ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
ปทุมกูฏาคาริกเถราปทานที่ ๕ (๓๙๕)
ว่าด้วยผลแห่งการทำพุทธบูชา
[๓๙๗] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าปิยทัสสี ผู้สยัมภู เป็นนายกของโลก ตรัสรู้แล้ว เอง ทรงใคร่ในวิเวก ฉลาดในสมาธิ เป็นมุนี พระมหามุนีพระนามว่า ปิยทัสสี ผู้อุดมบุรุษ เสด็จไปสู่ไพรสณฑ์ ทรงลาดผ้าบังสุกุลแล้วประทับนั่ง อยู่ ในกาลก่อน เราเป็นพรานเนื้ออยู่ในป่าใหญ่ในกาลนั้น เราเที่ยวแสวง หาเนื้อฟานอยู่ในป่านั้น เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าผู้ข้ามโอฆะแล้ว ไม่มี อาสวะ เปรียบเหมือนพระยารังมีดอกบาน เหมือนพระอาทิตย์อุทัย ครั้น เห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าปิยทัสสีผู้มียศมากแล้ว เราจึงลงไปสู่สระบัว นำเอาดอกปทุมมาในขณะนั้น ครั้นนำเอาดอกปทุมอันเป็นที่รื่นรมย์ใจมา

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๙๐.

แล้ว จึงสร้างเรือนมียอด (ปราสาท) แล้วมุงบังด้วยดอกปทุม พระพุทธ ชินเจ้าพระนามว่าปิยทัสสีเป็นมหามุนี ผู้ทรงอนุเคราะห์ประกอบด้วยพระ กรุณา ประทับอยู่ในกูฏาคาร ๗ คืน ๗ วัน เราเอาดอกปทุมที่เก่าๆ ทิ้งเสีย แล้ว มุงบังด้วยดอกปทุมใหม่ ขณะนั้นเราได้ยืนประนมกรอัญชลีอยู่ พระมหามุนีพระนามว่าปิยทัสสี รู้เป็นนายกของโลก เสด็จออกจากสมาธิ แล้วประทับนั่งเหลียวแลดูทิศอยู่ ในกาลนั้น พระเถระผู้อุปัฏฐากนามว่า สุทัสสนะ มีฤทธิ์มาก รู้พระดำริของพระพุทธเจ้าพระนามว่าปิยทัสสีผู้ ศาสดา อันภิกษุ ๘ หมื่นแวดล้อมแล้ว เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้เป็นนายก ของโลก ซึ่งประทับนั่งทรงพระสำราญอยู่ที่ชายป่า และในกาลนั้น เทวดา ผู้สิงสถิตอยู่ในไพรสณฑ์ประมาณเท่าใด เทวดาเหล่านั้นทราบพระพุทธดำริ แล้ว พากันมาประชุมทั้งหมด เมื่อพวกยักษ์ กุมภัณฑ์ พร้อมทั้งผีเสื้อน้ำ มาพร้อมกัน และเมื่อภิกษุสงฆ์มาถึงพร้อมแล้ว พระชินเจ้าได้ตรัสพระคาถา ว่า ผู้ใดบูชาเราตลอด ๗ วัน และได้สร้างอาวาสถวายเรา เราจักพยากรณ์ ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว เราจักพยากรณ์สิ่งที่เห็นได้ยากนัก ละเอียดนัก ลึกซึ้ง ปรากฏดีด้วยญาณ ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว ผู้นั้น จักได้เสวยราชสมบัติในเทวโลกตลอด ๑๔ กัลป เทวดาทั้งหลายจักทรง กูฏาคาร อันประเสริฐที่มุงบังด้วยดอกปทุมไว้แก่ผู้นั้นในอากาศ นี้เป็นผล แห่งบุรพกรรม เขาจักท่องเที่ยวสับสนอยู่ตลอด ๑๔๐๐ กัลป ใน ๑๔๐๐ กัลปนั้น วิมานดอกไม้จักทรงอยู่ในอากาศ น้ำย่อมไม่ติดในใบบัว ฉันใด กิเลสก็ไม่ติดอยู่ในญาณของผู้นั้น ฉันนั้น ผู้นี้หมุนกลับนิวรณ์ ๕ ออกไป ด้วยใจ ยังจิตให้เกิดในเนกขัมมะแล้ว จักออกบวช ในกาลนั้น วิมาน ดอกไม้อันทรงอยู่ก็จักออกไปด้วย เมื่อผู้นั้นผู้มีปัญญา มีสติ อยู่ที่โคนไม้ ที่โคนไม้นั้น วิมานดอกไม้จักทรงอยู่เหนือศีรษะผู้นั้น จักถวายจีวร บิณฑบาตคิลานปัจจัย ที่นอนและที่นั่งแก่ภิกษุสงฆ์แล้ว จักไม่มีอาสวะ นิพพาน เมื่อผู้นั้นเที่ยวไปพร้อมด้วยกูฏาคารออกบวชแล้ว กูฏาคารย่อม ทรงผู้นั้นแม้อยู่ที่โคนไม้ เจตนาในจีวรและบิณฑบาตย่อมไม่มีแก่เรา เรา ประกอบด้วยบุญกรรม จึงได้จีวรและบิณฑบาตที่สำเร็จแล้ว พระพุทธเจ้า

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๙๑.

ผู้เป็นนายกของโลกล่วงเราไปเปล่าๆ พ้นไปแล้วด้วยดีตลอดโกฏิกัลป เป็นอันมากโดยจะนับจะประมาณมิได้ ในกัลปที่ ๑๘๐๐ แต่กัลปนี้ เราจึงได้ เฝ้าพระพุทธเจ้าพระนามว่าปิยทัสสี ผู้แนะนำให้วิเศษ แล้วจึงเข้าถึง กำเนิดนี้ เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าอโนมะ ผู้มีจักษุ ได้เข้า เฝ้าพระองค์แล้ว บวชเป็นบรรพชิต พระพุทธชินเจ้าผู้ทรงทำที่สุดทุกข์ได้ ทรงแสดงพระสัทธรรม เราได้ฟังธรรมของพระองค์แล้ว ได้บรรลุบทอัน ไม่หวั่นไหว เรายังพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมศากยบุตรให้ทรงโปรด กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ ในกัลปที่ ๑๘๐๐ แต่ กัลปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าใด ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว อาสวะทั้งปวงของเราสิ้นรอบแล้ว บัดนี้ ภพใหม่มิได้มี การที่เราได้มาใน สำนักพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการมาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้ว โดยลำดับ พระพุทธศาสนาเราได้ทำสำเร็จแล้ว คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้ชัดแจ้งแล้ว พระ พุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระปทุมกูฏาคาริกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ปทุมกูฏาคาริกเถราปทาน.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ บรรทัดที่ ๘๕๕๙-๘๖๑๒ หน้าที่ ๓๘๙-๓๙๑. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=32&A=8559&Z=8612&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=32&siri=397              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=397              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [397] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=32&item=397&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- [397] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=32&item=397&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_32              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap397/en/walters

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :