ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
สุมนาเวฬิยเถราปทานที่ ๘ (๓๒๘)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยพวงมาลัยดอกมะลิ
[๓๓๐] ชนทั้งปวงมาประชุมกันทำการบูชาใหญ่ แด่พระผู้มีพระภาคพระนามว่า เวสสภู ผู้เป็นเชษฐบุรุษของโลก ผู้คงที่ในกาลนั้น เราใส่ก้อนปูนขาวแล้ว วางพวงมาลัยดอกมะลิไว้บูชาข้างหน้าแห่งอาสนะทอง ชนทั้งปวงมามุงดู ดอกไม้อันอุดมด้วยดำริว่า ใครบูชาดอกไม้นี้แก่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ผู้คงที่ เราได้เข้าถึงชั้นนิมมานรดี เพราะจิตอันเลื่อมใสนั้น ได้เสวย กรรมของตน ที่ตนทำไว้ดีในกาลก่อน เราเข้าถึงกำเนิดใดๆ คือ ความเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ย่อมเป็นที่รักของปวงชน นี้เป็นผลแห่ง การบูชาด้วยดอกไม้ เราไม่รู้จักทุคติด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจเลย เราทำการบำรุงแก่ภิกษุทั้งหลายผู้สำรวมแล้ว ผู้มีตบะ ด้วยความประพฤติ ชอบนั้น และด้วยการตั้งจิตมั่น เราเป็นผู้ที่ปวงชนบูชา นี้เป็นผลแห่ง การไม่ด่า ในกัลปที่ ๓๑ แต่กัลปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา ในกัลปที่ ๑๑ แต่กัลปนี้ ได้มีพระเจ้าจักรพรรดิจอมกษัตริย์ ทรงพระนามว่า สหัสสาระ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระสุมนาเวฬิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ สุมนาเวฬิยเถราปทาน.
ปุปผฉัตติยเถราปทานที่ ๙ (๓๒๙)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยฉัตรดอกบัว
[๓๓๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคพระนามว่าสิทธัตถะ เชษฐบุรุษของโลก ผู้คงที่ ทรง ประกาศสัจจะ ยังสัตว์ทั้งหลายให้ดับอยู่ เรานำดอกบัวซึ่งเกิดในน้ำ เป็น ที่รื่นรมย์ใจ มาเป็นทำเป็นฉัตรดอกไม้บูชาแด่พระพุทธเจ้า ก็พระศาสดา พระนามว่าสิทธัตถะ ทรงรู้แจ้งโลก เป็นผู้สมควรรับเครื่องบูชา ประทับอยู่ ณ ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสคาถานี้ว่า ผู้ใดยังจิตให้เลื่อมใส ได้กั้นฉัตร ดอกไม้ให้เรา ด้วยความเลื่อมใสแห่งจิตนั้น ผู้นั้นจะไม่ไปสู่ทุคติเลย พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ ผู้เป็นนายกของโลก ครั้นตรัสดังนี้ แล้ว ทรงส่งบริษัทไปแล้วเสด็จเหาะขึ้นนภากาศ เมื่อพระพุทธเจ้าผู้ ประเสริฐกว่านระ เสด็จลุกขึ้น แม้ฉัตรขาวก็ตั้งขึ้น ฉัตรอันอุดมไป ข้างหน้าแห่งพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ในกัลปที่ ๙๔ แต่กัลปนี้ เราได้ บูชาพระพุทธเจ้าด้วยฉัตรใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้ เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้าด้วยฉัตรดอกไม้ ในกัลปที่ ๗๔ แต่กัลป นี้ ได้มีพระเจ้าจักรพรรดิ ๘ พระองค์ ทรงมีพระนามว่าชลสิขะ ทรง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิ- สัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธ- ศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระปุปผฉัตติยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ปุปผฉัตติยเถราปทาน.
สปริวารฉัตตทายกเถราปทานที่ ๑๐ (๓๓๐)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายฉัตร
[๓๓๒] พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ ทรงรู้แจ้งโลก สมควรรับเครื่องบูชา ทรงยังฝนคือธรรมให้ตกอยู่ เหมือนน้ำฝนในอากาศ ข้าพระองค์ได้เห็น พระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงแสดงอมฤตบทอยู่ ยังจิตของตนให้เลื่อม ใสแล้วได้ไปสู่เรือนของตน ข้าพระองค์ถือเอาฉัตรที่ประดับแล้ว เข้าไป เฝ้าพระสัมพุทธเจ้าผู้อุดมกว่านระ ข้าพระองค์มีจิตโสมนัสยินดีโยนฉัตร ขึ้นไปบนอากาศ บรรดาพระสาวกผู้สงเคราะห์ดี พระสาวกผู้อุดมฝึกตน แล้วเข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้าแล้ว ตั้งฉัตรไว้เหนือพระเศียร พระพุทธเจ้า ผู้อนุเคราะห์ กอปรด้วยพระกรุณา อัครนายกของโลก ประทับนั่งท่าม กลางภิกษุสงฆ์แล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า ผู้ใดถวายฉัตรอันประดับ แล้วเป็นที่รื่นรมย์ใจนี้ ด้วยความเลื่อมใสแห่งจิตนั้น ผู้นั้นจะไม่ไปสู่ ทุคติเลย จักได้เสวยเทวรัชสมบัติในเทวดา ๗ ครั้ง และจะได้เป็นพระเจ้า จักรพรรดิราช ๓๒ ครั้ง ในแสนกัลป แต่กัลปนี้ พระศาสดามีพระนาม ชื่อว่าโคดม ซึ่งมีสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก ผู้นั้นจักเป็นโอรสผู้รับมรดกในธรรมของพระศาสดาพระองค์นั้น อันธรรม นิรมิต จักรู้ทั่วถึงพระดำรัสที่พระพุทธเจ้าเปล่งเป็นอาสภิวาจา กำหนดรู้ อาสวะทั้งปวงแล้ว จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะนิพพาน ข้าพระองค์มีจิตเลื่อมใส โสมนัส ยังความยินดีให้เกิดโดยยิ่ง ข้าพระองค์ละกำเนิดมนุษย์แล้ว ได้ไปสู่กำเนิดทิพย์ วิมานของข้าพระองค์สวยงาม สูงเยี่ยม เป็นที่ รื่นรมย์ใจ เมื่อข้าพระองค์ออกจากวิมาน เทวดาทั้งหลายย่อมกั้นฉัตรขาวให้ ข้าพระองค์กลับได้สัญญาในกาลนั้น นี้เป็นผลแห่งบุรพกรรม ข้าพระ- องค์จุติจากเทวโลกแล้ว ได้มาสู่ความเป็นมนุษย์ ในกัลปที่ ๗๐๐ แต่ กัลปนี้ ข้าพระองค์ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๖ ครั้ง จุติจากกายนั้นแล้ว ได้ไปสู่ไตรทศบุรี ท่องเที่ยวไปโดยลำดับแล้ว ได้มาสู่ความเป็นมนุษย์ อีก ชนทั้งหลายได้กั้นฉัตรขาวให้ข้าพระองค์ผู้ลงสู่ครรภ์มารดา ข้าพระองค์ มีอายุ ๗ ปีแต่กำเนิด ออกบวชเป็นบรรพชิต พราหมณ์ มีนามว่าสุนันทะ รู้จบมนต์ เขาได้ถือเอาฉัตรมีสีดังแก้วผลึกมาถวายแก่อัครสาวก พระสารี บุตรมหาวีระ ผู้มีวาจาน่าบูชา อนุโมทนา ข้าพระองค์ฟังอนุโมทนาของ ท่านแล้ว ระลึกถึงบุรพกรรมได้ จึงประนมกรอัญชลี ยังจิตของตนให้ เลื่อมใส ระลึกถึงกรรมเก่าได้แล้วได้บรรลุอรหัต ลุกจากอาสนะนั้นแล้ว ประนมกรอัญชลีเหนือเศียร ถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้าแล้ว เปล่งวาจา นี้ว่า ในกัลปที่แสนแต่กัลปนี้ ข้าพระองค์ได้ถวายฉัตรอันวิจิตรประดับ สวยงามแด่พระพุทธเจ้า ผู้ยอดเยี่ยมในโลก พระนามว่าปทุมุตระ ทรงรู้ แจ้งโลก สมควรรับเครื่องบูชา พระสยัมภูอัครบุคคลทรงรับด้วยพระหัตถ์ ทั้งสอง โอ พระพุทธเจ้า โอ พระธรรม โอหนอ ความถึงพร้อมแห่ง ศาสดา ด้วยการถวายฉัตรคันหนึ่ง ข้าพระองค์ไม่เข้าถึงทุคติเลย ข้า- พระองค์เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพทั้งปวงขึ้นได้แล้ว กำหนดรู้อาสวะ ทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพระองค์ทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธ- ศาสนาข้าพระองค์ได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระสปริวารฉัตตทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ สปริวารฉัตตทายกเถราปทาน.
-----------------------------------------------------
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อุมมาปุปผิยเถราปทาน ๒. ปุฬินปูชกเถราปทาน ๓. หาสชนกเถราปทาน ๔. ยัญญสามิกเถราปทาน ๕. นิมิตตสัญญกเถราปทาน ๖. อันนสังสาวกเถราปทาน ๗. นิคุณฑิปุปผิยเถราปทาน ๘. สุมนาเวฬิยเถราปทาน ๙. ปุปผฉัตติยเถราปทาน ๑๐. สปริวารฉัตตทายกเถราปทาน
มีคาถา ๑๐๗ คาถา.
จบ อุมมาปุปผิยวรรคที่ ๓๓
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ บรรทัดที่ ๖๗๖๔-๖๘๕๖ หน้าที่ ๓๑๒-๓๑๖. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=32&A=6764&Z=6856&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=32&siri=330              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=330              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [330-332] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=32&item=330&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=5219              The Pali Tipitaka in Roman :- [330-332] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=32&item=330&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=5219              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_32              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap330/en/walters

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :