ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
โมฆราชเถราปทานที่ ๕ (๓๕)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายบังคมพระพุทธเจ้า
[๓๗] ก็พระผู้มีพระภาคผู้สยัมภู พระนามว่าอัตถทัสสี ไม่ทรงแพ้อะไรๆ แวด ล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จดำเนินไปในถนน เราแวดล้อมด้วยพวกศิษย์ ทั้งหลายออกจากเรือนไป ครั้นแล้วได้พบพระผู้มีพระภาคผู้เป็นนายกของ โลกที่ถนนนั้น เราได้ประนมอัญชลีบนเศียรเกล้าถวายบังคมพระสัมพุทธ- เจ้า ยังจิตของตนให้เลื่อมใสแล้ว เชยชมพระองค์ผู้นายกของโลก สัตว์ มีรูปก็ดี มีสัญญาก็ดี ไม่มีสัญญาก็ดี ประมาณเท่าใด สัตว์เหล่านั้นย่อม เข้าไปภายในพระญาณของพระองค์ ทั้งหมดเปรียบเหมือนสัตว์ในน้ำเหล่า ใดเหล่าหนึ่ง สัตว์เหล่านั้นย่อมติดอยู่ภายในข่ายของคนที่เอาข่ายตาเล็กๆ เหวี่ยงลงในน้ำฉะนั้น อนึ่งสัตว์เหล่าใดคือ สัตว์มีรูป และไม่มีรูป มีเจตนา (ความตั้งใจ) สัตว์เหล่านั้นย่อมเข้าไปภายในพระญาณของพระองค์ทั้งหมด พระองค์ทรงถอนโลกอันอากูลด้วยความมืดนี้ขึ้นได้แล้ว สัตว์เหล่านั้นได้ฟัง ธรรมของพระองค์แล้ว ย่อมข้ามกระแสความสงสัยได้ โลกอันอวิชชา ห่อหุ้มแล้ว อันความมืดท่วมทับ โลกกำจัดความมืดได้ ส่งแสงโชติช่วงอยู่ เพราะพระญาณของพระองค์ พระองค์ผู้มีจักษุเป็นผู้ทรงบรรเทาความมืดมน ของสัตว์ทั้งปวง ชนเป็นอันมากฟังธรรมของพระองค์แล้ว จักนิพพาน ดังนี้แล้ว เราเอาน้ำผึ้งรวงอันไม่มีตัวผึ้งใส่เต็มหม้อแล้ว ประคองด้วยมือ ทั้งสอง น้อมถวายแด่พระผู้มีพระภาค พระมหาวีรเจ้าผู้แสวงหาคุณอัน ใหญ่หลวง ทรงรับด้วยพระหัตถ์อันงาม ก็พระสัพพัญญูเสวยน้ำผึ้งนั้น แล้ว เสด็จเหาะขึ้นสู่นภากาศ พระศาสดาพระนามว่าอัตถทัสสีนราสภ ประทับอยู่ในอากาศ ทรงยังจิตของเราให้เลื่อมใส ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ ว่า ผู้ใดชมเชยญาณนี้ และชมเชยพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดด้วยจิตอัน เลื่อมใสนั้น ผู้นั้นจะไม่ไปสู่ทุคติและผู้นั้นจักเสวยเทวรัชสมบัติ ๔๖ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชครอบครองแผ่นดิน ๘๐๐ ครั้ง จักได้เป็น พระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชเสวยสมบัติ อยู่ในแผ่นดินนับไม่ถ้วน จักเป็นผู้เล่าเรียน ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเพท จักบวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าโคดม จักพิจารณาอรรถ อันลึกซึ้งอันละเอียดได้ด้วยญาณ จักเป็นสาวกของพระศาสดา มีนามชื่อ ว่าโมฆราช จักถึงพร้อมด้วยวิชชา ๓ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มี อาสวะ พระโคดมผู้ทรงเป็นยอดของผู้นำหมู่ จักทรงตั้งผู้นั้นไว้ในเอต- ทัคคสถาน เราละกิเลสเครื่องประกอบของมนุษย์ ตัดเครื่องผูกพันในภพ กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว ไม่มีอาสวะอยู่ คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิ- สัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธ ศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระโมฆราชเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ โมฆราชเถราปทาน.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ บรรทัดที่ ๑๙๙๗-๒๐๓๔ หน้าที่ ๙๓-๙๔. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=32&A=1997&Z=2034&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=32&siri=37              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=37              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [37] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=32&item=37&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=1602              The Pali Tipitaka in Roman :- [37] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=32&item=37&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=1602              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_32              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap37/en/walters

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :