ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์
อาสวโคจฉกะ
[๗๐๘] ธรรมเป็นอาสวะ เป็นไฉน? อาสวะ ๔ คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ. [๗๐๙] บรรดาอาสวะ ๔ นั้น กามาสวะ เป็นไฉน? ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัดคือความใคร่ ความเพลิดเพลินคือความใคร่ ตัณหาคือความใคร่ สิเนหาคือความใคร่ ความเร่าร้อนคือความใคร่ ความสยบคือความใคร่ ความหมกมุ่นคือความใคร่ ในกามทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า กามาสวะ. [๗๑๐] ภวาสวะ เป็นไฉน? ความพอใจในภพ ความกำหนัดในภพ ความเพลิดเพลินในภพ สิเนหาในภพ ความเร่าร้อนในภพ ความสยบในภพ ความหมกมุ่นในภพ ในภพทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า ภวาสวะ. [๗๑๑] ทิฏฐาสวะ เป็นไฉน? ความเห็นว่า โลกเที่ยงก็ดี ว่าโลกไม่เที่ยงก็ดี ว่าโลกมีที่สุดก็ดี ว่าโลกไม่มีที่สุดก็ดี ว่าชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้นก็ดี ว่าชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่นก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่เบื้องหน้า แต่มรณะก็ดี ว่าสัตว์ไม่เป็นอยู่เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่ก็มีไม่เป็นอยู่ก็มี เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่ก็ไม่ใช่ไม่เป็นอยู่ก็ไม่ใช่เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะ เช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า ทิฏฐาสวะ. มิจฉาทิฏฐิ แม้ทั้งหมด จัดเป็นทิฏฐาสวะ. [๗๑๒] อวิชชาสวะ เป็นไฉน? ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ในทุกข- *นิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความไม่รู้ทั้งในส่วนอดีต และส่วนอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามเป็นจริง ความไม่ แทงตลอด ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความไม่พินิจ ความไม่ พิจารณา การไม่กระทำให้ประจักษ์ ความทรามปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า อวิชชาสวะ. สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอาสวะ. [๗๑๓] ธรรมไม่เป็นอาสวะ เป็นไฉน? เว้นอาสวธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรมที่เป็นกามาวจร รูปวาจร อรูปาวจร โลกุตตระ ที่เหลือ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอาสวะ. [๗๑๔] ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน? กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ ของอาสวะ. ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน? มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ. [๗๑๕] ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะ เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยอาสวธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะ. ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากอาสวธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ. [๗๑๖] ธรรมเป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน? อาสวะเหล่านั้นนั่นแล ชื่อว่า ธรรมเป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ. ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใด เป็นอารมณ์ของอาสวะโดยอาสวธรรมเหล่านั้น เว้นอาสวธรรมเหล่านั้น เสีย คือ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะที่เหลือ ซึ่งเป็น กามาวจร อรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็น อารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ. [๗๑๗] ธรรมเป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ เป็นไฉน? กามาสวะ เป็นอาสวะ และสัมปยุตด้วยอาสวะ โดยอวิชชาสวะ อวิชชาสวะ เป็นอาสวะ และสัมปยุตด้วยอาสวะ โดยกามาสวะ ภวาสวะ เป็นอาสวะ และสัมปยุตด้วยอาสวะ โดยอวิชชาสวะ อวิชชาสวะ เป็นอาสวะ และสัมปยุตด้วยอาสวะ โดยภวาสวะ ทิฏฐาสวะ เป็นอาสวะ และสัมปยุตด้วยอาสวะ โดยอวิชชาสวะ อวิชชาสวะ เป็นอาสวะ และสัมปยุตด้วยอาสวะ โดยทิฏฐาสวะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ. ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยอาสวธรรมเหล่านั้น เว้นอาสวธรรมเหล่านั้นเสีย คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็น อาสวะ. [๗๑๘] ธรรมวิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากอาสวธรรมเหล่านั้น คือ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากต- *ธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ. ธรรมวิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน? มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม วิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ.
อาสวโคจฉกะ จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ บรรทัดที่ ๖๒๖๑-๖๓๓๖ หน้าที่ ๒๕๐-๒๕๒. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=34&A=6261&Z=6336&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=34&siri=56              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=708              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [708-718] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=34&item=708&items=11              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=53&A=10632              The Pali Tipitaka in Roman :- [708-718] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=34&item=708&items=11              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=53&A=10632              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_34              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ds2.3.2/en/caf_rhysdavids#pts-vp-en290

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :