ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
โมรหัตถิยเถราปทานที่ ๒
ว่าด้วยผลแห่งการถวายกำหางนกยูง
[๔๒] เราถือกำหางนกยูงเข้าไปเฝ้าพระโลกนายก เรามีจิตเลื่อมใสมีใจ โสมนัส ได้ถวายกำหางนกยูง ด้วยกำหางนกยูงนี้ และด้วยการ ตั้งเจตนาไว้ ไฟ ๓ กองของเราจึงดับสนิทแล้ว เราได้สุขอัน ไพบูลย์ โอ พระพุทธเจ้า โอ พระธรรม โอ สัมปทาแห่งพระ ศาสดาของเรา เราถวายกำหางนกยูงแล้ว ได้ความสุขอันไพบูลย์ ไฟ ๓ กองของเราดับสนิทแล้ว เราถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว อาสวะ ทั้งปวงหมดสิ้นไปแล้ว บัดนี้ภพใหม่มิได้มี ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายทานใดในกาลนั้นด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้ เป็นผลแห่งการถวายกำหางนกยูง เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระโมรหัตถิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ โมรหัตถิยเถราปทาน.
สีหาสนพีชิยเถราปทานที่ ๓
ว่าด้วยผลแห่งการพัดพุทธอาสน์
[๔๓] เราได้ไหว้โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าติสสะ ได้ถือเอา พัดวีชนีพัดอาสนะทองในที่นั้น ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้ถวาย พัดทอง ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลของการพัด เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระสีหาสนพีชิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ สีหาสนพีชิยเถราปทาน.
ติณุกกธาริยเถราปทานที่ ๔
ว่าด้วยผลแห่งการทำคบเพลิงบูชา
[๔๔] เราเป็นผู้มีจิตเลื่อมใสมีใจโสมนัส ได้ชูคบเพลิงไว้ ๓ ดวง ที่ไม้ โพธิพฤกษ์ ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ ซึ่งเป็นไม้สูงสุด กว่าไม้ทั้งหลาย ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้บูชาคบเพลิงใด ด้วย การชูคบเพลิงนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลของการให้คบเพลิง เป็นทาน เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จ แล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระติณุกกธาริยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ติณุกกธาริยเถราปทาน.
อักกมนทายกเถราปทานที่ ๕
ว่าด้วยผลแห่งการเหยียบนวด
[๔๕] เราได้ถวายการเหยียบแด่พระพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ ผู้เป็น นักปราชญ์ มีบาปอันลอยเสียแล้ว ทรงอยู่จบพรหมจรรย์ ซึ่ง กำลังเสด็จดำเนินไปสู่ที่พักกลางวัน ในกัปนี้เองเราได้ถวายทานใด ในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ ถวายเหยียบ เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... พระพุทธศาสนาเราได้ทำ เสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระอักกมนทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ อักกมนทายกเถราปทาน.
วนโกรัณฑิยเถราปทานที่ ๖
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกหางช้าง
[๔๖] เราถือเอาดอกหางช้างป่ามาบูชาพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า พระนามว่า สิทธัตถะ ผู้ประเสริฐสุดกว่าโลก ผู้คงที่ ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้เอาดอกไม้ใดบูชา ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้ เป็นผลแห่งพุทธบูชาเราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... พระพุทธศาสนา เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระวนโกรัณฑิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ วนโกรัณฑิยเถราปทาน.
จบ ภาณวารที่ ๒๐
เอกฉัตติยเถราปทานที่ ๗
ว่าด้วยผลแห่งการกั้นร่มถวายพระพุทธองค์
[๔๗] แผ่นดินร้อนดังเพลิง แผ่นดินดุจมีเถ้ารึงไหล พระผู้มีพระภาคพระ นามว่าปทุมุตระ เสด็จจงกรมอยู่ที่กลางแจ้ง เรากั้นร่มขาวเดินทาง ไป ได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าเข้าที่กลางแจ้งนั้น แล้วเกิดความคิด ขึ้นว่า ภูมิภาคถูกพยับแดดแผ่คลุม แผ่นดินนี้จึงกลายเป็นเหมือน ถ่านเพลิง ลมพายุใหญ่ที่ทำสรีรกายให้ลอยขึ้นได้ ตั้งขึ้นอยู่ หนาว ร้อน ย่อมทำให้ลำบาก ขอได้โปรดรับร่มนี้ อันเป็นเครื่องป้องกัน ลมและแดดเถิด ข้าพระองค์จักถูกต้องนิพพาน พระชินเจ้าพระ- นามว่าปทุมุตระผู้ทรงอนุเคราะห์ ประกอบด้วยพระกรุณา มี พระยศใหญ่ ทรงทราบความดำริของเราแล้ว ทรงรับไว้ในกาลนั้น เราได้เป็นจอมเทวดาเสวยราชสมบัติในเทวโลก ๓๐ กัป ได้เป็น พระเจ้าจักรพรรดิราช ๕๐๐ ครั้ง และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอัน ไพบูลย์ โดยคณนานับมิได้ เราได้เสวยกรรมของตนซึ่งตนได้ก่อ สร้างไว้ดีแล้วในปางก่อน นี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา ภพที่สุดกำลัง เป็นไป ถึงทุกวันนี้ชนทั้งหลายก็พากันกั้นเศวตฉัตรให้เราตลอดกาล ทุกเมื่อ ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้ถวายร่มนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายร่ม เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... พระพุทธ ศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระเอกฉัตติยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ เอกฉัตติยเถราปทาน.
ชาติปุปผิยเถราปทานที่ ๘
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกมะลิ
[๔๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตระ ผู้มีพระยศใหญ่ปรินิพพาน แล้ว เราได้เอาผอบอันเต็มด้วยดอกไม้ไปบูชาพระสรีระ เรา ยังจิตให้เลื่อมใสในบุญกรรมนั้นแล้ว ได้ไปสู่สวรรค์ชั้นนิมมานรดี เราถึงจะไปอยู่ยังเทวโลก ก็ยังประพฤติบุญกรรมอยู่ ฝนดอกไม้ตก จากฟากฟ้าเพื่อเราตลอดกาลทั้งปวง เราสมภพในมนุษย์ก็เป็นพระ ราชาผู้มียศใหญ่ ในอัตภาพนั้น ฝนดอกโกสุมตกลงมาเพื่อเราทุกเมื่อ เพราะอำนาจที่เอาดอกไม้บูชาที่พระกายของพระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็น เหตุทั้งปวง นี้เป็นความเกิดครั้งสุดท้ายของเรา ภพที่สุดกำลังเป็น ไป ถึงทุกวันนี้ ฝนดอกไม้ก็ตกลงมาเพื่อเราทุกเวลา ในกัปที่แสน แต่กัปนี้ เราเอาดอกไม้ใดบูชา ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระสรีระ เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... พระ พุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระชาติปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล
จบ ชาติปุปผิยเถราปทาน.
สัตติปัณณิยเถราปทานที่ ๙
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกสัตตบรรณ
[๔๙] เมื่อมหาชนช่วยกันนำพระสรีระของพระพุทธเจ้าไป เมื่อกลอง บรรเลงอยู่ เรามีจิตเลื่อมใสมีใจโสมนัส ได้เอาดอกสัตตบรรณ บูชา ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้เอาดอกไม้ใดมาบูชา ด้วยการบูชา นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระสรีระ เราเผา กิเลสทั้งหลายแล้ว ... พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้วดังนี้. ทราบว่า ท่านพระสัตติปัณณิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ สัตติปัณณิยเถราปทาน
คันธปูชกเถราปทานที่ ๑๐
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยของหอม
[๕๐] เมื่อมหาชนกำลังช่วยกันทำจิตกาธารอยู่ และเมื่อของหอมนานา ชนิดถูกนำเอามา เรามีจิตเลื่อมใสมีใจโสมนัส ได้เอาของหอม กำมือหนึ่งบูชา ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้บูชาจิตกาธารใด ด้วย การบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาจิตกาธาร เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระคันธปูชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ คันธปูชกเถราปทาน.
-----------------------------------------------------
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ชคติทายกเถราปทาน ๖. วนโกรัณฑิยเถราปทาน ๒. โมรหัตถิยเถราปทาน ๗. เอกฉัตติเถราปทาน ๓. สีหาสนพีชิยเถราปทาน ๘. ชาติปุปผิยเถราปทาน ๔. ติณุกกธาริยเถราปทาน ๙. สัตติปัณณิยเถราปทาน ๕. อักกมนทายกเถราปทาน ๑๐. คันธปูชกเถราปทาน
บัณฑิตคำนวณคาถาได้ ๖๕ คาถา.
จบ ชคติทายกวรรคที่ ๔๖
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๑๐๓๔-๑๑๕๑ หน้าที่ ๔๕-๕๐. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=33&A=1034&Z=1151&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=33&siri=42              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=42              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [42-50] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=33&item=42&items=9              The Pali Tipitaka in Roman :- [42-50] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=33&item=42&items=9              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_33              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap454/en/walters

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :