ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
มัจฉทายกเถราปทานที่ ๖ (๒๖๖)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายปลา
[๒๖๘] ในกาลนั้น เราเป็นนกออก อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา เราได้คาบปลาตัวใหญ่ มาถวายแด่พระมุนีพระนามว่าสิทธัตถะ ในกัลปที่ ๙๔ แต่กัลปนี้ เราได้ ถวายปลาใด ในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๗๒.

ถวายปลา คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระมัจฉทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ มัจฉทายกเถราปทาน.
ชวหังสกเถราปทานที่ ๗ (๒๖๗)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายบังคม
[๒๖๙] ในกาลนั้น เราเป็นพรานป่าอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา เราได้เห็นพระพุทธ เจ้า พระนามว่าสิทธัตถะ เสด็จไปในอากาศ เราประนมกรอัญชลีแลดู พระมหามุนีอยู่ ได้ยังจิตของตนให้เลื่อมใสแล้ว ถวายบังคมพระองค์ผู้ นำโลก ในกัลปที่ ๙๔ แต่กัลปนี้ เราได้ถวายบังคมพระนราสภใด ด้วย การถวายบังคมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายบังคม คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำ ให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระชวหังสกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ชวหังสกเถราปทาน.
สลฬปุปผิกเถราปทานที่ ๘ (๒๖๘)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกสน
[๒๗๐] ในกาลนั้น เราเป็นกินนรอยู่ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา เราได้เห็นพระ พุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ผู้รุ่งเรืองผ่องใสด้วยรัศมี เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส และมีปีติอย่างยิ่ง ถือเอาดอกสนมาโปรยลงบูชาแด่พระวิปัสสี พุทธเจ้า ในกัลปที่ ๙๑ แต่กัลปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา คุณวิเศษ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๗๓.

เหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้ง ชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระสลฬปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ สลฬปุปผิยเถราปทาน.
อุปาคตหาสนิยเถราปทานที่ ๙ (๒๖๙)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายบังคม
[๒๗๑] มีสระที่สร้างอย่างดีอยู่ที่ท่ามกลางภูเขาหิมวันต์ เราเป็นผีเสื้อน้ำมีศีรษะอยู่ เบื้องล่างน่ากลัว อยู่ในสระนั้น พระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ผู้อนุเคราะห์ ประกอบด้วยพระกรุณา ผู้นำของโลก พระองค์ประสงค์จะช่วยเหลือเรา จึงเสด็จมาในสำนักของเรา เราได้เห็นพระมหาวีรเจ้าผู้ประเสริฐกว่าเทวดา เลิศกว่านระ เสด็จเข้ามา จึงออกจากที่อยู่อาศัยแล้วได้ถวายบังคมแด่ พระศาสดา ในกัลปที่ ๙๑ แต่กัลปนี้ เราได้ถวายบังคมพระศาสดา ผู้เป็น อุดมบุรุษใด ด้วยการถวายบังคมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง การถวายบังคม คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระอุปาคตหาสนิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ อุปาคตหาสนิยเถราปทาน.
ตรณิยเถราปทานที่ ๑๐ (๒๗๐)
ว่าด้วยผลแห่งการข้ามส่ง
[๒๗๒] พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี มีพระฉวีวรรณดังทองคำ ผู้นำโลก แวดล้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ประทับยืนอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำ เรือ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๗๔.

สำหรับจะข้ามในห้วงมหรรณพนั้นไม่มี เราจึงออกจากแม่น้ำ ข้ามส่ง พระศาสดาผู้เป็นนายกของโลก ในกัลปที่ ๙๑ แต่กัลปนี้ เราข้ามส่งพระ ศาสดาผู้สูงสุดกว่านระใด ด้วยการข้ามส่งนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็น ผลแห่งการข้ามส่ง คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระตรณิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ตรณิยเถราปทาน
-----------------------------------------------------
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อากาสุกขิปิยเถราปทาน ๒. เตลมักขิยเถราปทาน ๓. อัฑฒจันทิยเถราปทาน ๔. ทีปทายกเถราปทาน ๕. วิฬาลิทายกเถราปทาน ๖. มัจฉทายกเถราปทาน ๗. ชวหังสกเถราปทาน ๘. สลฬปุปผิยเถราปทาน ๙. อุปาคตหาสนิยเถราปทาน ๑๐. ตรณิยเถราปทาน
และในวรรคนี้นับคาถาได้ ๔๑ คาถา.
จบ ปทุมุกเขปวรรคที่ ๒๗.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ บรรทัดที่ ๕๘๕๐-๕๙๑๖ หน้าที่ ๒๗๑-๒๗๔. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=32&A=5850&Z=5916&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=32&siri=268              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=268              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [268-272] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=32&item=268&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=5026              The Pali Tipitaka in Roman :- [268-272] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=32&item=268&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=5026              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_32              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap268/en/walters

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :