ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์
เหตุโคจฉกะ
[๙๐๐] ธรรมเป็นเหตุ เป็นไฉน? กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ อโลภกุศลเหตุ อโทสกุศลเหตุ บังเกิดในกุศลทั้ง ๔ ภูมิ อโมหกุศลเหตุบังเกิดในกุศลทั้ง ๔ ภูมิ เว้นจิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุตฝ่ายกามาวจร ๔ ดวง โลภะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง โทสะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ ดวง โมหะ บังเกิดในอกุศลทั้งปวง อโลภวิปากเหตุ อโทสวิปากเหตุ ย่อมเกิดในวิบากทั้ง ๔ ภูมิ เว้นอเหตุกจิตตุปบาท ฝ่ายกามาวจรวิบาก อโมหวิปากเหตุ บังเกิดในวิบากทั้ง ๔ ภูมิ เว้นอเหตุกจิตตุปบาท ฝ่ายกามาวจรวิบาก (และ) เว้นจิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุต ๔ ดวง อโลภกิริยเหตุ อโทสกิริยเหตุ บังเกิดในกิริยาทั้ง ๓ ภูมิ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่าย กามาวจรกิริยา อโมหกิริยเหตุ บังเกิดในกิริยาทั้ง ๓ ภูมิ เว้นอเหตุกจิตตุปบาท ฝ่ายกามาวจรกิริยา (และ) เว้นจิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุต ๔ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุ. ธรรมไม่เป็นเหตุ เป็นไฉน? เว้นเหตุทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเหตุ. [๙๐๑] ธรรมมีเหตุ เป็นไฉน? อกุศลที่เหลือ เว้นโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา (และ) ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ, กุศล- *ในภูมิ ๔, วิบากในภูมิ ๔ เว้นอเหตุกจิตตุปบาท ฝ่ายกามาวจรวิบาก, กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ เว้นอเหตุกจิตตุปบาท ฝ่ายกามาวจรกิริยา สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมมีเหตุ. ธรรมไม่มีเหตุ เป็นไฉน? โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ปัญจวิญญาณ ทั้ง ๒ ฝ่าย มโนธาตุ ๓ อเหตุกมโนวิญญาณธาตุ ๕ รูปและนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรม ไม่มีเหตุ. [๙๐๒] ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุ เป็นไฉน? อกุศลที่เหลือ เว้นโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา (และ) ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ, กุศล ในภูมิ ๔, วิบากในภูมิ ๔ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรวิบาก, กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรกิริยา สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุ. ธรรมวิปปยุตจากเหตุ เป็นไฉน? โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ปัญจวิญญาณทั้ง ๒ ฝ่าย มโนธาตุ ๓ อเหตุกมโนวิญญาณธาตุ ๕ รูปและนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรม วิปปยุตจากเหตุ. [๙๐๓] ธรรมเป็นเหตุและมีเหตุ เป็นไฉน? เหตุ ๒-๓ บังเกิดร่วมกันในจิตตุปบาทใด สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุ และมีเหตุ. ธรรมมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๔, อกุศล, วิบากในภูมิ ๔ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรวิบาก, กิริยา อัพยากฤตในภูมิ ๓ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรกิริยา, เว้นเหตุทั้งหลายที่บังเกิดใน จิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ. ธรรมไม่มีเหตุ จะกล่าวว่า ธรรมเป็นเหตุและมีเหตุก็ไม่ได้ ว่าธรรมมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ ก็ไม่ได้. [๙๐๔] ธรรมเป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ เป็นไฉน? เหตุ ๒-๓ บังเกิดร่วมกันในจิตตุปบาทใด สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุและ สัมปยุตด้วยเหตุ. ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๔, อกุศล, วิบากในภูมิ ๔ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรวิบาก, กิริยา อัพยากฤตในภูมิ ๓ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรกิริยา เว้นเหตุทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นใน จิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ. ธรรมวิปปยุตจากเหตุ จะกล่าวว่า ธรรมเป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุก็ไม่ได้ ว่าธรรม สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็ไม่ได้. [๙๐๕] ธรรมไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๔, อกุศล, วิบากในภูมิ ๔ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรวิบาก, กิริยา อัพยากฤตในภูมิ ๓ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรกิริยา, เว้นเหตุทั้งหลายที่บังเกิดใน จิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ. ธรรมไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ เป็นไฉน? ปัญจวิญญาณทั้ง ๒ ฝ่าย มโนธาตุ ๓ อเหตุกมโนวิญญาณธาตุ ๕ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ. ธรรมเป็นเหตุ จะกล่าวว่า ธรรมไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็ไม่ได้ ว่าธรรมไม่เป็นเหตุและ ไม่มีเหตุก็ไม่ได้.
เหตุโคจฉกะ จบ
-----------------------------------------------------
จูฬันตรทุกะ
[๙๐๖] สัปปัจจยธรรม เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า สัปปัจจยธรรม. อัปปัจจยธรรม เป็นไฉน? นิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัปปัจจยธรรม. [๙๐๗] สังขตธรรม เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า สังขตธรรม. อสังขตธรรม เป็นไฉน? นิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อสังขตธรรม. [๙๐๘] สนิทัสสนธรรม เป็นไฉน? รูปายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า สนิทัสสนธรรม. อนิทัสสนธรรม เป็นไฉน? จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยา อัพยากฤตในภูมิ ๓ รูปที่เห็นไม่ได้ที่กระทบไม่ได้ แต่นับเนื่องในธัมมายตนะ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อนิทัสสนธรรม. [๙๐๙] สัปปฏิฆธรรม เป็นไฉน? จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า สัปปฏิฆธรรม. อัปปฏิฆธรรม เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูปที่เห็นไม่ได้ที่กระทบ ไม่ได้ แต่นับเนื่องในธัมมายตนะ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัปปฏิฆธรรม. [๙๑๐] รูปิธรรม เป็นไฉน? มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า รูปิธรรม. อรูปิธรรม เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และนิพพาน สภาว- *ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อรูปิธรรม, [๙๑๑] โลกิยธรรม เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า โลกิยธรรม. โลกุตตรธรรม เป็นไฉน? มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า โลกุตตรธรรม. [๙๑๒] ธรรมทั้งหมดแล จัดเป็นเกนจิวิญเญยยธรรม เกนจินวิญเญยยธรรม.
จูฬันตรทุกะ จบ
-----------------------------------------------------
อาสวโคจฉกะ
[๙๑๓] อาสวธรรม เป็นไฉน? อาสวะ ๔ คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ กามาสวะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง ภาวสวะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ วิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง ทิฏฐาสวะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง อวิชชาสวะ บังเกิดในอกุศลทั้งปวง สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อาสวธรรม. ธรรมไม่เป็นอาสวะ เป็นไฉน? อกุศลที่เหลือเว้นอาสวธรรมเสีย กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตใน ภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอาสวะ. [๙๑๔] ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะ. ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน? มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ. [๙๑๕] ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะ เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัส ๒ ดวง อกุศลที่เหลือ เว้นโมหะที่เกิดในจิตตุปบาท ๒ ดวงนี้ เว้นโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา (และ) เว้นโมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สภาวธรรม เหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะ. ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ เป็นไฉน? โมหะ ที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ ดวง โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา โมหะที่สหรคตอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และ นิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ. [๙๑๖] ธรรมเป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน? อาสวะเหล่านั้นแล ชื่อว่า ธรรมเป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ. ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ เป็นไฉน? อกุศลที่เหลือ เว้นอาสวะเสีย กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ จะกล่าวว่า เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะก็ไม่ ได้ ว่าเป็นอารมณ์ของอาสวะ แต่ไม่เป็นอาสวะก็ไม่ได้. [๙๑๗] ธรรมเป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ เป็นไฉน? อาสวะ ๒-๓ อย่าง บังเกิดร่วมกันในจิตตุปบาทใด สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรม เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ. ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ เป็นไฉน? อกุศลที่เหลือ เว้นอาสวะทั้งหลายเสีย สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วย อาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ. ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ จะกล่าวว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะก็ไม่ได้ ว่า สัมปยุตด้วยอาสวะ แต่ไม่เป็นอาสวะก็ไม่ได้. [๙๑๘] ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ แต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน? โมหะที่บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสสเวทนา ๒ ดวง โมหะที่สหรคตด้วย วิจิกิจฉา โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากอาสวะแต่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ และไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน? มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ. ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะ จะกล่าวว่า ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ แต่เป็นอารมณ์ของ อาสวะก็ไม่ได้ ว่าธรรมวิปปยุตจากอาสวะ และไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็ไม่ได้.
อาสวะโคจฉกะ จบ.
-----------------------------------------------------
สัญโญชนโคจฉกะ
[๙๑๙] สัญโญชนธรรม เป็นไฉน? สัญโญชน์ ๑๐ คือ กามราคสัญโญชน์ ปฏิฆสัญโญชน์ มานสัญโญชน์ ทิฏฐิสัญโญชน์ วิจิกิจฉาสัญโญชน์ สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ ภวราคสัญโญชน์ อิสสาสัญโญชน์ มัจฉริย- *สัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ กามราคสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง ปฏิฆสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวง มานสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ วิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง ทิฏฐิสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง วิจิกิจฉาสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา สิลัพพตปรามาสสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง ภวราคสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ วิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง อิสสาสัญโญชน์ และมัจฉริยสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสส- *เวทนา ๒ ดวง อวิชชาสัญโญชน์ บังเกิดอกุศลทั้งปวง สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า สัญโญชนธรรม. ธรรมไม่เป็นสัญโญชน์ เป็นไฉน? อกุศลที่เหลือ เว้นสัญโญชน์ทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพ- *ยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นสัญโญชน์. [๙๒๐] ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๗ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์. ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นไฉน? มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์. [๙๒๑] ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ เป็นไฉน? อกุศลที่เหลือ เว้นโมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรม ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ เป็นไฉน? โมหะ ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์. [๙๒๒] ธรรมเป็นสัญโญชน์ และเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นไฉน? สัญโญชน์เหล่านั้นแล ชื่อว่า ธรรมเป็นสัญโญชน์ และเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์. ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ แต่ไม่เป็นสัญโญชน์ เป็นไฉน? อกุศลที่เหลือ เว้นสัญโญชน์ทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤต ในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ แต่ไม่เป็น สัญโญชน์. ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ จะกล่าวว่า ธรรมเป็นสัญโญชน์ และเป็นอารมณ์ ของสัญโญชน์ก็ไม่ได้ ว่าธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ แต่ไม่เป็นสัญโญชน์ก็ไม่ได้. [๙๒๓] ธรรมเป็นสัญโญชน์และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ เป็นไฉน? สัญโญชน์ ๒-๓ อย่าง บังเกิดร่วมกันในจิตตุปบาทใด สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์. ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ แต่ไม่เป็นสัญโญชน์ เป็นไฉน? อกุศลที่เหลือ เว้นสัญโญชน์ทั้งหลายเสีย สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วย สัญโญชน์ แต่ไม่เป็นสัญโญชน์. ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ จะกล่าวว่า ธรรมเป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ ก็ไม่ได้ ว่าธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ แต่ไม่เป็นสัญโญชน์ก็ไม่ได้. [๙๒๔] ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ แต่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นไฉน? โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ แต่เป็นอารมณ์ของ สัญโญชน์ ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นไฉน? มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ และไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์. ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ จะกล่าวว่า ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ แต่เป็นอารมณ์ ของสัญโญชน์ก็ไม่ได้ ว่าธรรมวิปปยุตตจากสัญโญชน์ และไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ก็ไม่ได้.
สัญโญชนโคจฉกะ จบ.
-----------------------------------------------------
คันถโคจฉกะ
[๙๒๕] คันถธรรม นั้นเป็นไฉน? คันธะ ๔ คือ อภิชฌากายคันถะ พยาบาทกายคันถะ สีลัพพตปรามาสกายคันถะ อิทัง- *สัจจาภินิเวสกายคันถะ. อภิชฌากายคันถะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง พยาปาทกายคันถะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสสเวทนา ๒ ดวง สีลัพพตปรามาสกายคันถะ และอิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่ สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า คันถธรรม. ธรรมไม่เป็นคันถะ เป็นไฉน? อกุศลที่เหลือ เว้นคันถะทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤต ในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นคันถะ. [๙๒๖] ธรรมเป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมที่เป็นอารมณ์ของคันถะ. ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน? มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมไม่ เป็นอารมณ์ของคันถะ [๙๒๗] ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะ เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง, จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง เว้นโลภะที่บังเกิดในจิตตุปบาทนี้เสีย, จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสสเวทนา ๒ ดวง เว้นปฏิฆะที่เกิดในจิตตุปบาทนี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะ. ธรรมวิปปยุตจากคันถะ เป็นไฉน? โลภะที่บังเกิดขึ้นในจิตตุปบาท ที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง ปฏิฆะที่เกิด ในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาท ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากคันถะ. [๙๒๘] ธรรมเป็นคันถะ และเป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน? คันถธรรมเหล่านั้นแล ชื่อว่า ธรรมเป็นคันถะ และเป็นอารมณ์ของคันถะ. ธรรมเป็นอารมณ์ของคันถะ แต่ไม่เป็นคันถะ เป็นไฉน? อกุศลที่เหลือ เว้นคันถะทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤต ในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของคันถะ แต่ไม่เป็น คันถะ ธรรมเป็นอารมณ์ของคันถะ จะกล่าวว่า ธรรมเป็นคันถะ และเป็นอารมณ์ของคันถะ ก็ไม่ได้ ว่าธรรมเป็นอารมณ์ของคันถะ แต่ไม่เป็นคันถะก็ไม่ได้. [๙๒๙] ธรรมเป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ เป็นไฉน? ทิฏฐิและโลภะบังเกิดร่วมกันในจิตตุปบาทใด สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นคันถะ และสัมปยุตด้วยคันถะ. ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะ แต่ไม่เป็นคันถะ เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสสเวทนา ๒ ดวง เว้นคันถะทั้งหลายที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรม สัมปยุตด้วยคันถะ แต่ไม่เป็นคันถะ. ธรรมวิปปยุตจากคันถะ จะกล่าวว่า ธรรมเป็นคันถะ และสัมปยุตด้วยคันถะก็ไม่ได้ ว่าธรรมสัมปยุตด้วยคันถะ แต่ไม่เป็นคันถะก็ไม่ได้. [๙๓๐] ธรรมวิปปยุตจากคันถะ แต่เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน? โลภะที่บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ วิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง ปฏิฆะที่บังเกิด ในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสสเวทนา ๒ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาท ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากคันถะ แต่เป็นอารมณ์ของคันถะ. ธรรมวิปปยุตจากคันถะ และไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน? มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากคันถะ และไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ. ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะ จะกล่าวว่า ธรรมวิปปยุตจากคันถะ แต่เป็นอารมณ์ของคันถะ ก็ไม่ได้ ว่าธรรมวิปปยุตจากคันถะ และไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็ไม่ได้.
คันถโคจฉกะ จบ
-----------------------------------------------------
[๙๓๑] โอฆธรรม เป็นไฉน ฯลฯ โยคธรรม เป็นไฉน ฯลฯ
นีวรณโคจฉกะ
นีวรณธรรม เป็นไฉน? นิวรณ์ ๖ คือ กามฉันทนิวรณ์ พยาปาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์. กามฉันทนิวรณ์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง พยาปาทนิวรณ์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสสเวทนา ๒ ดวง ถีนมิทธนิวรณ์ บังเกิดในอกุศลจิตที่เป็นสสังขาริก อุทธัจจนิวรณ์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุกกุจจนิวรณ์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสสเวทนา ๒ ดวง วิจิกิจฉานิวรณ์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา อวิชชานิวรณ์ บังเกิดในอกุศลจิตทั้งปวง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า นีวรณธรรม. ธรรมไม่เป็นนิวรณ์ เป็นไฉน? อกุศลที่เหลือ เว้นนิวรณ์ทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตใน ภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นนิวรณ์ [๙๓๒] ธรรมเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของนิวรณ์. ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน? มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์. [๙๓๓] ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์ เป็นไฉน? จิตตุปบาทฝ่ายอกุศล ๑๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์. ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์ เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์. [๙๓๔] ธรรมเป็นนิวรณ์ และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน? นีวรณธรรมเหล่านั้นแล ชื่อว่า ธรรมเป็นนิวรณ์ และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์. ธรรมเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ แต่ไม่เป็นนิวรณ์ เป็นไฉน? อกุศลที่เหลือ เว้นนิวรณ์ทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤต ในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ แต่ไม่เป็น นิวรณ์. ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ จะกล่าวว่า ธรรมเป็นนิวรณ์ และเป็นอารมณ์ของ นิวรณ์ก็ไม่ได้ ว่าธรรมเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็ไม่ได้. [๙๓๕] ธรรมเป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ เป็นไฉน? นิวรณ์ ๒-๓ อย่าง บังเกิดร่วมกันในจิตตุปบาทใด สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรม เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์. ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์ แต่ไม่เป็นนิวรณ์ เป็นไฉน? อกุศลที่เหลือ เว้นนิวรณ์ทั้งหลายเสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์ แต่ไม่เป็นนิวรณ์. ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์ จะกล่าวว่า ธรรมเป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ก็ไม่ได้ ว่าธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์ แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็ไม่ได้. [๙๓๖] ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์ แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์ แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์. ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์ และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน? มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม วิปยุตตจากนิวรณ์ และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์. ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์ จะกล่าวว่า ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์ แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ ก็ไม่ได้ ว่าธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์ และไม่เป็นอารมณ์ของ นิวรณ์ก็ไม่ได้.
นีวรณโคจฉกะ จบ
-----------------------------------------------------
ปรามาสโคจฉกะ
[๙๓๗] ปรามาสธรรม เป็นไฉน? ทิฏฐิปรามาสะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ปรามาสธรรม. ธรรมไม่เป็นปรามาสะ เป็นไฉน? อกุศลที่เหลือ เว้นปรามาสะเสีย กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤต ในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นปรามาสะ. [๙๓๘] ธรรมเป็นอารมณ์ของปรามาสะ เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูปทั้งหมด สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของปรามาสะ. ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ เป็นไฉน? มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ. [๙๓๙] ธรรมสัมปยุตด้วยปรามาสะ เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง เว้นปรามาสะที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยปรามาสะ. ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทสหรคตด้วยโทมนัสสเวทนา ๒ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูปและนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ. ปรามาสธรรม จะกล่าวว่า สัมปยุตด้วยปรามาสะก็ไม่ได้ ว่าวิปปยุตจากปรามาสะ ก็ไม่ได้. [๙๔๐] ธรรมเป็นปรามาสะ และเป็นอารมณ์ของปรามาสะ เป็นไฉน? ปรามาสธรรมนั้นแล ชื่อว่า ธรรมปรามาสะ และเป็นอารมณ์ของปรามาสะ. ธรรมเป็นอารมณ์ของปรามาสะ แต่ไม่เป็นปรามาสะ เป็นไฉน? อกุศลที่เหลือ เว้นปรามาสะเสีย กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของปรามาสะ แต่ไม่เป็นปรามาสะ. ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ จะกล่าวว่า ธรรมเป็นปรามาสะและเป็นอารมณ์ ของปรามาสะก็ไม่ได้ ว่าธรรมเป็นอารมณ์ของปรามาสะ แต่ไม่เป็นปรามาสะก็ไม่ได้. [๙๔๑] ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ แต่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสส- *เวทนา ๒ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศล ในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปยุตจากปรามาสะ แต่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ. ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ และไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ เป็นไฉน? มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม วิปปยุตจากปรามาสะ และไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ. ธรรมเป็นปรามาสะและสัมปยุตด้วยปรามาสะ จะกล่าวว่า ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ แต่เป็นอารมณ์ของปรามาสะก็ไม่ได้ ว่าธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ และไม่เป็นอารมณ์ของ ปรามาสะก็ไม่ได้.
ปรามาสโคจฉกะ จบ
-----------------------------------------------------
มหันตรทุกะ
[๙๔๒] ธรรมมีอารมณ์ เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์. ธรรมไม่มีอารมณ์ เป็นไฉน? รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีอารมณ์. [๙๔๓] ธรรมเป็นจิต เป็นไฉน? จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นจิต. ธรรมไม่เป็นจิต เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่ เป็นจิต. [๙๔๔] เจตสิกธรรม เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า เจตสิกธรรม. อเจตสิกธรรม เป็นไฉน? จิต รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อเจตสิกธรรม. [๙๔๕] จิตตสัมปยุตธรรม เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตสัมปยุตธรรม จิตตวิปปยุตธรรม เป็นไฉน? รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตวิปปยุตธรรม. จิต จะกล่าวว่า จิตตสัมปยุตก็ไม่ได้ ว่าจิตตวิปปยุตธรรมก็ไม่ได้. [๙๔๖] จิตตสังสัฏฐธรรม เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตสังสัฏฐธรรม. จิตตวิสังสัฏฐธรรม เป็นไฉน? รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตวิสังสัฏฐธรรม. จิต จะกล่าวว่า จิตตสังสัฏฐธรรมก็ไม่ได้ ว่าจิตตวิสังสัฏฐธรรมก็ไม่ได้. [๙๔๗] จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ หรือรูปแม้อื่นใด ซึ่ง เกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตสมุฏฐาน- *ธรรม. ธรรมไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน? จิต รูปที่เหลือ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน. [๙๔๘] จิตตสหภูธรรม เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตสหภูธรรม. ธรรมไม่เป็นจิตตสหภู เป็นไฉน? จิต รูปที่เหลือ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิตตสหภู. [๙๔๙] จิตตานุปริวัตติธรรม เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า จิตตานุปริวัตติธรรม. ธรรมไม่เป็นจิตตานุปริวัตติ เป็นไฉน? จิต รูปที่เหลือ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิตตานุปริวัตติ. [๙๕๐] จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตสังสัฏฐสมุฏฐาน- *ธรรม. ธรรมไม่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐาน เป็นไฉน? จิต รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐาน. [๙๕๑] จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูธรรม เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตสังสัฏฐสมุฏฐาน- *สหภูธรรม. ธรรมไม่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู เป็นไฉน? จิต รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู. [๙๕๒] จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติธรรม เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานา- *นุปริวัตติธรรม. ธรรมไม่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ เป็นไฉน? จิต รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุ- *ปริวัตติ. [๙๕๓] อัชฌัตติกธรรม เป็นไฉน? จักขายตนะ ฯลฯ มนายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อัชฌัตติกธรรม. พาหิรธรรม เป็นไฉน? รูปายตนะ ฯลฯ ธัมมายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า พาหิรธรรม. [๙๕๔] อุปาทาธรรม เป็นไฉน? จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อุปาทาธรรม. ธรรมไม่เป็นอุปาทา เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ มหาภูตรูป ๔ และ นิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอุปาทา. [๙๕๕] อุปาทินนธรรม เป็นไฉน? วิบากในภูมิ ๓ และรูปที่กรรมแต่งขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อุปาทินนธรรม. อนุปาทินนธรรม เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๓ อกุศล กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปที่กรรมมิได้แต่งขึ้น มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อนุปาทินนธรรม.
มหันตรทุกะ จบ
-----------------------------------------------------
อุปาทานโคจฉกะ
[๙๕๖] อุปาทานธรรม เป็นไฉน? อุปาทาน ๔ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน. กามุปาทาน บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน และอัตตวาทุปาทาน บังเกิดในจิตตุปบาท ที่สัมปยุต ด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อุปาทานธรรม. ธรรมที่ไม่เป็นอุปาทาน เป็นไฉน? อกุศลที่เหลือ เว้นอุปาทานทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยา- *กฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ไม่เป็นอุปาทาน. [๙๕๗] ธรรมเป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของอุปาทาน. ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน? มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน. [๙๕๘] ธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทาน เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะสัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ วิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง เว้นโลภะที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทาน. ธรรมวิปปยุตจากอุปาทาน เป็นไฉน? โลภะซึ่งเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคต ด้วยโทมนัสสเวทนา ๒ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วย อุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากอุปาทาน. [๙๕๙] ธรรมเป็นอุปาทาน และเป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน? อุปาทานธรรมเหล่านั้นแล ชื่อว่าธรรมเป็นอุปาทาน และเป็นอารมณ์ของอุปาทาน. ธรรมเป็นอารมณ์ของอุปาทาน แต่ไม่เป็นอุปาทาน เป็นไฉน อกุศลที่เหลือ เว้นอุปาทานทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤต ในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของอุปาทาน แต่ไม่เป็น อุปาทาน. ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน จะกล่าวว่า ธรรมเป็นอุปาทาน และเป็นอารมณ์ของ อุปาทานก็ไม่ได้ ว่าธรรมเป็นอารมณ์ของอุปาทาน แต่ไม่เป็นอุปาทานก็ไม่ได้. [๙๖๐] ธรรมเป็นอุปาทาน และสัมปยุตด้วยอุปาทาน เป็นไฉน? ทิฏฐิและโลภะ บังเกิดร่วมกันในจิตตุปบาทใด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็น อุปาทาน และสัมปยุตด้วยอุปาทาน. ธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทาน แต่ไม่เป็นอุปาทาน เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง เว้นอุปาทานทั้งหลายที่บังเกิดในจิตตุปบาท เหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทาน แต่ไม่เป็นอุปาทาน. ธรรมวิปปยุตจากอุปาทาน จะกล่าวว่า ธรรมเป็นอุปาทาน และสัมปยุตด้วยอุปาทาน ก็ไม่ได้ ว่าธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทาน แต่ไม่เป็นอุปาทานก็ไม่ได้. [๙๖๑] ธรรมวิปปยุตจากอุปาทาน แต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน? โลภะที่บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่ สหรคตด้วยโทมนัสสเวทนา ๒ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วย อุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากอุปาทาน แต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน. ธรรมวิปปยุตจากอุปาทาน และไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน? มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม วิปปยุตจากอุปาทาน และไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน. ธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทาน จะกล่าวว่า ธรรมวิปปยุตจากอุปาทาน แต่เป็นอารมณ์ของ อุปาทานก็ไม่ได้ ว่าธรรมวิปปยุตจากอุปาทาน และไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็ไม่ได้.
อุปาทานโคจฉกะ จบ
-----------------------------------------------------
กิเลสโคจฉกะ
[๙๖๒] กิเลสธรรม เป็นไฉน? กิเลสวัตถุ ๑๐ คือ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ. โลภะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง โทสะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสสเวทนา ๒ ดวง โมหะ บังเกิดในอกุศลทั้งปวง มานะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง ทิฏฐิ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง วิจิกิจฉา บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ถีนะ บังเกิดในอกุศลจิตที่เป็นสังขาริก อุทธัจจะ อหิริกะ และอโนตตัปปะ บังเกิดในอกุศลจิตทั้งปวง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า กิเลสธรรม. ธรรมไม่เป็นกิเลส เป็นไฉน? อกุศลที่เหลือ เว้นกิเลสทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤต ในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นกิเลส. [๙๖๓] ธรรมเป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของสังกิเลส. ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน? มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส. [๙๖๔] ธรรมเศร้าหมอง เป็นไฉน? อกุศลจิตตุปบาท ๑๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเศร้าหมอง ธรรมไม่เศร้าหมอง เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรม เหล่านี้เรียกว่า ธรรมไม่เศร้าหมอง. [๙๖๕] ธรรมสัมปยุตด้วยกิเลส เป็นไฉน? อกุศลจิตตุปบาท ๑๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยกิเลส. ธรรมวิปปยุตจากกิเลส เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากกิเลส. [๙๖๖] ธรรมเป็นกิเลส และเป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน? กิเลสธรรมเหล่านั้นแลชื่อว่า ธรรมเป็นกิเลส และเป็นอารมณ์ของสังกิเลส. ธรรมเป็นอารมณ์ของสังกิเลส แต่ไม่เป็นกิเลส เป็นไฉน? อกุศลที่เหลือ เว้นกิเลสทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยา- *อัพยากฤตในภูมิ ๓ รูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของสังกิเลส แต่ไม่เป็นกิเลส. ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส จะกล่าวว่า ธรรมเป็นกิเลส และเป็นอารมณ์ของ สังกิเลสก็ไม่ได้ ว่าธรรมเป็นอารมณ์ของสังกิเลส แต่ไม่เป็นกิเลสก็ไม่ได้. [๙๖๗] ธรรมเป็นกิเลส และเศร้าหมอง เป็นไฉน? กิเลสธรรมเหล่านั้นแลชื่อว่า ธรรมเป็นกิเลส และเศร้าหมอง. ธรรมเศร้าหมอง แต่ไม่เป็นกิเลส เป็นไฉน? อกุศลที่เหลือ เว้นกิเลสทั้งหลายเสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเศร้าหมอง แต่ไม่เป็นกิเลส. ธรรมไม่เศร้าหมอง จะกล่าวว่า ธรรมเป็นกิเลส และเศร้าหมองก็ไม่ได้ ว่าธรรม เศร้าหมอง แต่ไม่เป็นกิเลสก็ไม่ได้. [๙๖๘] ธรรมเป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส เป็นไฉน? กิเลส ๒-๓ อย่าง บังเกิดร่วมกันในจิตตุปบาทใด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส. ธรรมสัมปยุตด้วยกิเลส แต่ไม่เป็นกิเลส เป็นไฉน? อกุศลที่เหลือ เว้นกิเลสทั้งหลายเสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุต ด้วยกิเลส แต่ไม่เป็นกิเลส. ธรรมวิปยุตจากกิเลส จะกล่าวว่า ธรรมเป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสก็ไม่ได้ ว่าเป็นธรรมสัมปยุตด้วยกิเลส แต่ไม่เป็นกิเลสก็ไม่ได้. [๙๖๙] ธรรมวิปปยุตจากกิเลส แต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากกิเลส แต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส. ธรรมวิปปยุตจากกิเลส และไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน? มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากกิเลส และไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส. ธรรมสัมปยุตด้วยกิเลส จะกล่าวว่า ธรรมวิปปยุตจากกิเลส แต่เป็นอารมณ์ของ สังกิเลสก็ไม่ได้ ว่าธรรมวิปปยุตจากกิเลส และไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลสก็ไม่ได้.
กิเลสโคจฉกะ จบ
-----------------------------------------------------
ปิฏฐิทุกะ
[๙๗๐] ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา สภาว- *ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ. จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วย โทมนัสสเวทนา ๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ที่เป็นธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณก็มี ที่เป็นธรรมอันโสดาปัตติมรรคไม่ประหาณก็มี. ธรรมอันโสดาปัตติมรรคไม่ประหาณ เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันโสดาปัตติมรรคไม่ประหาณ. [๙๗๑] ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ. จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสส- *เวทนา ๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ที่เป็นธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณก็มี ที่เป็นธรรม อันมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่ประหาณก็มี. ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่ประหาณ เป็นไฉน? จิตตุปบาทสัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอัน มรรคเบื้องสูง ๓ ไม่ประหาณ. [๙๗๒] ธรรมมีสัมปยุตเหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณ เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา เว้นโมหะที่ บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรค ประหาณ. จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสส- *เวทนา ๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ที่เป็นธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณก็มี ที่เป็นธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคจะประหาณก็มี. ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคจะประหาณ เป็นไฉน? โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากใน ภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีสัมปยุตต- *เหตุอันโสดาปัตติมรรคจะประหาณ. [๙๗๓] ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ เว้นโมหะที่บังเกิดขึ้นในจิตตุปบาทนี้เสีย สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ. จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ที่เป็นธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณก็มี ที่เป็น ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณก็มี. ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ จะประหาณ เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา โมหะที่สหรคต ด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ จะประหาณ. [๙๗๔] ธรรมมีวิตก เป็นไฉน? กามาวจรกุศล, อกุศล, จิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๑๑ ดวง ฝ่ายอกุศลวิบาก ๒ ดวง ฝ่ายกิริยา ๑๑ ดวง, รูปาวจรปฐมฌานฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบากและกิริยา, โลกุตตรปฐมฌาน ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก, เว้นวิตกที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีวิตก. ธรรมไม่มีวิตก เป็นไฉน? ปัญจวิญญาณทั้ง ๒ ฝ่าย ฌาน ๓ และ ๔ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และ ฝ่ายกิริยา, อรูป ๔ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา ฌาน ๓ และ ๔ ที่เป็นโลกุตตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก, วิตก, รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีวิตก. [๙๗๕] ธรรมมีวิจาร เป็นไฉน? กามาวจรกุศล, อกุศล, จิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๑๑ ดวง ฝ่ายอกุศลวิบาก ๒ ดวง ฝ่ายกิริยา ๑๑ ดวง, ฌาน ๑ และ ๒ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และกิริยา, ฌาน ๑-๒ ที่เป็นโลกุตตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก, เว้นวิจารที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีวิจาร. ธรรมไม่มีวิจาร เป็นไฉน? ปัญจวิญญาณทั้ง ๒ ฝ่าย, ฌาน ๓ และ ๓ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และ ฝ่ายกิริยา, อรูป ๔ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, ฌาน ๓ และ ๓ ที่เป็นโลกุตตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก, วิจาร, รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีวิจาร. [๙๗๖] ธรรมมีปีติ เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสสเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง ฝ่ายอกุศล ๔ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๕ ดวง ฝ่ายกิริยา ๕ ดวง, ฌาน ๒ และ ๓ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, ฌาน ๒ และ ๓ ที่เป็นโลกุตตระ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก, เว้นปีติที่ เกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีปีติ. ธรรมไม่มีปีติ เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง ฝ่ายอกุศล ๘ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๑๑ ดวง ฝ่ายอกุศลวิบาก ๗ ดวง ฝ่ายกิริยา ๖ ดวง, ฌาน ๒ และ ๒ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา อรูป ๔ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, ฌาน ๒ และ ๒ ที่เป็นโลกุตตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก, ปีติ, รูป และนิพพาน สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีปีติ. [๙๗๗] ธรรมสหรคตด้วยปีติ เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสสเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง ฝ่ายอกุศล ๔ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๕ ดวง ฝ่ายกิริยา ๕ ดวง, ฌาน ๒ และ ๓ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, ฌาน ๒ และ ๓ ที่เป็นโลกุตตระ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก เว้นปีติที่ บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยปีติ. ธรรมไม่สหรคตด้วยปีติ เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง ฝ่ายอกุศล ๘ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๑๑ ดวง ฝ่ายอกุศลวิบาก ๗ ดวง ฝ่ายกิริยา ๖ ดวง, ฌาน ๒ และ ๒ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก, และฝ่ายกิริยา, อรูป ๔ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก, และฝ่ายกิริยา ฌาน ๒ และ ๒ ที่เป็นโลกุตตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก ปีติ, รูป และนิพพาน สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่สหรคตด้วยปีติ. [๙๗๘] ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสสเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง ฝ่ายอกุศล ๔ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๖ ดวง ฝ่ายกิริยา ๕ ดวง, ฌาน ๓ และ ๔ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, ฌาน ๓ และ ๔ ที่เป็นโลกุตตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก, เว้น สุขเวทนาที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา. ธรรมไม่สหรคตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง ฝ่ายอกุศล ๘ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๑๐ ดวง ฝ่ายอกุศลวิบาก ๗ ดวง ฝ่ายกิริยา ๖ ดวง, รูปาวจรจตุตถฌาน ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, อรูป ๔ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, โลกุตตร- *จตุตถฌาน ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก สุขเวทนา, รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่สหรคตด้วยสุขเวทนา. [๙๗๙] ธรรมสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง ฝ่ายอกุศล ๖ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๑๐ ดวง ฝ่ายกุศลวิบาก ๖ ดวง ฝ่ายกิริยา ๖ ดวง, รูปาวจรจตุตถฌาน ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, อรูป ๔ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, โลกุตตร- *จตุตถฌาน ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก, เว้นอุเบกขาเวทนา ที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา. ธรรมไม่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสสเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง ฝ่ายอกุศล ๖ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๖ ดวง ฝ่ายอกุศลวิบาก ๑ ดวง ฝ่ายกิริยา ๕ ดวง, ฌาน ๓ และ ๔ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, ฌาน ๓ และ ๔ ที่เป็นโลกุตตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก, อุเบกขาเวทนา, รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่สหรคต ด้วยอุเบกขาเวทนา. [๙๘๐] กามาวจรธรรม เป็นไฉน? กามาวจรกุศล อกุศล วิบากแห่งกามาวจรทั้งหมด กามาวจรกิริยา อัพยากฤต และ รูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า กามาวจรธรรม. ธรรมไม่เป็นกามาวจร เป็นไฉน? รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นกามาวจร. [๙๘๑] รูปาวจรธรรม เป็นไฉน? ฌาน ๔ และ ๕ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า รูปาวจรธรรม. ธรรมไม่เป็นรูปาวจร เป็นไฉน? กามาวจร อรูปาวจร โลกุตตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นรูปาวจร. [๙๘๒] อรูปาวจรธรรม เป็นไฉน? อรูป ๔ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และกิริยา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อรูปาวจรธรรม. ธรรมไม่เป็นอรูปาวจร เป็นไฉน? กามาวจร รูปาวจร โลกุตตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอรูปาวจร. [๙๘๓] ปริยาปันนธรรม เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ปริยาปันนธรรม. อปริยาปันนธรรม เป็นไฉน? มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อปริยาปันนธรรม. [๙๘๔] นิยยานิกธรรม เป็นไฉน? มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า นิยยานิกธรรม. อนิยยานิกธรรม เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อนิยยานิกธรรม. [๙๘๕] นิยตธรรม เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสสเวทนา ๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ที่เป็นนิยตธรรมก็มี ที่เป็นอนิยตธรรมก็มี มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า นิยตธรรม. อนิยตธรรม เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อนิยตธรรม. [๙๘๖] สอุตตรธรรม เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สอุตตรธรรม. อนุตตรธรรม เป็นไฉน? มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อนุตตรธรรม. [๙๘๗] สรณธรรม เป็นไฉน? อกุศลจิตตุปบาท ๑๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สรณธรรม. อรณธรรม เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่า อรณธรรม.
ธรรมสังคณีปกรณ์ จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ บรรทัดที่ ๗๘๓๔-๘๕๓๗ หน้าที่ ๓๑๑-๓๓๙. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=34&A=7834&Z=8537&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=34&siri=67              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=900              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [900-987] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=34&item=900&items=88              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=53&A=11965              The Pali Tipitaka in Roman :- [900-987] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=34&item=900&items=88              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=53&A=11965              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_34

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :