ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
วินัยกถา
[๒๘๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสวินัยกถาแก่ภิกษุทั้งหลายโดย อเนกปริยาย คือทรงพรรณนาคุณของวินัย คุณของการเรียนวินัย ทรงสรรเสริญ คุณของท่านพระอุบาลีโดยเฉพาะเจาะจง ภิกษุทั้งหลายหารือกันว่า พระผู้มีพระภาค ตรัสวินัยกถาแก่ภิกษุทั้งหลายโดยอเนกปริยาย คือ ทรงพรรณนาคุณของวินัย คุณของการเรียนวินัย ทรงสรรเสริญคุณของท่านพระอุบาลีโดยเฉพาะเจาะจง อย่า กระนั้นเลย พวกเราจงเรียนพระวินัย ในสำนักท่านพระอุบาลีกันเถิด ก็แลภิกษุ เหล่านั้นมากมาย ทั้งเถระ ทั้งนวกะ ทั้งมัชฌิมะ ต่างพากันเรียนพระวินัยใน สำนักท่านพระอุบาลี ท่านพระอุบาลียืนสอนด้วยความเคารพพระเถระทั้งหลาย แม้พระเถระทั้งหลายก็ยืนเรียนด้วยความเคารพธรรม บรรดาภิกษุเหล่านั้น พระเถระและท่านพระอุบาลี ย่อมเมื่อยล้า ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุนวกะผู้สอนนั่งบน อาสนะเสมอกันหรือสูงกว่าได้ ด้วยความเคารพธรรม ให้ภิกษุเถระผู้เรียนนั่งบน อาสนะเสมอกันหรือต่ำกว่าได้ ด้วยความเคารพธรรม ฯ [๒๘๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเป็นอันมากยืนรับการสอนในสำนักท่าน พระอุบาลี ย่อมเมื่อยล้า จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุมีอาสนะเสมอกัน นั่งรวมกันได้ ฯ [๒๘๖] ต่อมา ภิกษุทั้งหลายมีความสงสัยว่า ภิกษุชื่อว่ามีอาสนะ เสมอกันด้วยคุณสมบัติเพียงเท่าไร จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัส ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุระหว่าง ๓ พรรษา นั่งรวมกันได้ ฯ [๒๘๗] สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปมีอาสนะเสมอกันนั่งร่วมเตียงเดียว กัน ทำเตียงหัก นั่งร่วมตั่งเดียวกัน ทำตั่งหัก จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาคๆ ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงละ ๓ รูป ตั่งละ ๓ รูป แม้ภิกษุ ๓ รูปนั่งลงบนเตียง ก็ทำเตียงหัก นั่งลงบนตั่ง ก็ทำตั่งหัก ภิกษุเหล่านั้น จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต เตียงละ ๒ รูป ตั่งละ ๒ รูป ฯ [๒๘๘] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายนั่งลงบนอาสนะยาวร่วมกับภิกษุผู้มี อาสนะไม่เสมอกัน ก็รังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นั่งบนอาสนะยาวร่วมกับภิกษุที่มีอาสนะไม่เสมอ กันได้ เว้นบัณเฑาะก์ มาตุคาม อุภโตพยัญชนก ฯ [๒๘๙] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายมีความสงสัยว่า อาสนะยาวที่สุดมีกำหนด เท่าไร ... ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอาสนะยาวที่สุดมีกำหนดนั่งได้ ๓ รูป ฯ [๒๙๐] สมัยนั้น นางวิสาขา มิคารมารดาใคร่จะให้สร้างปราสาทมีเฉลียง ประดุจเทริดที่ตั้งอยู่บนกระพองช้างถวายพระสงฆ์ ครั้งนั้นภิกษุทั้งหลายมีความ สงสัยว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการใช้สอยปราสาทหรือไม่ทรงอนุญาตหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต การใช้สอยปราสาททุกอย่าง ฯ [๒๙๑] สมัยนั้น สมเด็จพระอัยยิกาของพระเจ้าปเสนทิโกศลทิวงคต เพราะพระนางทิวงคต เครื่องอกัปปิยภัณฑ์เป็นอันมากบังเกิดแก่สงฆ์ คือ เก้าอี้นอน เตียงใหญ่ ผ้าโกเชาว์ขนยาว เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะวิจิตรด้วยลวดลาย เครื่อง- *ลาดที่ทำด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาดที่มีสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ เครื่องลาดที่ยัดนุ่น เครื่องลาดขนแกะวิจิตรด้วยรูปสัตว์ร้ายมีสีหะและเสือเป็นต้น เครื่องลาดขนแกะ มีขนตั้ง เครื่องลาดขนแกะมีขนข้างเดียว เครื่องลาดทองและเงินแกมไหม เครื่อง- *ลาดไหมขลิบทองและเงิน เครื่องลาดขนแกะจุนางฟ้อน ๑๖ คน เครื่องลาด หลังช้างเครื่องลาดหลังม้า เครื่องลาดในรถ เครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ชื่ออชินะอันมี ขนอ่อนนุ่ม เครื่องลาดอย่างดีที่ทำด้วยหนังชะมด เครื่องลาดมีเพดาน เครื่องลาด มีหมอนข้าง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตัดเท้าเก้าอี้นอนแล้วใช้สอยได้ เตียงใหญ่ทำลายรูปสัตว์ร้าย เสียแล้วใช้สอยได้ ฟูกที่ยัดนุ่นรื้อแล้วทำเป็นหมอน นอกนั้นทำเป็นเครื่องลาดพื้น ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๒๔๘๘-๒๕๓๖ หน้าที่ ๑๐๓-๑๐๕. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=7&A=2488&Z=2536&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=7&siri=39              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=284              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [284-291] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=7&item=284&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=7781              The Pali Tipitaka in Roman :- [284-291] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=7&item=284&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=7781              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd16/en/brahmali#pli-tv-kd16:13.1.1 https://suttacentral.net/pli-tv-kd16/en/horner-brahmali#Kd.16.13

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :