ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์
จิตดวงที่ ๒
[๑๒๕] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? กามาวจรกุศลจิต สหครคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
จิตดวงที่ ๒ จบ
-----------------------------------------------------
จิตดวงที่ ๓
[๑๒๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. [๑๒๗] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๗ ฌานมีองค์ ๕ มรรค มีองค์ ๔ พละ ๖ เหตุ ๒ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือ นามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ [๑๒๘] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น เว้น เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
จิตดวงที่ ๓ จบ
-----------------------------------------------------
จิตดวงที่ ๔
[๑๒๙] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวะธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
จิตดวงที่ ๔ จบ
-----------------------------------------------------
จิตดวงที่ ๕
[๑๓๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ หรือมีเสียง เป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ อุเบกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. [๑๓๑] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้องในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะ มีในสมัยนั้น เวทนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณ ธาตุที่สมกัน ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เวทนา มีในสมัยนั้น ฯลฯ อุเบกขา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ ที่ไม่ทุกข์ไม่ สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อุเบกขา มีในสมัยนั้น ฯลฯ อุเบกขินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ ที่ไม่ทุกข์ไม่ สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อุเบกขินทรีย์ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. [๑๓๒] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมีองค์ ๔ มรรคมีองค์ ๕ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ [๑๓๓] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
จิตดวงที่ ๕ จบ
-----------------------------------------------------
จิตดวงที่ ๖
[๑๓๔] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรม เป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
จิตดวงที่ ๖ จบ
-----------------------------------------------------
จิตดวงที่ ๗
[๑๓๕] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรม เป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ อุเบกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่ อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น. สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ [๑๓๖] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๗ ฌานมีองค์ ๔ มรรคมีองค์ ๔ พละ ๖ เหตุ ๒ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ [๑๓๗] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ ในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
จิตดวงที่ ๗ จบ
-----------------------------------------------------
จิตดวงที่ ๘
[๑๓๘] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
จิตดวงที่ ๘ จบ
กามาวจรมหากุศลจิต ๘ จบ
ทุติยภาณวาร จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ บรรทัดที่ ๑๑๔๔-๑๒๗๘ หน้าที่ ๔๘-๕๓. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=34&A=1144&Z=1278&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=34&siri=19              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=125              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [125-138] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=34&item=125&items=14              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=53&A=5171              The Pali Tipitaka in Roman :- [125-138] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=34&item=125&items=14              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=53&A=5171              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_34              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ds2.1.1/en/caf_rhysdavids#pts-cs146

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :