราชาเถิด. [๒๒๖๐] ก็พระราชาผู้กล้าหาญ ประเสริฐที่สุดกว่านรชน ทรงพอพระทัยใน บรรพชาเพศ ละรัฐสีมาไปแล้ว แม้เราก็จักละกามทั้งหลายอันน่ารื่นรมย์ ใจ เที่ยวไปในโลกแต่ผู้เดียว ก็พระราชาผู้กล้าหาญ ประเสริฐที่สุด กว่านรชน ทรงพอพระทัยในบรรพชาเพศ ละรัฐสีมาไปแล้ว แม้เรา ก็จักละกามทั้งหลายอันตั้งอยู่เป็นถ่องแถว แล้วเที่ยวไปในโลกแต่ผู้เดียว กาลย่อมล่วงไปๆ ราตรีย่อมผ่านไปๆ ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไป แม้ เราก็จักละกามทั้งหลายอันน่ารื่นรมย์ใจ เที่ยวไปในโลกแต่ผู้เดียว. กาล ย่อมล่วงไปๆ ราตรีย่อมผ่านไปๆ ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไป แม้เราก็จัก ละกามทั้งหลายอันตั้งอยู่เป็นถ่องแถว เที่ยวไปในโลกแต่ผู้เดียว. กาล ย่อมล่วงไปๆ ราตรีย่อมผ่านไปๆ ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไป แม้เรา ก็จักเป็นผู้เย็นใจ ก้าวล่วงความข้องทั้งปวง เที่ยวไปในโลกแต่ผู้เดียว.
จบ หัตถิปาลชาดกที่ ๑๓.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๘๙๘๗-๙๐๖๖ หน้าที่ ๓๙๔-๓๙๗. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=27&A=8987&Z=9066&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=27&siri=509              ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=2245              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [2245-2260] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=27&item=2245&items=16              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=41&A=2856              The Pali Tipitaka in Roman :- [2245-2260] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=27&item=2245&items=16              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=41&A=2856              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja509/en/rouse

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :