ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
อปทานแห่งพระเถรีบุตรีพราหมณ์
แปดหมื่นสี่พันที่ ๒
ว่าด้วยบุพจริยาของพระเถรีแปดหมื่นสี่พันรูป
[๑๗๒] ข้าแต่พระมุนี หม่อมฉันทั้งหลายมีสมภพในสกุลพราหมณ์จำนวน ๘๔,๐๐๐ มีมือและเท้าละเอียดอ่อน เกิดในศาสนาของพระองค์ ข้าแต่พระมหามุนี หญิงที่เกิดในเวสสสกุล และสุททสกุล เทวดา นาค กินนร และที่อยู่ในทวีปทั้งสี่มีมาก เกิดในศาสนาของพระองค์ หญิงบางพวกบวชแล้ว มีความเห็นธรรมทั้งปวงก็มีมาก พวกเทวดา กินนร นาค จักตรัสรู้ในอนาคต ชนทั้งหลายได้เสวยเกียรติยศ ทั้งปวง มั่งคั่งด้วยสรรพสมบัติได้ความเลื่อมใสในพระองค์ จักตรัส รู้ในอนาคต ข้าแต่พระมหาวีรเจ้าผู้มีพระจักษุ ส่วนหม่อมฉัน ทั้งหลายเกิดในสกุลพราหมณ์ เป็นธิดาของพราหมณ์ เป็นผู้มีโชคดี ขอถวายบังคมพระยุคลบาท หม่อมฉันทั้งหลายกำจัดภพทั้งหมดแล้ว ถอนตัณหาอันเป็นรากเหง้าขึ้นแล้ว ตัดอนุสัยขาดแล้ว ทำลายสังขาร คือบุญหมดแล้ว หม่อมฉันทั้งปวงมีสมาธิเป็นโคจรชำนาญใน สมาบัติ จักอยู่ด้วยฌานและความยินดีในธรรมทุกเมื่อ ข้าแต่พระ- องค์ผู้นายก หม่อมฉันทั้งหลายยังตัณหาที่นำไปสู่ภพ อวิชชา และ แม้สังขารให้สิ้นไปแล้ว บรรลุถึงบทที่แสนยากจะเห็นได้แล้ว ทราบอยู่. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ท่านทั้งปวงมีอุปการะแก่เราผู้เดินทางไกลตลอดกาลนานมา จงตัด ความสงสัยของบริษัทสี่แล้วจึงถึงความดับทุกข์เถิด. พระเถรีเหล่านั้น ถวายบังคมพระยุคลบาทของพระมุนีแล้วแสดง ฤทธิ์ต่างๆ บางพวกแสดงแสงสว่าง บางพวกแสดงมืด บางพวก แสดงพระจันทร์ พระอาทิตย์ บางพวกแสดงทะเล พร้อมด้วยปลา บางพวกแสดงเขาสิเนรุ บางพวกแสดงเขาสัตตบริภัณฑ์ บางพวก แสดงต้นปาริฉัตตกะ บางพวกแสดงภพดาวดึงส์ บางพวกแสดง ภพยามาด้วยฤทธิ์บางพวกแสดงเป็นเทวดาชาวดุสิต บางพวกแสดง เป็นเทวดาชาวนิมมานรดี บางพวกแสดงเป็นเทวดาชาวปรนิมมิต- วสวัตดีมีอิสระมาก บางพวกแสดงเป็นพรหม บางพวกแสดงที่ จงกรมอันควรแก่ค่ามาก บางพวกนิรมิตเพศเป็นพรหมแสดง สุญญตธรรม พระเถรีทั้งปวงครั้นแสดงฤทธิ์มีชนิดต่างๆ แล้วก็ แสดงกำลังถวายพระศาสดา ครั้นแล้ว ก็ถวายบังคมพระยุคลบาท กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหามุนีหม่อมฉันทั้งหลายเป็นผู้มีความชำนาญ ในฤทธิ์ มีความชำนาญในทิพโสตธาตุ มีความชำนาญในเจโต- ปริยญาณ รู้บุพเพนิวาสญาณและทิพจักษุอันหมดจดวิเศษ มีอาสวะ ทั้งปวงสิ้นไปแล้ว บัดนี้ ภพใหม่มิได้มีอีก ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า หม่อมฉันทั้งหลายมีญาณในอรรถะธรรมะนิรุตติ และปฏิภาณเกิดขึ้น แล้วในสำนักของพระองค์ ความสมาคมกับพระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ เป็นนาถะของโลก พระองค์ทรงแสดงแล้ว ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันทั้งหลายมีอธิการเป็นอันมาก เพื่อประโยชน์แก่พระองค์ ข้าแต่พระมุนีมหาวีรเจ้า ขอพระองค์จงทรงระลึกถึงกุศลกรรมก่อน ของหม่อมฉันทั้งหลาย หม่อมฉันทั้งหลายก่อสร้างบุญก็เพื่อ ประโยชน์แก่พระองค์ ในกัปที่หนึ่งแสนแต่ภัทรกัปนี้พระมหามุนี พระนามว่าปทุมุตระ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว พระนครหงสวดีเป็นที่อยู่ อาศัยแห่งสกุลของพระสัมพุทธเจ้า มีแม่น้ำคงคาไหลผ่านทางประตู พระนครหงสวดี ในกาลทั้งปวงภิกษุทั้งหลายเดือดร้อนเพราะแม่น้ำ ไปไหนไม่ได้ น้ำเต็มเปี่ยมวันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง สามวันบ้าง สัปดาห์หนึ่งบ้าง เดือนหนึ่งบ้าง สี่เดือนบ้าง ภิกษุเหล่านั้นจึงไป ไม่ได้ ครั้งนั้น รัฐบุรุษผู้หนึ่งมีนามว่าชัชชิยะ มีทรัพย์เป็นสาระ ของประโยชน์ของตนเห็นภิกษุทั้งหลาย ได้ให้นายช่างจัดสร้าง สะพานที่ฝั่งนี้แห่งแม่น้ำคงคา ครั้งนั้นประชาชน ให้นายช่างสร้าง สะพานที่แม่น้ำคงคาด้วยทรัพย์หลายแสนและรัฐบุรุษนั้น ได้ให้นาย ช่างสร้างวิหารที่ฝั่งโน้นถวายแก่สงฆ์ สตรี บุรุษ สกุลสูงและต่ำ เหล่านั้น ได้ ให้สร้างสะพานและวิหาร ให้มีส่วนเท่ากันกับของ รัฐบุรุษนั้นหม่อมฉันทั้งหลายและมนุษย์เหล่าอื่น ในพระนครและ ในชนบท มีจิตเลื่อมใส ย่อมเป็นธรรมทายาทแห่งพระพุทธเจ้า พระองค์นั้น สตรี บุรุษ กุมารและกุมารีมากด้วยกันต่างก็ขนเอา ทรายมาเกลี่ยลงที่สะพานและวิหาร กวาดถนนแล้วยกต้นกล้วย หม้อมีน้ำเต็มและธงขึ้น จัดธูป จุรณ และดอกไม้เป็นสักการะ แด่พระศาสดา ครั้นสร้างสะพานและวิหารแล้ว นิมนต์พระพุทธเจ้า ถวายมหาทานแล้วปรารถนาความตรัสรู้ พระมหามุนีปทุมุตระมหา- วีรเจ้าผู้เป็นที่เคารพแห่งสรรพสัตว์ ทรงทำอนุโมทนาแล้ว ตรัส- พยากรณ์ว่า เมื่อแสนกัปล่วงไปแล้ว จึงมีภัทรกัป บุรุษนี้ได้ความสุข ในภพน้อยภพใหญ่แล้ว จักบรรลุโพธิญาณ บุรุษและสตรีที่ทำ หัตถกรรมทั้งหมด จักมีในที่เฉพาะหน้าในอนาคตกาล ด้วยวิบาก แห่งกรรมนั้นและด้วยการตั้งเจตน์จำนงไว้ ประชาชนเหล่านั้นเกิด ในเทวโลกแล้ว เป็นบริจาริกาแห่งพระองค์ เสวยทิพยสุขและ มนุษยสุขมากมายท่องเที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่ตลอดกาลนาน ใน กัปที่หนึ่งแสนแต่ภัทรกัปนี้ หม่อมฉันทั้งหลายมีกุศลกรรมอันทำดี แล้ว ย่อมได้รูปสมบัติ โภคสมบัติ ยศ ความสรรเสริญและ ความสุขเป็นที่รัก ซึ่งเป็นผลที่ปรารถนาทั้งปวงเนืองๆ ในหมู่มนุษย์ ที่ละเอียดอ่อน และในเทวโลก ในภพนี้ซึ่งเป็นภพหลัง หม่อมฉัน ทั้งหลายเกิดในสกุลพราหมณ์ มีมือและเท้าละเอียดอ่อน และได้ มาในพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นดังว่าพระนิเวศน์แห่งพระศากยบุตร ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันทั้งหลายย่อมไม่เห็นแผ่นดินที่เขาไม่ ตกแต่ง และไม่เห็นภาคพื้นที่เป็นทางเดินลื่น แม้ตลอดกาลทั้งปวง เมื่อหม่อมฉันทั้งหลายอยู่ในอคารสถาน ประชุมชนก็นำสักการะทุก อย่างมาให้ตลอดกาลทั้งปวงเพราะผลแห่งกุศลกรรมในกาลก่อน หม่อมฉันทั้งหลายละอคารสถานแล้ว บวชเป็นภิกษุณีข้ามทาง สงสารได้แล้ว บัดนี้ภพใหม่มิได้มีอีก พวกทายกทายิกาหลายพัน แต่ที่นั้นๆ นำจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและเภสัชปัจจัยมาให้ เสมอไป หม่อมฉันทั้งหลายเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... พระพุทธศาสนา หม่อมฉันทั้งหลายได้ทำเสร็จแล้ว. ทราบว่า ภิกษุณีบุตรีพราหมณ์ ๘๔,๐๐๐ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้เฉพาะพระพักตร์พระผู้มี พระภาค ด้วยประการฉะนี้แล.
จบอปทานแห่งพระเถรีบุตรีพราหมณ์ ๘๔,๐๐๐.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๖๒๓๒-๖๓๑๘ หน้าที่ ๒๖๘-๒๗๑. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=33&A=6232&Z=6318&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=33&siri=183              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=172              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [172] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=33&item=172&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- [172] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=33&item=172&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_33              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/thi-ap32/en/walters

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :