ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
สุเมธพุทธวงศ์ที่ ๑๑
ว่าด้วยพระประวัติพระสุเมธพุทธเจ้า
[๑๒] ในสมัยต่อมาจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ พระพิชิตมาร พระนามว่าสุเมธ ผู้เป็นนายกของโลก ยากที่จะเทียมถึง ทรงมีเดช รุ่งเรือง อุดมกว่าสัตวโลกทั้งปวง ทรงมีพระเนตรแจ่มใส พระพักตร์ แช่มชื่น พระองค์สูงใหญ่ ตรง มีสง่า ทรงแสวงหาประโยชน์เพื่อ สรรพสัตว์ ทรงเปลื้องสัตว์ให้พ้นจากเครื่องผูกเป็นอันมาก ในกาล เมื่อพระพุทธเจ้าทรงบรรลุพระโพธิญาณอันอุดมบริสุทธิ์แล้ว ทรง ประกาศธรรมจักร ณ สุทัสนนคร แม้ในกาลที่พระองค์ทรงแสดง พระธรรมเทศนา มีธรรมาภิสมัย ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ ธรรมาภิสมัยได้ มีแก่สัตว์แสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ ในกาลเมื่อพระพิชิตมารทรงทรมาน ยักษ์ชื่อว่า กุมภกรรณ์ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์เก้าหมื่นโกฏิ ครั้งที่ ๓ ในกาลเมื่อพระองค์ผู้ทรงยศนับไม่ได้ ทรงประกาศจตุราริยสัจ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ พระสุเมธศาสดาทรงมีการ ประชุมพระภิกษุขีณาสพ ผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ๓ ครั้ง ในกาลเมื่อพระพิชิตมารเสด็จเข้าไปในสุทัสนนคร พระภิกษุขีณาสพมาประชุมกันร้อยโกฏิ ในกาลเมื่อภิกษุทั้งหลาย กรานกฐิน ณ เทวกูฏ พระภิกษุขีณาสพมาประชุมกันครั้งที่ ๒ เก้าสิบ โกฏิ ในกาลเมื่อพระทศพลเสด็จจาริกไปอีกครั้งหนึ่ง พระภิกษุ- ขีณาสพมาประชุมกันครั้งที่ ๓ แปดสิบโกฏิ สมัยนั้น เราเป็นมาณพ มีนามว่าอุตระ มีทรัพย์ที่เก็บสะสมไว้ในเรือนแปดสิบโกฏิ เราได้ ถวายทรัพย์แก่พระศาสดา พร้อมด้วยพระสาวกหมดสิ้น แล้วถึง พระองค์เป็นสรณะ ชอบใจ (ออก) บรรพชา แม้พระพุทธเจ้า พระองค์นั้น เมื่อทรงทำอนุโมทนา ก็ทรงพยากรณ์เราในกาลนั้นว่า ในสามหมื่นกัป ผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ......... ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์แม้นั้นแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง ได้อธิษฐานวัตรในการบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ ให้ยิ่งขึ้นไป เราเล่าเรียนพระสูตรและพระวินัย อันเป็น นวังคสัตถุศาสน์ทั้งปวงแล้ว ทำพระศาสนาของพระพิชิตมารให้งาม เราเป็นผู้ไม่ประมาทในคำสั่งสอนนั้น ทั้งในเวลานั่งยืนและเดิน ถึง ความสำเร็จในอภิญญาแล้ว ได้ไปยังพรหมโลก พระนครชื่อว่า สุทัสนะ พระบรมกษัตริย์พระนามว่าสุทัตตะ เป็นพระชนกของ พระสุเมธศาสดา พระนางสุทัตตาเป็นพระชนนี พระองค์ทรงครอบ ครองอาคารสถานอยู่เก้าหมื่นปี ทรงมีปราสาทอันประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อว่าสุจันทะ กัญจนะ และสิริวัฑฒะ มีพระสนมนารีกำนัลในสี่หมื่น แปดพันนาง ล้วนประดับประดาสวยงาม พระมเหสีพระนามว่าสุมนา พระราชโอรสพระนามว่าปุนัพพะ พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงเสด็จออกผนวชด้วยคชสารอันเป็นยานพระที่นั่งต้น ทรงบำเพ็ญ เพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม พระสุเมธมหาวีรชินเจ้าผู้เป็นนายกของโลก อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศธรรมจักร ณ สุทัสนอุทยาน อันประเสริฐ ทรงมีพระสรณเถระและสรรพกามเถระ เป็นพระอัคร- สาวก พระเถระชื่อว่าสาคระ เป็นพุทธอุปัฏฐาก พระรามาเถรีและ พระสุรามาเถรี เป็นพระอัครสาวิกา ไม้โพธิพฤกษ์ของพระองค์ เรียกชื่อว่าต้นสะเดา อุรุเวลาอุบาสกและยสวาอุบาสก เป็นอัคร- อุปัฏฐาก ยสาอุบาสิกาและสิริวาอุบาสิกา เป็นอัครอุปัฏฐายิกา พระมหามุนีทรงมีพระองค์สูง ๘๘ ศอก มีพระรัศมีสว่างไสวไปทั่วทิศ เปรียบดังพระจันทร์ในหมู่ดาว ฉะนั้น พระรัศมีของพระองค์แผ่ไป ตลอดโยชน์หนึ่งโดยรอบ เหมือนแก้วมณีของพระเจ้าจักรพรรดิ แผ่ไปโยชน์หนึ่ง ฉะนั้น ในกาลนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอายุเก้าหมื่นปี พระองค์ทรงดำรงพระชนมายุอยู่เท่านั้น ทรงช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้น วัฏฏสงสารได้มากมาย พระศาสนาของพระองค์ คับคั่งไปด้วยพระ อรหันต์ทั้งหลาย ล้วนแต่ผู้บรรลุไตรวิชชา ฉฬภิญญา และพลธรรม คงที่ แม้ท่านทั้งหมดนั้น ล้วนมียศศักดิ์มากนับไม่ได้ หลุดพ้นแล้ว ไม่มีอุปธิ แสดงแสงสว่างแห่งญาณแล้วนิพพาน พระพุทธสุเมธ ชินเจ้าผู้ประเสริฐ เสด็จนิพพาน ณ เมธาราม พระธาตุของพระองค์ แผ่กระจัดกระจายไปในประเทศนั้นๆ ฉะนี้แล.
จบสุเมธพุทธวงศ์ที่ ๑๑

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๗๗๗๘-๗๘๓๔ หน้าที่ ๓๓๓-๓๓๕. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=33&A=7778&Z=7834&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=33&siri=203              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=192              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [192] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=33&item=192&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=51&A=6364              The Pali Tipitaka in Roman :- [192] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=33&item=192&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=51&A=6364              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_33

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :